9 ขั้นตอนการ เริ่มต้นเปิดร้านอาหาร อย่างมืออาชีพ - Amarin Academy

9 ขั้นตอนการ เริ่มต้นเปิดร้านอาหาร อย่างมืออาชีพ

9 ขั้นตอนการ เริ่มต้นเปิดร้านอาหาร อย่างมืออาชีพ เริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง

ช่วงหลังมานี้ ผมมีโอกาสไปบรรยายในหลายๆ ที่ เรื่องการกลยุทธ์การเริ่มต้นธุรกิจของร้าน Penguin Eat Shabu คำถามหนึ่งที่คนถามมาตลอดคือ อยากเปิดร้านอาหาร แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี วันนี้ผมเลยถือโอกาสรวบรวมขั้นตอน การเริ่มต้นเปิดร้านอาหาร ซึ่งผมนำไปใช้แล้วได้ผล มาเผยแพร่ให้ผู้ที่สนใจ เผื่อจะเป็นแนวทางสำหรับใครที่ยังนึกไม่ออกว่าจะเริ่มต้นยังไงดี

1.เลือกคอนเซ็ปต์ร้านให้ชัด

คอนเซ็ปต์ร้านกับทำเล สองเรื่องนี้เป็นเหมือนไก่กับไข่ ไม่มีสูตรตายตัวว่าอะไรมาก่อน บางคนอาจมีทำเลอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือตึกแถวของตัวเอง แล้วค่อยมานั่งคิดว่าจะขายอะไรดี หรือบางคนอาจจะรู้อยู่แล้วว่าอยากทำร้านแบบไหน แล้วค่อยมาหาพื้นที่เช่าทีหลัง แต่ที่แน่ๆ สิ่งที่เราจำเป็นต้องรู้คือ เราจะขายอะไร จะขายให้ใคร และลูกค้าเราชอบอะไร

คอนเซ็ปต์ร้านที่ดี ต้องมาจากการสำรวจความต้องการตลาดที่ถูกต้อง จำไว้เสมอว่า “รสชาติอาหาร” ไม่ใช่จุดขายเสมอไป เพราะไม่มีร้านอาหารไหนบอกว่าอาหารของตัวเองไม่อร่อยแน่นอน ในเมื่อจุดขายของร้านเรา ไม่ใช่รสชาติอาหาร เราต้องตอบตัวเองให้ได้ว่า ลูกค้าต้องมาร้านเราเพราะอะไร

ทุกวันนี้ลูกค้าไม่ได้ไปร้านอาหารเพียงเพราะแค่รสชาติอาหารที่ถูกปากอย่างเดียว แต่ลูกค้าเลือกร้านนั้นเพราะอาจอยากสัมผัสถึงประสบการณ์ที่ไม่สามารถหาได้จากร้านอื่น เช่น ร้าน Rocket Coffeebar ซึ่งนำเสนอเมนูที่เป็น all day breakfast โดยเมนูจะเปลี่ยนไปทุกเดือน ทำให้ลูกค้ารู้สึกแปลกใหม่ตลอดเวลา

2.เลือกทำเลที่ใช่

ทำเล ถือเป็นประเด็นสำคัญที่ตัดสินว่า ร้านจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว ปัจจัยสำคัญในการเลือกทำเลตั้งร้านอาหาร มีทั้ง ฐานลูกค้า คู่แข่ง การเข้าถึง ที่จอดรถ รวมไปถึงการมองเห็น นอกจากนี้ ทำเลในหรือนอกห้างสรรพสินค้าก็เป็นประเด็นสำคัญในการพิจารณา

การตั้งอยู่ในห้างฯ มีข้อดีคือ เราจะได้กลุ่มลูกค้าที่หลากหลายและแน่นนอน ไม่ต้องมานั่งกังวลเรื่องที่จอดรถหรือสภาพอากาศแต่ก็ต้องแลกกับค่าเช่าที่แพง หรืออาจจะเป็นแบบแชร์ผลกำไร (GP) ในขณะที่ร้านแบบ stand alone หรืออยู่ภายนอกห้างฯ ย่อมมีค่าเช่าถูกกว่า แต่ก็ต้องเสี่ยงกับสภาพอากาศที่ไม่แน่นอน รวมถึงที่จอดรถที่อาจมีจำกัด

