อาหารเหนือแมสน้อยกว่าภาคอื่น? ปัจจัยต่อ "ความนิยมและรสชาติของอาหารเหนือ"

อาหารเหนือแมสน้อยกว่าภาคอื่น? ปัจจัยต่อ “ความนิยมและรสชาติของอาหารเหนือ”

ทำไม อาหารเหนือ แมสน้อยกว่าอาหารภาคอื่น?
ผู้ใช้ทวิตเตอร์แชร์ความเห็นเพราะ รสชาติจืด ไม่ถูกปาก
ปัจจัยที่มีผลต่อ “ความนิยมและรสชาติของ อาหารเหนือ”

อาหารเหนือ แมสน้อยกว่าอาหารภาคอื่น? ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งได้แชร์ความคิดเห็นเชิงตั้งคำถามจากประสบการณ์ส่วนตัว ประมาณว่าเขารู้สึกว่า อาหารเหนือ ได้รับความนิยมน้อยกว่าอาหารภาคอื่นๆ โดยเขายังได้แสดงความเห็นเพิ่มเติมอีกว่า ตนเองก็รู้สึกว่ารสชาติ อาหารเหนือ ถูกปากน้อยกว่าอาหารภาคอื่น
.


1- ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายนี้แชร์ว่า “ทำไมอาหารเหนือถึงไม่แมสเท่าอาหารอีสาน หรืออาหารใต้นะ แต่ส่วนตัวก็รู้สึกว่าอาหารเหนือรสชาติถูกปากน้อยกว่าอาหารใต้จริงๆ”
.
2- ซึ่งเมื่อทวีตนี้ออกไปก็ได้มีผู้ใช้ทวิตเตอร์ต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันอย่างล้นหลาม โดยหลายคนที่เห็นด้วยกับเจ้าของโพสต์นี้ ล้วนให้เหตุผลว่าอาหารเหนือรสชาติจืดและไม่ค่อยถูกปากเท่าไหร่ เช่น

“ถ้าเป็นอาหารเหนือแบบรสชาติเหนือแท้ๆ ส่วนตัวรู้สึกว่าจืดมากกกก จืดๆ เผ็ดๆ ไม่อร่อยเลย ส่วนมากที่เขาว่าอร่อยๆ จะเป็นอาหารเหนือที่เขาเอามาดัดแปลงรสชาติให้ออกมากลางๆ เช่น ร้านหนึ่งที่คนเจียงใหม่แต๊ๆ ไปกินจะไม่ถูกปากเลย”

“รสชาติมันต๊ะต่อนยอน ไม่จัดจ้านเหมือนอาหารใต้ จริงๆ ส่วนผสมอาหารเหนือแต๊ๆ มันเป็นอะไรที่ exotic มากๆ คนกินได้ก็กินได้ ไม่ได้ก็คืออ้วกเลย รสมันแปร่งๆ ไม่คุ้นปาก”

3- ในขณะที่คนอื่น ๆ ก็ได้มาแก้ต่างว่าจริง ๆ แล้วอาหารเหนือแท้ ๆ ไม่จืดนะ เช่น

“นี่เป็นคนเหนืออาหารเหนือที่กินอยู่จะรสจัดมาก เผ็ด เค็ม นำมาเลยและไม่หวาน ไม่เคยตำน้ำพริก, แกงหรือผัดใส่น้ำตาลเลย แกงใส่กระทิแทบไม่มี”

“เราก็คนเหนือนะ แล้วเราก็กินเผ็ดมาตลอด เรางงว่าทำไมถึงมีคนบอกว่าอาหารเหนือมันจืด เพราะจริงๆแล้วมันเผ็ดนะ หรือเอาจริงๆ แล้วคนที่เลือกหรือสั่งเมนู สั่งแต่เมนูไม่เผ็ด เพราะอาหารเหนือก็เหมือนอาหารภาคอื่น มีแกงเผ็ด มีแกงจืด”

“ผมมาอยู่เชียงใหม่เกือบ 10 ปี ต้องยอมรับว่า รสชาติทางนี้เค้ามีความเฉพาะตัวค่อนข้างสูง อาหารเหนือไม่ได้จืดนะ ก็มีเค็ม มีเผ็ด แต่มันไม่แซ่บครบรส”

