ข้อดี/พิจารณา บริการน้ำเปล่า “ตั้งบนโต๊ะ" กับ “ให้ลูกค้าสั่ง” แบบไหนเหมาะร้านคุณ

เทียบ ข้อดี – ข้อพิจารณา บริการน้ำเปล่า “ตั้งน้ำไว้บนโต๊ะให้ลูกค้าหยิบ” กับ “ให้ลูกค้าสั่งกับพนักงาน”

เทียบ ข้อดี – ข้อพิจารณา บริการน้ำเปล่า
“ตั้งน้ำไว้บนโต๊ะให้ลูกค้าหยิบ” กับ “ให้ลูกค้าสั่งกับพนักงาน”
บริการแบบไหนเหมาะกับร้านคุณ!?

เวลาไปร้านอาหารคุณชอบบริการแบบไหนมากกว่ากัน!? ระหว่างร้านที่ “ตั้งน้ำไว้บนโต๊ะให้ลูกค้าหยิบ” กับ “ให้ลูกค้าสั่งกับพนักงาน” ในแง่ของผู้ประกอบการรูปแบบบริการ 2 อย่างข้างต้นต่างก็มีข้อดี ข้อด้อยแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับร้าน แต่แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าแบบไหนเข้ากับร้านเราล่ะ ? ลองมาดูข้อดี ข้อด้อยของบริการน้ำดื่ม 2 รูปแบบนี้เพื่อช่วยในการตัดสินใจนำมาปรับใช้กับร้านคุณสิ!
.
หมายเหตุ: น้ำดื่มที่ยกมาพูดถึง คือ น้ำเปล่า ซึ่งในที่นี้จะขอเรียกสั้น ๆ ว่า “น้ำ”
.
<<ตั้งน้ำไว้บนโต๊ะให้ลูกค้าหยิบ>>
😁ข้อดี
1.แน่นอนว่าวิธีนี้ทำให้ลูกค้าสามารถหยิบน้ำดื่มเติมเองได้ทันที ไม่ต้องรอเรียกพนักงานให้มารับออเดอร์หรือรอพนักงานเดินไปหยิบน้ำมาเสิร์ฟ เรียกได้ว่าเป็นวิธีที่ทันใจลูกค้า
2.เนื่องจากการมีน้ำมาตั้งอยู่ใกล้ ๆ ทำให้ลูกค้ามีแนวโน้มเปิดเครื่องดื่มเพิ่มมากกว่าการต้องสั่งให้พนักงานมาเสิร์ฟ เพราะลูกค้าสามารถตัดสินใจได้เดี๋ยวนั้น จะดื่มก็หยิบเพิ่มเลย ในทางกลับกันถ้าต้องใช้เวลาในการรอ ลูกค้าก็อาจจะเปลี่ยนใจแล้วเลือกที่จะกลับไปกินที่บ้านหรือที่อื่นแทน เพราะเพียงเสี้ยวนาทีก็มีผลต่อการตัดสินใจ
3.เมื่อมีน้ำไว้บริการบนโต๊ะอยู่แล้วทำให้ภาระงานของพนักงานลดลง ข้อนี้อาจเห็นได้ไม่ชัดในการเสิร์ฟรอบแรก เพราะถึงพนักงานไม่ได้มาเสิร์ฟน้ำ แต่ก็อาจมีการเสิร์ฟน้ำแข็ง และต้องเสิร์ฟอาหารอยู่แล้ว แต่เมื่ออาหารออกหมด ลูกค้ารับประทานมาได้สักพักน้ำก็อาจจะหมด ทีนี้เมื่อมีน้ำอยู่บนโต๊ะ ลูกค้าก็ไม่จำเป็นต้องเรียกพนักงานเพื่อมารับออเดอร์ เพราะสามารถหยิบน้ำเติมเองได้เลย ทำให้พนักงานมีภาระงานต่อโต๊ะน้อยลง อีกทั้งสามารถไปทำอย่างอื่นหรือบริการโต๊ะอื่นได้อีก
.
🤨ข้อพิจารณา
1.การตั้งน้ำไว้บนโต๊ะอาจทำให้การจดออเดอร์รวมอาหารและเครื่องดื่มตกหล่น เนื่องจากการจดออเดอร์แบบนี้จะไม่ผ่านหน้าเคาน์เตอร์ แต่จะเป็นการมาเช็คหลังลูกค้ารับประทานอาหารเสร็จ ซึ่งมีโอกาสเช็คออเดอร์ตกหล่นอย่างไม่ตั้งใจได้ เช่น การที่ลูกค้าวางขวดไว้ด้านล่างแล้วลืม พอพนักงานมาเช็คก็ไม่ทันได้สังเกตทำให้ร้านเสียรายได้ส่วนนั้นไป
2.เมื่อตั้งน้ำทิ้งไว้ แม้เวลาจะผ่านไปไม่นานแต่ก็มีโอกาสที่ฝุ่นหรือละอองจะมาเกาะที่ขวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในร้านที่เป็นแบบ outdoor ที่เป็นร้านเปิด ลมก็อาจจะพัดฝุ่นควันเข้าร้านได้มากซึ่งตรงนี้ถ้าไม่หมั่นดูแลรักษาความสะอาดก็จะส่งผลต่อภาพลักษณ์เรื่องความสะอาดของร้านได้ ลองจินตนาการว่าถ้าลูกค้าหยิบขวดน้ำขึ้นมาแล้วมีแต่ฝุ่นเกาะดำปี๋ ก็ดูไม่น่าพิศมัยเท่าไหร่ใช่ไหมล่ะ


