กาแฟเปรี้ยวคือกาแฟที่ดี? มุมมอง/ที่มาความเปรี้ยว รสชาติที่คนไทยไม่คุ้นเคย

กาแฟเปรี้ยวคือกาแฟที่ดี ? มุมมองและที่มาของความเปรี้ยว อีกด้านหนึ่งของรสชาติกาแฟที่คนไทยไม่คุ้นเคย

กาแฟเปรี้ยวคือกาแฟที่ดี ?
แชร์มุมมองและที่มาของความเปรี้ยว
อีกด้านหนึ่งของรสชาติกาแฟที่คนไทยไม่คุ้นเคย

กาแฟเปรี้ยวคือกาแฟที่ดี ? ทำไมร้านกาแฟ Specialty ที่ขึ้นชื่อว่าร้านกาแฟที่พิเศษถึงมักมีแต่กาแฟที่มีรสเปรี้ยว หรือเพราะว่ากาแฟที่ดีจริง ๆ แล้วจะต้องมีรสเปรี้ยวกันนะ อาจเป็นคำถามที่หลาย ๆ คนที่เพิ่งหันมาสนใจกาแฟ ล้วนต้องการคำตอบว่า รสเปรี้ยวคือรสที่ดี ?​ รสที่ดีต้องเป็นแบบไหน ? วันนี้เราลองมาหาคำตอบกันว่ารสของกาแฟนั้นสามารถบอกอะไรกับเราได้บ้าง


🔸คุณหมีใหญ่ Coffee Guru เคยได้แชร์มุมมองต่อรสชาติของกาแฟไว้ว่า

“คนไทยเราโตมากับวัฒนธรรมกาแฟโบราณและกาแฟสำเร็จรูป เราไม่ได้โตมากับวัฒนธรรมกาแฟ Espresso ซึ่งเป็นวัฒนธรรมกาแฟของอิตาลี ฉะนั้นในการคั่วกาแฟโบราณนั้นจึงต้องเน้นคั่วไหม้ เพราะเป็นกาแฟทุนต่ำ โดยปกติในเมล็ดกาแฟมีรสเปรี้ยวอยู่แล้ว การที่คั่วให้ลึกหรือคั่วไหม้ ก็เพื่อปกปิดลักษณะของกาแฟที่ไม่ดีนั่นเอง จึงเป็นเรื่องง่ายที่จะควบคุมรสชาติของกาแฟได้

คราวนี้ลองกลับมาดูที่เมนูกาแฟที่คนไทยนิยมดื่ม ก็จะพบว่าเป็นชนชาติที่ชื่นชอบในรสชาติที่ครบรสนั่นคือ ขม หวาน มัน และชอบเมนูที่ต้องใส่นมเป็นส่วนผสม แต่โดยสากลทั่วโลก เขาดื่มกาแฟร้อน มากกว่ากาแฟเย็น และถ้าพูดถึง Espresso ด้วยแล้ว ยิ่งไม่มีส่วนผสมของนมเข้าไปเกี่ยวเลย”

จากข้างต้นจึงสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมการกินกาแฟของคนไทยว่ามักนิยมทานกาแฟที่มีส่วนผสมของนม ไม่ว่าจะเป็นนมข้นหรือครีมเทียม ดังนั้นกาแฟที่นำมาชงจึงมักมีรสและกลิ่นขม เพื่อผสมให้สู้กับกลิ่นหรือความหวานของนมข้นและครีมเทียมได้ ดังนั้นการนำเสนอรสชาติขมของกาแฟในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน จึงทำให้สิ่งที่เป็นอีกด้านหนึ่งของกาแฟ นั่นคือ “รสเปรี้ยว” ไม่ได้รับความนิยมเท่าไหร่
.
🔸ทำไมกาแฟถึง “เปรี้ยว”☕️🍋
.
ที่มาของเมล็ดกาแฟนั้น ได้มาจากผลเชอร์รี่ของกาแฟที่จะมีสายพันธุ์แตกต่างกันออกไป ซึ่งล้วนอุดมไปด้วยกรดอะมิโน Acidity หรือความเป็นกรด ทำให้เกิดรสเปรี้ยว ซึ่งตัว Acidity จะมีปริมาณที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละสายพันธุ์ โดยส่วนใหญ่จะพบได้ในกาแฟสายพันธุ์อาราบิก้าชัดเจนที่สุด ซึ่งระดับความเปรี้ยวของกาแฟนั้นขึ้นอยู่กับการคั่วบด ดังนี้

