ทำร้านอาหาร มีแต่ passion ไม่มีระบบ ไม่รอดนะ! - Amarin Academy

ทำร้านอาหาร มีแต่ passion ไม่มีระบบ ไม่รอดนะ!

ทำร้านอาหาร มีแต่ passion ไม่มีระบบ  ไม่รอดนะ!

ทุกวันนี้เวลาได้คุยกับคนที่เริ่ม ทำร้านอาหาร หรือร้านขนม หลายคนชอบบอกกับผมว่าเขาอยากทำร้าน เพราะเขาชอบทำอาหาร เวลาทำให้ญาติหรือเพื่อนๆ กินก็มีแต่คนบอกว่าอร่อย และเชียร์ให้เปิดร้านขายเลย

สุดท้ายหลายคนถึงขั้นยอมออกจากงานเงินเดือนดีๆ มาทำ หรือบางคนแทนที่สืบทอดกิจการจากที่บ้านก็ขอที่บ้านมาทำร้านเพราะอยากพิสูจน์ตัวเอง ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตามแต่ การทำอาหารกับ การทำธุรกิจอาหาร มันคนละเรื่องกัน!

การมี Passion ในการทำงานเป็นเรื่องดี เพราะการทำร้านอาหารไม่ว่าร้านเล็กหรือใหญ่ คุณต้องพบเจอปัญหาตลอดทาง ตั้งแต่การเริ่มทำร้าน คิดเมนู ทำการตลาด ไปจนถึงการบริการ การเงิน-บัญชี หากไม่มี Passion ตั้งแต่ต้นแล้ว เชื่อว่าคงพับกระเป๋ากลับบ้านได้ในระยะเวลาไม่กี่เดือนแน่นอน

แต่การมี Passion อย่างเดียวไม่สามารถทำให้ร้านอยู่รอดได้ แค่อยู่รอดนะ ไม่ได้หมายความจะประสบความสำเร็จด้วยซ้ำ ผมขอยกตัวอย่างการทำร้านขนมเล็กๆ หนึ่งร้าน ว่าคุณจะต้องเจออะไรบ้าง อยากแรกคือเรื่องสถานที่ ตอนคุณทำขนมที่บ้าน คุณไม่ต้องเสียค่าเช่าที่ ค่าน้ำ ค่าไฟ ตู้เย็นคุณก็ใช้ของที่บ้านได้ แต่พอคุณทำร้านคุณเอง ไหนจะค่าตกแต่ง ค่าเช่า ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าใช้จ่ายยิบย่อยอื่นๆ ฉะนั้นการวางแผนการเงิน การลงทุนก่อนทำร้านถึงมีความสำคัญมาก เพราะจะเป็นตัวกำหนดทิศทางของร้านคุณเลยว่าควรจะไปทางไหน

ต่อมาคือเรื่องคน ตอนคุณทำขนมที่บ้าน คุณอยากทำวันไหนก็ได้ วันไหนเหนื่อยก็หยุดพัก แต่เมื่อทำร้าน จากความชอบกลายเป็นหน้าที่ วันไหนขี้เกียจก็ต้องตื่นมานั่งทำ วันหยุดเหมือนคนอื่นๆ ก็ไม่มี ต่อให้ไม่ทำเองก็ต้องให้ลูกน้องทำ ซึ่งบางวันก็ทำตามมาตรฐานเรา บางวันก็ทำตามใจตัวเอง อร่อยบ้างไม่อร่อยบ้าง ก็ทนให้ลูกค้าด่าไป อยู่ดีๆ วันหนึ่งลูกน้องอันประเสริฐของคุณก็ดันลาออกโดยไม่แจ้งล่วงหน้า แล้วคุณเองก็ดันไม่ได้มีคนสำรองไว้ด้วย งานเข้าเลยทีนี้ ต้องมานั่งวุ่น หาคนมาช่วย หรือถ้าไม่ได้จริงๆ อาจถึงขั้นต้องปิดร้านในวันนั้นกันเลย

นี่แค่สองเรื่องเองนะ ยังไม่รวมเรื่องวัตถุดิบที่คุณต้องเสียเวลาขับรถไปซื้อแต่ละวัน เรื่องบัญชี ซึ่งเป็นเรื่องปวดใจของคนทำร้านอย่างเรา เหนื่อยทำเหนื่อยขายแทบตาย ยังจะต้องมานั่งทำบัญชีตอนสิ้นวัน แม้กระทั่งเรื่องการตลาดออนไลน์ที่ต้องคอยมานั่งโพสถ่ายรูปสวยๆ ให้คนไลค์ คนแชร์