“เราว่าเพราะเวลาคนไปเที่ยวเหนือชอบไปกินร้านที่มันปรับรสชาติให้คนภาคกลางกินได้ เห็นหลายคนบอกว่าอาหารเหนือจืด เราคนเหนือแท้ๆ โตมาด้วยอาหารพื้นเมืองจะบอกเลยว่าความจริงมันเผ็ด ยิ่งพวกแกงผักพื้นเมือง ถ้าตำน้ำพริกเองคือไม่มีทางจะจืดเลย เลยงงคนที่บอกว่าอาหารมันจืด”

4- บ้างก็ได้มาแสดงความคิดเห็นถึงปัจจัยที่มีผลต่อ “ความนิยมและรสชาติของอาหารเหนือ” โดยสรุปได้เป็นปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

🔸ถูกปรับรสชาติ👅

“ส่วนมากที่บอกว่าไม่อร่อยคือไปกินกับร้านที่เขาปรับรสชาติแล้ว​ อาหารรสชาติเหนือดั้งเดิมคือหายากมากๆ แล้วค่ะ ถ้าลองไปกินตามบ้านจะอร่อยมากแต่ละบ้านก็จะมีสูตรเฉพาะบ้านด้วย”

“ใครกินอาหารเหนือร้านในกรุงเทพ แล้วมาบอกว่าอาหารเหนือไม่อร่อยคือไปพัก อาหารเหนือที่กรุงเทพรสชาติไม่ได้จริง ซื้อมากี่ร้านกินสองสามคำเททิ้งแบบไม่เสียดาย อาหารเหนือที่คนเหนือกินกันไม่มีทางรสชาติแบบนี้ แต่คนไม่ชอบกินยังไงก็จะบอกไม่อร่อยอยู่ดี”

“อาหารเหนือต้องกินแบบสูตรคนเหนือจริงๆ ค่ะ สูตรที่คนภาคอื่นเอาไปปรับมักจะเพิ่มน้ำตาลเพิ่มเค็มตามความคุ้นลิ้นจนมันไม่ใช่ ที่สำคัญคืออาหารบางอย่างไม่ควรมีน้ำตาลก็อย่าฝืนใส่ อย่างน้ำพริกอ่องงี้ เคยเจอตักเข้าปากถุยทิ้งแทบไม่ทัน”

“อาหารเหนือที่ทำขายทุกวันนี้รสชาติมันถูกปรับให้กับคนภาคอื่นกิน รสชาติมันเลยเพี้ยนแม้แต่เราเองที่เป็นคนเหนือพูดเลยว่าไม่อร่อย ถ้าจะกินให้อร่อยคือต้องทำกินเองเท่านั้นเลย แม้แต่เส้นข้าวซอยมีที่ อ.แม่สะเรียง เท่านั้นที่เส้นอร่อย”

🔸คนไทยติดรสชาติ👅

“เรามองว่าด้วยความที่ไทยชอบทานรสจัดถึงเครื่องถึงรส​ แล้วอาหารใต้กับอีสานเน้นไปทางนั้น​ แต่อาหารเหนือเน้นไปที่กลิ่น​ เครื่องในการปรุง​ อย่างประโยคที่บอกว่า​ ‘กินกลิ่น’”

“คนไปเที่ยวเหนือเยอะมาก แต่อาหารกลับไม่เป็นที่นิยมเพราะส่วนใหญ่คุ้นชินกับอาหารอีสาน อาหารใต้มากกว่า เพราะมีขายเยอะคนก็เลยติดรสชาตินี้มากกว่า”

🔸ทำยาก ใช้วัตถุดิบตามฤดูกาล🍴

“อาหารเหนือแท้ทำยากครับ เครื่องปรุงตามฤดูกาล เฉพาะถิ่นเยอะ คนเหนือก็กินอาหารแบบไคเซกิเลย กินตามฤดูกาล แถมแต่ละจังหวัดมีอาหารที่มีเอกลักษณ์ แถมมีชนเผ่าด้วย ถ้าใครเก็บครบตามที่บอกคือเก่งมาก แบบแกงกระด้างหรือยำหนังหลายคนไม่รู้จักเลยทั้งที่เป็นอาหารพื้นฐาน”