✨คั่วอ่อน ให้ความขมน้อย แต่มีรสชาติเปรี้ยวมาก

✨คั่วกลาง ให้ความขมปานกลาง และเปรี้ยวไม่มาก

✨คั่วเข้ม ให้ความขมมาก หรือแทบไม่เปรี้ยวเลย

✨คั่วไหม้ เป็นกาแฟคุณภาพไม่ดี ไม่นิยมดื่ม เพราะมีรสชาติที่ขมมาก และไม่มีความเปรี้ยวหลงเหลืออยู่เลย

ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่าระดับการคั่วมีผลต่อรสของกาแฟ ยิ่งคั่วนานความเปรี้ยวก็จะยิ่งหายไป ซึ่งไม่ใช่แค่ความเปรี้ยว แต่ปริมาณคาเฟอีนภายในเมล็ดก็จะลดลงตามไปด้วย เหลือไว้แต่ความขม

นอกจากนี้วิธีการชงก็มีผลต่อความเปรี้ยวด้วยเหมือนกัน เช่น ถ้าเราใช้กรรมวิธีสกัดเย็น ก็จะทำให้ Acidity น้อยกว่าการชงกาแฟแบบสกัดร้อน โดย Acidity สามารถวัดด้วยค่า pH หรือค่าความเป็นกรด – ด่าง
.
🔸กาแฟ Specialty ต้องเปรี้ยว?🍒
.
เว็บไซต์ BEV COFFEE ได้อธิบายถึงรสเปรี้ยวของกาแฟ Specialty ไว้ว่า

“กาแฟ specialty เป็นกาแฟที่ต้องการนำเสนอรสชาติหรือกลิ่นที่แตกต่างให้คงสภาพไว้ได้เป็นอย่างดี ความเปรี้ยวจึงเป็นสิ่งที่นิยมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ต้องบอกก่อนว่าความเปรี้ยวของกาแฟ specialty นั้น เป็นความเปรี้ยวที่สดชื่นเหมือนผลไม้ ไม่ใช่เปรี้ยวที่ทำให้รู้สึกไม่ดี (เหมือนของเสีย) และด้วยความกลมกล่อมละเอียดอ่อน และน่าค้นหาของกาแฟ specialty นี้เอง ที่ทำให้ช่วงหลังๆ มีเพื่อนๆ คอกาแฟหันมากินกาแฟแบบนี้กันมากขึ้น แล้วก็ทำให้มีร้านเกิดขึ้นมากมายเพื่อรองรับความต้องการเทรนด์ใหม่นี้”
.
🔸กาแฟเปรี้ยวคือกาแฟที่ดี ?🤔
.
สุดท้ายแล้วจึงไม่สามารถตัดสินได้ว่ารสชาติกาแฟแบบไหนดีหรือไม่ดี เพราะจริง ๆ แล้วมันก็ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนบุคคล หรือรูปแบบการนำไปใช้ กาแฟเปรี้ยวก็เป็นการคงคาแรคเตอร์ของกาแฟไว้ให้เราได้ดื่มด่ำ ส่วนกาแฟขมเข้มก็เป็นรสที่มีความจำเป็นหากต้องนำไปชงคู่กับนมหรือส่วนผสมอื่น ๆ แล้วกลิ่นกาแฟยังคงอยู่

ดังนั้นไม่ว่าใครจะชอบแบบไหน ก็ไม่ผิด เพราะถ้ามันเป็นรสที่อร่อยสำหรับเรา กาแฟแก้วนั้นก็ถือว่าได้ทำหน้าที่ของมันแล้ว
.
References: https://bevcoffee.com/กาแฟเปรี้ยว-เทรนด์ใหม่/?lang=thhttps://innbuddy.co.th/sour-coffee/https://amapangkhon.coffee/2020/05/28/whycoffeesour/https://m.facebook.com/yindeecoffeehouse/posts/505558249532007/
#AmarinAcademy #ร้านอาหาร

เรื่องแนะนำ

ทำอาหารไม่เป็น

ทำอาหารไม่เป็น เปิดร้านอาหารได้ไหม ?