ที่ผมพูดมาทั้งหมดนี้ เพียงเพื่อที่จะบอกว่านอกจาก Passion ในการทำร้านแล้ว สิ่งที่คุณควรต้องทำคือ วางระบบการบริหารจัดการร้าน คุณในฐานะเจ้าของร้านก็เปรียบได้กับ CEO ของบริษัท หน้าที่ของคุณคือสร้างมาตรฐานการทำงานและควบคุมการทำงานของลูกน้องในแต่ละแผนกให้ทำงานบรรลุสิ่งที่ได้รับมอบหมาย รวมถึงคิดกลุยทธ์ใหม่ๆ เพื่อหาลูกค้าใหม่ ไม่ใช่ลงไปทำเองในทุกๆ เรื่อง

รู้แบบนี้แล้ว ใครที่กำลังทำร้านอาหารแล้วมัวแต่ไปโฟกัสที่รสชาติอาหารหรือบริการ อย่าลืมแบ่งเวลามาวางระบบร้านให้ดีด้วย จะได้ไม่ต้องมานั่งแก้ปัญหาที่จะตามมาในภายหลัง


หากอยากศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเริ่มต้นธุรกิจ เรามีหลักสูตรเปิดร้านอาหาร…ไม่ให้เจ๊ง (Restaurant Feasibility Study) ที่จะช่วยลดความเสี่ยง เพิ่มโอกาสสำเร็จให้คุณ

รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก!

เรื่องแนะนำ

หน้าที่ผู้จัดการร้านอาหาร

สงสัยไหม หน้าที่ผู้จัดการร้านอาหาร มีอะไรบ้าง

หลายคนอาจสงสัยว่าหากจะจ้างผู้จัดการร้านสักคนหนึ่ง ต้องระบุหน้าที่อะไรให้เขารับทราบบ้าง วันนี้เราจึงขอนำรายละเอียดเกี่ยวกับ หน้าที่ผู้จัดการร้านอาหาร ให้ทุกคนได้ทราบกัน

ร้านฮิตสนั่นโซเชียล เจ้าของสูงวัย ทำอย่างไรได้ใจวัยรุ่น

ร้านฮิตสนั่นโซเชียล เจ้าของสูงวัย ทำอย่างไรได้ใจวัยรุ่น ร้านอาหารดังในตำนานหลายร้าน กำลังส่งต่อให้ลูกหลาน Gen ใหม่บริหารต่อ ในอีกด้านหนึ่ง มีคนวัยเกษียณที่ยังมีไฟ เพิ่งเริ่มมาเปิดร้านอาหาร หรือร้านกาแฟเป็นของตัวเอง นอกจากทลายข้อจำกัดของวัยแล้ว ‘ความสูงวัยแต่ใจยังได้’ กลายมาเป็นจุดเด่น ที่ทำให้ร้านเหล่านี้เข้าถึงลูกค้าได้หลายกลุ่มอีกด้วย 1. ร้าน Mobidrip x Mother Roaster   คอนเซปต์ร้านกาแฟแบบ Slow Bar มีเมล็ดกาแฟให้เลือกหลากหลายชนิด อาจดูไม่แตกต่างจากร้านกาแฟหลายแห่งในปัจจุบัน แต่สิ่งที่ทำให้ร้านกาแฟ Mobidrip x Mother Roaster มีลูกค้าเวียนไปอุดหนุนไม่ขาดสาย เป็นเพราะร้านกาแฟแห่งนี้มีบาริสต้าเป็นคุณป้าวัย 70 ปี แทนที่จะเป็นบาริสต้าหนุ่ม สาวอย่างที่เราพบเห็นได้โดยทั่วไป           ร้านกาแฟ Mobidrip x Mother Roaster เกิดจากแรงบันดาลใจของคุณป้าพิณ ที่ชื่นชอบการดื่มกาแฟเป็นทุนเดิมประกอบกับมีลูกชายที่มีความรู้ในด้านกาแฟและมักพาคุณแม่ไปดื่มกาแฟร้านใหม่ ๆ อยู่เป็นประจำ จึงมีความคิดที่อยากจะเปิดร้านขายกาแฟเป็นของตัวเองดูบ้างในวัย 70  ปี  โดยเริ่มต้นจากการออกบูธขายระยะสั้นซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี  ก่อนตัดสินใจเปิดหน้าร้านเพื่อที่จะสามารถขายได้ตลอดเวลา  ร้านกาแฟรูปแบบ […]

ร้านอาหาร SME

วิกฤตระยะยาว ร้านอาหาร SME ต้องปรับตัวอย่างไร? 