<<ให้ลูกค้าสั่งกับพนักงาน>>
😁ข้อดี
1.เมื่อเป็นการหยิบใหม่มาเสิร์ฟ อาจทำให้ลูกค้ามีทางเลือกในการบริโภคเยอะขึ้น เช่น น้ำแบบแช่เย็น เพราะน้ำที่ตั้งอยู่บนโต๊ะไม่เย็นแน่ ๆ อีกทั้งอาจมีน้ำดื่มยี่ห้ออื่นให้เลือก เพราะก็มีผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยที่ชื่นชอบรสชาติของน้ำดื่มยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งเป็นพิเศษทำให้เว้นการดื่มน้ำยี่ห้อที่ไม่ชอบ
2.พนักงานสามารถเช็คสินค้าก่อนจะไปถึงมือลูกค้าได้ เช่น สิ่งแปลกปลอมที่อาจติดไปกับขวด ตำหนิของฝาขวด รวมถึงความสะอาดของขวด ซึ่งถ้าลูกค้าได้รับไปแล้วสังเกตเห็นว่าสินค้าที่ได้ด้อยคุณภาพ ก็ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของร้าน
3.โอกาสที่ออเดอร์จะตกหล่นน้อย เพราะออเดอร์ออกผ่านเคาน์เตอร์ ซึ่งเมื่อพนักงานเสิร์ฟมาสั่ง พนักงานหน้าเคาน์เตอร์ก็จะทำการจดบันทึกทันที อีกทั้งในบางร้านใช้เครื่อง POS ที่สามารถบันทึกรายการสินค้าและตัดสต็อกได้เลย พนักงานไม่ต้องไปรอเช็คออเดอร์รวมตอนเก็บเงิน

🤨ข้อพิจารณา
1.ลูกค้าต้องรอสั่งจากพนักงานเพียงอย่างเดียว ซึ่งถ้าเป็นเวลาปกติหรือในร้านที่มีจำนวนพนักงานเยอะคงไม่มีปัญหา แต่ถ้าอยู่ในชั่วโมงเร่งด่วนแถมร้านยังมีจำนวนพนักงานน้อย อาจทำให้พนักงานให้บริการลูกค้าไม่ทั่วถึง เช่น ลูกค้าต้องการจะสั่งน้ำแต่พนักงานที่ดูแลโต๊ะหายและไม่มีพนักงานคนไหนว่างมารับออเดอร์ก็อาจทำให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกไม่พอใจได้
2.อยากจะเพิ่มยอดขายน้ำ พนักงานต้องพูดให้เป็น ส่วนใหญ่เราจะพบว่าเราจะได้ยอดขายน้ำเพิ่มขึ้น ต่อเมื่อลูกค้าต้องการสั่งเพิ่มด้วยตัวเอง ทั้งนี้ถ้าอยากจะเพิ่มยอดขายน้ำ พนักงานต้องมีทักษะในการพูดและรู้จักจังหวะในการเข้าไปเสนอขายเพิ่มเติม เช่น เข้าไปเสนอขายน้ำเปล่าในขณะที่น้ำขวดเก่าใกล้จะหมด “รับน้ำอีก 1 ขวดเพิ่มไหมครับ”
.
ทั้งนี้การเลือกนำรูปแบบบริการเครื่องดื่มไปใช้ในร้านยังต้องคำนึงถึงเรื่องอื่น ๆ อีก ทั้งจำนวนพนักงาน จำนวนลูกค้า ประเภทร้าน รวมถึงความคาดหวังของลูกค้าที่มีต่องานบริการ อย่างในร้านอาหารที่ราคาสูงลูกค้าก็คาดหวังว่าจะได้รับการบริการจากพนักงานเป็นอย่างดี คุ้มค่ากับเงินที่จ่าย อย่างไรก็ตามทุกคนลองไปเปรียบเทียบกันดูว่าบริการแบบไหนเหมาะกับร้านของคุณมากกว่ากัน แล้วนำไปปรับใช้กันนะคะ
.
#AmarinAcademy #ร้านอาหาร