จากการที่เราสังเกตและวิเคราะห์พบว่า ผู้ประกอบการเหล่านี้มีคุณสมบัติเหมือนกันบางอย่าง ที่ทำให้เขาเปิดร้านอาหารได้ ทั้งๆ ที่ ทำอาหารไม่เป็น เราจะมาสรุปให้ฟัง

แจก Checklist เซตอัพระบบร้านอาหาร จบ ครบ เปิดร้านได้เลย

การทำเช็คลิสต์ก่อนเปิดร้านอาหารเป็นสิ่งสำคัญของการเซตอัพระบบร้านอาหาร ที่จะช่วยให้เจ้าของร้านอาหารรู้ว่ามีสิ่งไหนที่ทำสำเร็จแล้ว เหลืองานส่วนไหนบ้างที่ต้องทำให้เสร็จเรียบร้อยก่อนที่ร้านจะเปิดรับลูกค้าได้จริง   “เจ้าของร้านอาหารเปิดใหม่ควรทำเช็คลิสต์เรื่องอะไรบ้าง”   1.งานออกแบบและตกแต่งภายในร้าน โครงสร้างและการตกแต่งร้าน ควรเป็นสิ่งที่แล้วเสร็จก่อนการเปิดร้าน เพราะการเพิ่มเติมหน้างานเมื่อร้านเปิดไปแล้วทำได้ยาก แต่ก็เป็นปัญหาอันดับต้น ๆ ของเจ้าของร้านอาหาร โดยเฉพาะปัญหาผู้รับเหมา เจ้าของร้านอาหารเปิดใหม่ที่ทำโครงสร้างใหม่ทั้งหมดจึงควรเคร่งครัดให้ดำเนินงานตามแผนงานและเผื่อเวลาไว้สำหรับงานที่ไม่เป็นไปตามกำหนด การจัดทำเช็คลิสต์จะช่วยให้เจ้าของร้านวางแผนสำรองหากเกิดปัญหา   2.งานระบบ             ระบบน้ำ ไฟ แสงสว่าง การติดตั้งอุปกรณ์ครัวเรื่องสำคัญที่อาจส่งผลทำให้ร้านไม่สามารถเปิดได้ หรือถ้าหากเกิดปัญหาหน้างานก็แก้ไขค่อนข้างลำบาก จึงควรทดลองเดินระบบ จัดทำให้แล้วเสร็จเสียแต่เนิ่น ๆ   3.กฏหมาย และการเงิน อย่าลืม กำหนดการจัดทำเอกสารด้านการเงิน การขออนุญาตทางราชการที่เกี่ยวข้องกับร้านอาหาร วางแผนรายรับรายจ่ายล่วงหน้า จัดระบบการเงินหลังร้านให้พร้อมสำหรับการเปิดร้าน   4.การสั่งซื้อวัตถุดิบ             ช่วงเปิดร้านแรก ๆ อาจจะมีปัญหาเรื่องการสั่งซื้อวัตถุดิบ หากไม่เคยเปิดร้านขายอาหารมาก่อน การคำนวณปริมาณและการประสานงานกับซัพพลายเออร์ เพราะฉะนั้นควรมีการพูดคุยกับซัพพลายเออร์ก่อนเปิดร้าน การเซตอัพระบบบริหารวัตถุดิบไว้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นระบบการจัดซื้อ การรับสินค้า การจัดเก็บวัตถุดิบ การจัดเตรียมวัตถุดิบเพื่อให้พร้อมใช้งาน การมีระบบปฏิบัติงาน SOP จะช่วยให้ร้านจัดการเรื่องวัตถุดิบได้อย่างมีประสิทธิภาพ   5.อุปกรณ์หน้าบ้านและหลังบ้าน             […]

ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร

ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้!