         การแพร่ระบาดของไวรัส เป็นสาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจและการลงทุนทั่วโลกกระทบหนักอยู่ในขณะนี้ แน่นอนว่าร้านอาหารต้องเผชิญกับสภาพการแข่งขันในรูปแบบใหม่ และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป หากสถานการณ์นี้ยืดเยื้อต่อไป ผู้ประกอบการ ร้านอาหาร SME จำเป็นต้องหาแนวทางในการรับมือระยะยาวที่จะช่วยให้ธุรกิจไปต่อได้  วิกฤตร้านอาหาร ร้านอาหาร SME ปรับตัวอย่างไร?           ในทุกปัญหามีทางออก แม้ว่าธุรกิจอาหารในช่วงนี้จะไม่สามารถขายทางหน้าร้านได้มากนัก แต่ความต้องการของผู้บริโภคยังคงมีอยู่ ทางออกของการทำร้านอาหารจึงต้องเน้นการขายทางออนไลน์และส่งอาหารเดลิเวอรี่มากขึ้น รวมถึงการปรับตัวในรูปแบบอื่นๆ ได้แก่           ปัญหาที่ต้องแก้เร่งด่วน          ปัญหาที่ทุกร้านอาหารต้องเจอคือรายได้ที่ลดลง แต่ต้นทุนต่างๆ ยังคงต้องเสียอยู่เหมือนเดิม การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เจ้าของร้านควรทำ คือการจัดการต้นทุนต่างๆ ลองพิจารณาต้นทุนที่สามารถตัดได้ เช่น ลองเจรจาขอลดค่าเช่าร้าน ค่าเช่าอุปกรณ์ต่างๆ ค่าเช่าระบบ POS ในร้านอาหาร ค่าวัตถุดิบอาหาร ลดปริมาณหรือความถี่ในกิจกรรมต่างๆ ที่เคยจัด เช่น การทำความสะอาดร้าน การนัดกำจัดแมลง      […]

ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร

ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้!

ร้านอาหารที่ประสบความสำเร็จ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความอร่อยหรือการตกแต่งร้านเท่านั้น แต่ต้องอาศัย “ทีมงาน” ที่ดีมีคุณภาพ ช่วยกันสร้างสรรค์ขึ้นมา เจ้าของร้านบางท่านอาจจะคิดว่าให้ทีมแบ่งงานกันทำง่ายๆ ใครว่างก็ไปช่วยคนอื่นทำต่อ แต่ถ้าจะบริหารร้านให้เป็นระบบอย่างมืออาชีพแล้ว ควรจะแบ่งงานกันอย่างไร มาศึกษาการแบ่ง  ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้! ตำแหน่งพนักงานร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านมืออาชีพต้องรู้! ร้านอาหารแต่ละชนิดก็จะต้องการพนักงานที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันไป โดยเราสามารถแบ่งประเภทพนักงานออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ พนักงานหลังร้าน และพนักงานหน้าร้าน  พนักงานหลังร้าน ความสามารถที่จำเป็นของพนักงานหลังร้านหรือในครัวนั้น ขึ้นอยู่กับประเภทของร้านอาหาร และความซับซ้อนของเมนูในร้าน เช่น ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด พนักงานไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ในครัวมากนัก ก็สามารถประกอบอาหารได้ตามมาตรฐาน แต่ถ้าเป็นร้านอาหารญี่ปุ่น คงต้องการเชฟที่มีประสบการณ์มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นความรู้เกี่ยวกับวัตถุดิบ ความสามารถในการใช้มีด การแล่ปลา การปั้นซูซิและทำอาหารญี่ปุ่นอื่นๆ  ยิ่งเป็นร้านที่พัฒนามากขึ้น ตำแหน่งก็จะยิ่งละเอียด เพื่อความชัดเจนในหน้าที่ ลดความซ้ำซ้อนของงาน และมีโครงสร้างเหมือนกับบริษัทย่อยๆ ที่พนักงานต้องเรียนรู้ขึ้นไปเรื่อยๆ โดยตำแหน่งในครัวแบ่งย่อยได้เป็น  หัวหน้าเชฟ เป็นตำแหน่งสำคัญที่สุดเบื้องหลังร้าน แค่ต้องทำอาหารได้ดียังไม่พอ แต่ต้องสามารถบริการจัดการครัวได้ด้วย ทั้งเรื่องการกระจายงานให้พนักงานในครัว ดูแลการจัดการวัตถุดิบ คำนวนต้นทุนอาหาร วางแผนและพัฒนาเมนูในร้าน   ผู้ช่วยเชฟ  มีหน้าที่ช่วยจัดการงานต่างๆ ของหัวหน้าเชฟ และดูแลครัวในกรณีที่หัวหน้าเชฟไม่อยู่ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.