เรื่องแนะนำ

เทคนิคทำ SOP งานบริการดี ลูกค้าไหลมาเทมา

งานบริการ เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญของการทำร้านอาหารก็ว่าได้ ซึ่งถ้าอยากให้ร้านของคุณมีงานบริการที่ดี การทำ SOP สำหรับงานบริการลูกค้าก็เป็นสิ่งสำคัญที่เจ้าของร้านต้องทำ เพื่อให้พนักงานมีแบบแผนการบริการที่เป็นระบบ ถูกต้องตาม มาตรฐานของร้าน แล้ว เทคนิคทำ SOP เพื่อให้งานบริการดี ลูกค้าประทับใจทำได้อย่างไร มาดูกันครับ เทคนิคทำ SOP งานบริการดี ลูกค้าไหลมาเทมา การกำหนดบทบาทหน้าที่ พนักงานมีส่วนสำคัญในการชี้วัดว่า SOP ที่เขียนขึ้นมา สามารถใช้ประโยชน์ในการควบคุมมาตฐานงานบริการได้ดีจริงหรือไม่ การกำหนด SOP ที่ดี ควรทำให้พนักงานแต่ละคนรู้บทบาทหน้าที่ที่ชัดเจน ของตัวเอง ว่ามีอะไรบ้าง และจะต้องปฏิบัติอย่างไรในสถานการณ์ต่าง ๆ  รวมถึงช่วยให้มองเห็นภาพรวมการทำงานร่วมกับส่วนอื่น ๆ ได้   รูปแบบที่นำมาใช้ และความชัดเจน รูปแบบเป็นอีกสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะจะทำให้การสื่อสารเป็นไปอย่างกระชับและเข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น อาจจะเป็นการใช้แผนผัง หรือภาพประกอบที่ชัดเจน เพื่อช่วยให้จดจำง่าย ใช้ศัพท์เทคนิคที่เข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน มีภาษาที่สอดคล้องกับผู้ที่นำไปปฏิบัติจริง และตรวจสอบให้แน่ใจในการนำเอกสารมาใช้ มีการกำกับเลขที่เอกสารเพื่อใช้อ้างอิง   วัตถุประสงค์และการวัดผล วัตถุประสงค์ที่สำคัญของการกำหนด SOP ด้านการบริการ คือ การรักษามาตรฐานที่เกิดจากการให้บริการลูกค้าที่เป็นไปอย่างมีลำดับขั้นตอน ช่วยลดความผิดพลาด  […]

วิธีคำนวณต้นทุนร้านอาหาร

วิธี คำนวณต้นทุนร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านต้องรู้! by คุณ ธามม์ ประวัติตรี