“คนเหนือกินอาหารตามฤดูกาล อาจจะด้วยสภาพแวดล้อมที่มีภูเขา ทำให้มีผักเยอะ แต่ละจังหวัดก็จะมีอัตลักษณ์ของอาหารที่แตกต่างกันไป อาหารที่ทำออกมาค่อนข้างพิถีพิถัน อย่างแกงฮังเล แกงกระด้าง กว่าจะได้กินรอไปจ๊ะ”

“เครื่องเทศเยอะค่ะ ให้อร่อยจริงเครื่องเทศต้องสดใหม่ คั่วใหม่ถึงจะหอมฟุ้ง ใส่น้อยก็ไม่อร่อย ใส่เยอะไปก็ฉุน ต้องรู้มือด้วย ปั่นก็ไม่ได้ต้องตำอย่างเดียว เครื่องถึงจะเข้ากัน นี่ยังไม่นับยี่ห้อกะปิปลาร้าถั่วเน่าอีก โอ้ยยย..เยอะ ทำอร่อยเลยยากหน่อย”

“อาหารเหนือจริงๆ หลากหลาย​วัตถุดิบและเครื่องเทศเฉพาะถิ่นเยอะมาก​ ขั้นตอนทำก็เยอะ​วุ่นวาย​การทำแบบต้นตำรับเลยยากพอไปแบบดัดแปลงมันก็เลยเพื้ยนๆ ไม่อร่อยความนิยมเลยไม่แพร่หลาย​”

🔸กลิ่นแรง👃

“ถ้าใครไม่ชอบเครื่องเทศก็คงไม่ชอบไปเลย เครื่องแกงส่วนผสมเยอะขาดไม่ได้เลยคือเครื่องเทศกับมะแขว่นต้องใส่ แต่กลิ่นจะฉุนมีเอกลักษณ์ คิดว่าคนส่วนใหญ่พอได้กลิ่นก็เลยทำให้ไม่ชอบมากกว่าค่ะ”

“ความที่รสชาติมีความแตกต่างกันด้วยการใส่เครื่องเทศเยอะ อาหารจะกลิ่นแรง คนชอบก็จะชอบ คนไม่ชอบแทบกินไม่ได้เลย”

🔸คนเหนือไม่ค่อยย้ายถิ่น🏠

“ส่วนตัวคิดว่าสมัยก่อนคนเหนือส่วนใหญ่การออกจากถิ่นฐานบ้านเกิดมาอยู่ต่างจังหวัดน้อยมาก วัฒนธรรมการกินอาหารเหนือก็น้อยตามแทบจะไม่มีเลยก็ว่าได้ คนส่วนใหญ่จึงไม่รู้จักและคุ้นชินกับอาหารเหนือเลยทำให้อาหารเหนือไม่แพร่หลาย ปัจจุบันคนเหนือมาอยู่ต่างถิ่นเยอะขึ้นอาหารเหนือก็มีขายมากขึ้น”
.
ทั้งนี้ความถูกปากหรือไม่ถูกปากนั้น เป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลมาก ๆ เรื่องของรสชาติจึงขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน แล้วคุณล่ะคิดเห็นกับเรื่องนี้อย่างไร ?
.
Reference: https://twitter.com/bongtao/status/1493844942916972546?s=21
ติดตามความรู้และข่าวสารเกี่ยวกับธุรกิจอาหารอีกมากมายได้ที่ www.Amarinacademy.com
#AmarinAcademy #ร้านอาหาร