ร้านอาหารที่ประสบความสำเร็จ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความอร่อยหรือการตกแต่งร้านเท่านั้น แต่ต้องอาศัย “ทีมงาน” ที่ดีมีคุณภาพ ช่วยกันสร้างสรรค์ขึ้นมา เจ้าของร้านบางท่านอาจจะคิดว่าให้ทีมแบ่งงานกันทำง่ายๆ ใครว่างก็ไปช่วยคนอื่นทำต่อ แต่ถ้าจะบริหารร้านให้เป็นระบบอย่างมืออาชีพแล้ว ควรจะแบ่งงานกันอย่างไร มาศึกษาการแบ่ง  ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้! ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้! ร้านอาหารแต่ละชนิดก็จะต้องการพนักงานที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันไป โดยเราสามารถแบ่งประเภทพนักงานออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ พนักงานหลังร้าน และพนักงานหน้าร้าน  พนักงานหลังร้าน ความสามารถที่จำเป็นของพนักงานหลังร้านหรือในครัวนั้น ขึ้นอยู่กับประเภทของร้านอาหาร และความซับซ้อนของเมนูในร้าน เช่น ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด พนักงานไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ในครัวมากนัก ก็สามารถประกอบอาหารได้ตามมาตรฐาน แต่ถ้าเป็นร้านอาหารญี่ปุ่น คงต้องการเชฟที่มีประสบการณ์มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นความรู้เกี่ยวกับวัตถุดิบ ความสามารถในการใช้มีด การแล่ปลา การปั้นซูซิและทำอาหารญี่ปุ่นอื่นๆ  ยิ่งเป็นร้านที่พัฒนามากขึ้น ตำแหน่งก็จะยิ่งละเอียด เพื่อความชัดเจนในหน้าที่ ลดความซ้ำซ้อนของงาน และมีโครงสร้างเหมือนกับบริษัทย่อยๆ ที่พนักงานต้องเรียนรู้ขึ้นไปเรื่อยๆ โดยตำแหน่งในครัวแบ่งย่อยได้เป็น  หัวหน้าเชฟ เป็นตำแหน่งสำคัญที่สุดเบื้องหลังร้าน แค่ต้องทำอาหารได้ดียังไม่พอ แต่ต้องสามารถบริการจัดการครัวได้ด้วย ทั้งเรื่องการกระจายงานให้พนักงานในครัว ดูแลการจัดการวัตถุดิบ คำนวนต้นทุนอาหาร วางแผนและพัฒนาเมนูในร้าน   ผู้ช่วยเชฟ  มีหน้าที่ช่วยจัดการงานต่างๆ ของหัวหน้าเชฟ และดูแลครัวในกรณีที่หัวหน้าเชฟไม่อยู่ […]

“อร่อยไม่ซ้ำ จำสูตรไม่ได้” ประโยคแซวขำๆ ที่ลูกค้าอาจไม่ขำ 3 องค์ประกอบที่ต้องยึด ควบคุมรสชาติอาหาร

“อร่อยไม่ซ้ำ จำสูตรไม่ได้” ประโยคแซวขำๆ ที่ลูกค้าอาจไม่ขำ 3 องค์ประกอบที่ต้องยึด ควบคุมรสชาติอาหาร “อร่อยไม่ซ้ำ จำสูตรไม่ได้” ประโยคที่แซวเล่นกันขำๆ แต่ลูกค้าอาจไม่ขำ และถือเป็นวิธีไล่ลูกค้าวิธีหนึ่งเลยก็ว่าได้ วันก่อนแอดได้มีโอกาสพูดคุยกับเจ้าของร้านคาเฟ่มือใหม่คนหนึ่ง ถึงวิธีการทำร้าน การจัดการต่าง ๆ โดยระหว่างที่คุยกันตอนหนึ่งของบทสนทนาเจ้าของร้านก็ได้เปิดใจกับแอดว่า “ด้วยความที่เขาเป็นมือใหม่ เพิ่งเปิดร้านได้ไม่นาน ทำให้ยังกะส่วนผสมเครื่องดื่มแต่ละแก้วไม่โปรเท่าไหร่ หลายครั้งจึงประสบปัญหาลูกค้าคอมเพลนเรื่องรสชาติ รสชาติไม่เหมือนเดิมบ้าง เข้มไปบ้าง จนบางทีก็ทำให้เขารู้สึกเสียเซล์ฟจนอยากปิดร้านไปเลย” . ต้องยอมรับว่าเรื่อง “มาตรฐานรสชาติ” ถือเป็นเรื่องสำคัญมากอย่างหนึ่งสำหรับร้านอาหาร และร้านเครื่องดื่ม ยิ่งมีหลายสาขา ก็ยิ่งต้องควบคุมมาตรฐานรสชาติให้ดี ให้เหมือนกันในทุก ๆ สาขา เพราะมาตรฐานของรสชาติเป็นสิ่งที่เรากำหนดขึ้นและลูกค้าส่วนใหญ่ก็พอใจและยอมรับในรสชาตินี้ ดังนั้นจึงต้องปรุงให้มีรสชาติที่คงที่ เพื่อรักษาความพึงพอใจของลูกค้า แล้วจะทำให้ทุกจาน ทุกแก้วรสชาติเหมือนกันต้องทำยังไง ? โพสต์นี้มีคำตอบ! . การสร้างมาตรฐานรสชาติ มีองค์ประกอบอยู่ 3 อย่าง วิธีการทำ . ร้านอาหารอาจอาศัยการทำ SOP (Standard Operating Procedure) “คู่มือมาตรฐานเชิงปฏิบัติการ” หรือจะเรียกง่าย […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.