การคำนวณต้นทุนร้านอาหาร ถ้ามองให้เป็นเรื่องใกล้ตัว พูดง่ายๆ ก็เหมือนเรามีเงินเดือน แล้วเราต้องรู้ว่าในแต่ละเดือนนั้น ต้องมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ และมีเงินเหลือเก็บหรือไม่ เช่นเดียวกับการ คำนวณต้นทุนร้านอาหาร ที่ต้องทำอย่างเป็นระบบ มาดูคำแนะนำจาก คุณ ธามม์ ประวัติตรี Managing Director, Wow Thai Food Holding ประเทศเนเธอร์แลนด์   “ คำนวณต้นทุนร้านอาหาร ไม่ใช่การเดา แต่ต้องทำให้เป็นระบบ แล้วผลประกอบการก็จะดีขึ้น ” เจ้าของธุรกิจบางรายมักใช้ความรู้สึก ในการวัดผลการดำเนินงาน เช่น วันที่ลูกค้าเต็มร้าน คาดว่าน่าจะมีรายได้มาก และน่าจะมีเงินหมุนเวียนในธุรกิจมากตามไปด้วย แต่คำว่ามากนั้น คงไม่เพียงพอที่จะบอกได้ว่าธุรกิจของคุณเป็นไปด้วยดีจริงหรือไม่ ทั้งนี้เจ้าของร้านจะต้องสามารถระบุได้ว่ามาตรฐานของร้าน หรือระดับรายได้ที่ควรจะได้คือเท่าไหร่ หรือมากกว่าคู่แข่งเท่าไหร่ หรือบางร้านอาจจะมีการจดบันทึกที่ละเอียดขึ้น คือมีการบันทึกรายรับ-รายจ่ายเป็นเงินสด ว่าวันนี้ขายได้กี่จาน จานละกี่บาท ก็จะบันทึกเป็นยอดขาย เพื่อนำมาคำนวณ ต่อวันจะขายได้เท่าไหร่ ต่อเดือนจะขายได้เท่าไหร่ แต่ความจริงแล้ว การคาดการณ์ที่กล่าวมาอาจไม่เพียงพอเท่าที่ควร และอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจในระยะยาวได้ เพราะเจ้าของร้านต้องไม่ลืมว่ารายรับนั้น ยังไม่ได้หักต้นทุนใด ๆ เลย ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างพนักงาน ค่าล่วงเวลาของพนักงาน […]

ธุรกิจมีปัญหา

3 สิ่งที่ต้องทำ เมื่อ ธุรกิจมีปัญหา

ทำธุริจคงหลีกเลี่ยงปัญหาไปไม่ได้ และบางครั้งอาจเจอปัญหาหนักจนไม่รู้จะแก้อย่างไร เราจึงมีเทคนิคดีๆ ที่จะช่วยดึงสติยาม ธุรกิจมีปัญหา มาฝาก

แชร์สูตร คำนวณทั้งโครงสร้างต้นทุน ก่อนตั้งราคาอาหาร ร้านอาหารมีต้นทุนแฝง ป้องกันอาการ ขายดี…จนเจ๊ง!

แชร์สูตร คำนวณทั้งโครงสร้างต้นทุน ก่อนตั้งราคาอาหาร ร้านอาหารมีต้นทุนแฝง ป้องกันอาการ ขายดี…จนเจ๊ง! ขายดีจนเจ๊ง! เชื่อว่าสิ่งที่เจ้าของร้านอาหารมือใหม่อยากจะเห็นก็คือภาพของลูกค้ามาใช้บริการเต็มร้าน ขายดี ขายหมดทุกวัน แต่ทว่าการที่ลูกค้าเยอะ ก็ไม่ได้การันตีว่าจะได้กำไรเสมอไป ซึ่งกรณีแบบนี้เคยเกิดขึ้นกับหลายร้านที่ขายดีแต่ไม่มีกำไร กว่าจะรู้ตัวว่าขาดทุนสะสมมานานก็เกือบเจ๊งแล้ว ซึ่งต้นเหตุของปัญหาเหล่านี้ เกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น การตั้งราคาอาหารผิด คำนวณต้นทุนผิดหรือตั้งราคาอาหารจากต้นทุนวัตถุดิบอย่างเดียว แล้วถ้าอยากขายดีและมีกำไรต้องทำยังไงลองมาดูวิธีการตั้งราคาที่ถูกต้องกัน! . ทุกคนต้องเข้าใจก่อนว่าต้นทุนของราคาอาหารทุกจานล้วนมีต้นทุนแฝง ไม่ได้มีแค่ค่าวัตถุดิบอย่างเดียว ฉะนั้นจะเอาแค่ค่าวัตถุดิบมาใช้ในการตั้งราคาอาหารไม่ได้ ต้องเอามาทั้งโครงสร้าง โดยโครงสร้างต้นทุนแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้ ต้นทุนวัตถุดิบ COG (cost of grocery) ควรอยู่ที่ 35-40% ต้นทุนค่าเช่าที่ COR (cost of rental) ควรอยู่ที่ 10-15% ต้นทุน พนักงาน COL (cost of labor) ควรอยู่ที่ 20% ต้นทุนอื่นๆ ETC (เช่น ค่าน้ำ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.