เรื่องแนะนำ

Food safety culture

Food safety culture มาตรฐานใหม่ของธุรกิจอาหาร by สวนดุสิตโฮมเบเกอรี่

        ความสะอาดของอาหาร เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการร้านอาหารทุกคนต้องใส่ใจ แต่ Food safety culture หรือวัฒนธรรมความปลอดภัยของธุรกิจอาหารนี้ จะมีวิธีสร้างขึ้นได้อย่างไร และจะมีประโยชน์แค่ไหน คุณจันทร์จนา ศิริพันธ์วัฒนา ประธานคณะกรรมการดำเนินงานสวนดุสิตโฮมเบเกอรี่ จากมหาวิทยาลัยสวนดุสิต จะมาแชร์ให้ฟังกันค่ะ Food safety culture ทางสู่ความยั่งยืนของธุรกิจอาหาร         Foodssafety culture: ก่อนและหลังวิกฤตไวรัส         Foodssafety culture เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก ก่อนที่จะมีวิกฤต COVID-19 อาจารย์มองว่าเรื่องวัฒนธรรมความปลอดภัยอาหารยังเป็นอะไรที่ไม่ชัดเจน ในภาคฝั่งรัฐบาลเริ่มมีการพัฒนากฎหมายรองรับ ออกเป็นกฎกระทรวงในปี 2561 เกี่ยวกับเรื่องของสุขลักษณะในการให้บริการอาหารออกมา แต่ในด้านของผู้ประกอบการอย่างแท้จริงแล้ว พฤติกรรมของคนทั่วไปค่อนข้างจะยังละเลย ยังไม่ให้ความสำคัญมากนัก          แต่ธุรกิจที่ให้ความสำคัญมากๆ น่าจะเป็นกลุ่มของธุรกิจร้านอาหารเครือข่าย (Food chain) ซึ่งมีบริษัทแม่ที่มีนโยบายชัดเจน หรือว่ากลุ่มของโรงแรมห้าดาว […]

อรรถรส

อรรถรส กล้าแข่ง ในทำเลที่มีร้านอาหารเยอะ

อรรถรส ตั้งอยู่ในซอยสุขุมวิท 39 ซึ่งเต็มไปด้วยร้านอาหารหลากหลายสัญชาติ เพราะอะไรจึงกล้าเปิดร้านในทำเลที่มีร้านอาหารเยอะอยู่แล้ว เราจะไปหาคำตอบกัน

Creamery

Creamery boutique ice creams ทำอย่างไร ในวันที่กลุ่มลูกค้าเดิมเปลี่ยนไป?

Creamery boutique ice creams ร้านไอศกรีมโฮมเมด และคุกกี้ลาวา เป็นอีกหนึ่งร้าน ที่เจ้าของเริ่มต้นเปิดร้านจากความรักและความชื่นชอบในการทำขนมมากๆ และกล้าพูดได้ว่าเป็นร้านแรกๆ ที่เริ่มคิดค้นเมนูลาวาจากไข่เค็ม ที่ยังคงเป็นเมนูยอดฮิตจนถึงทุกวันนี้ คุณชมพูนุช จอมสง่าวงษ์ เจ้าของร้านจะมาเผยถึงวิธีคิดเมนูให้เป็นจุดเด่นของร้าน รวมถึงความท้าทายที่ร้านต้องเจอ เมื่อกลุ่มลูกค้าเดิมเปลี่ยนไป จะมีวิธีอย่างไร มาดูกันครับ   Creamery boutique ice creams ร้านที่เริ่มต้นจากความรักในการทำขนม ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 7 ปีที่แล้ว เดิมเราทำงานประจำอยู่ที่โรงแรมโอเรียนเต็ล ทำขนมอยู่ที่นั่น เราชอบทำขนมอยู่แล้ว เลยอยากเปิดร้านขนมทำเป็นงานเสริมก่อน ก็เลยเปิดร้าน Creamery boutique ice creams สาขาแรกแถวสามย่าน ซึ่งก่อนจะเปิดร้านเคยไปกินร้านที่สเปน แล้วชอบช็อกโกแลตที่นั่นมาก อยากกินอีก เลยคิดว่าทำเองดีกว่า เลยลองทำช็อกโกแลตมาใส่คุกกี้ สินค้าตัวแรกของร้านเลยออกมาเป็นช็อกโกแลตลาวา ตัวนี้ทำให้เราเป็นที่น่าจดจำมากขึ้น เพราะความแปลกใหม่ ที่ยังไม่มีใครทำคุกกี้ที่เป็นลาวา รวมถึงพลังของโซเชียลมีเดีย ที่ทำให้คนเห็นเมนูเรามากขึ้น พอเอาไอศกรีมมาวางบนคุกกี้ ลาวาในคุกกี้ก็จะไหลออกมา ลูกค้าก็ว๊าวมาก คนก็ถ่ายแล้วแชร์ ซึ่งเราคิดว่า เราจับเทรนด์นี้ได้ทันพอดี คุกกี้ลาวาไข่เค็มชาโคล […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2023 AMARIN PRINTING AND PUBLISHING PUBLIC COMPANY LIMITED.