แต่ต่อให้เราได้ทำเลที่ต้องการเหมาะกับฐานลูกค้าแล้ว สิ่งที่ลืมไม่ได้เลยคือ การวิเคราะห์คู่แข่งบริเวณเดียวกัน คงไม่ดีแน่ ถ้าคุณคิดจะเปิดร้านเบเกอรี่ในทำเลที่มีร้านเบเกอรี่เจ้าดังอยู่แล้ว 3 ร้าน รวมไปถึงการสังเกตยอดขายร้านประเภทเดียวกันในทำเลนั้นๆ เพื่อที่นำมาวิเคราะห์ถึงโอกาสและอุปสรรค หากเราจะเข้ามาแข่งขันในทำเลนี้

3.ตั้งชื่อร้านให้สะดุดหู

ชื่อของร้านอาหารเปรียบได้กับประตูบานแรกที่ลูกค้าจะรู้จักกับเรา ฉะนั้นให้เวลากับการตั้งชื่อสักนิด เพราะนอกจากจะเป็นตัวบอกว่าร้านเราอยู่ตรงไหนของตลาดแล้ว ยังเป็นจุดเริ่มต้นของการทำแบรนด์ดิ้งด้วย

เทคนิคการตั้งชื่อร้านอาหารมีอยู่หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการเอาชื่อตัวเองมาตั้ง หรือตั้งชื่อตามทำเลที่อยู่ เช่น ข้าวมันไก่ประตูน้ำโกอ่าง ที่ตั้งอยู่บริเวณประตูน้ำ ตั้งชื่อโดยอิงกับประเภทสินค้าที่เราขาย เช่น ร้านปังเว้ยเฮ้ย ที่เน้นขายขนมปัง

แต่ไม่ว่าจะตั้งชื่ออะไรก็ตาม  พยายามหลีกเลี่ยงชื่อร้านที่เรียกได้ยาก ไม่คุ้นหูคนไทย รวมไปถึงชื่อร้านที่คล้ายๆ กับคู่แข่ง เพราะอาจทำให้ลูกค้าสับสน ยิ่งชื่อที่ฟังแล้วติดหูจำง่ายแค่ไหน ก็มีโอกาสที่ลูกค้าจะจดจำเราได้ง่ายขึ้น เช่น ร้าน มานีมีหม้อ ที่เอาตัวละครในบทเรียนภาษาไทยสมัยเด็กมาตั้งเป็นชื่อร้าน นอกจากจะแตกต่างจากชื่อร้านชาบูในตลาดแล้ว ยังเตะหูและจดจำได้ง่ายด้วย

4.หาแหล่งเงินทุน

ไม่ว่าจะทำธุรกิจอาหารประเภทไหนหรือแม้กระทั่งขายทางออนไลน์ เงินทุนคือสิ่งจำเป็นเสมอ โดยแหล่งเงินทุนในการทำร้านอาจมาจากเงินของเราเอง เงินของครอบครัว หุ้นส่วน หรือธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อสำหรับธุรกิจ เแต่กรณีสุดท้ายจำเป็นต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน

การลงทุนทำร้านอาหาร คุณจะต้องวางแผนเงินลงทุนตั้งต้นช่วงก่อนเปิดร้าน (Pre-operating)ให้ครอบคลุม เช่น เงินมัดจำค่าเช่าสถานที่ ค่าตกแต่ง ค่าอุปกรณ์ครัว ค่าวัตถุดิบในตอนต้น ค่าโฆษณาตามช่องทางต่างๆ ฯลฯ แต่ไม่ว่าคุณจะคิดคำนวนเป็นอย่างดีแค่ไหน ก็ต้องเผื่องบประมาณฉุกเฉินไว้อีก 10% เพราะมักมีค่าใช้จ่ายนอกเหนือแผนเสมอ เช่น ค่าทำกราฟฟิก ค่าก่อสร้างเพิ่มเติม แม้กระทั่งค่าขออนุญาตต่างๆ

นอกจากนี้ยังต้องกันเงินลงทุนสำรองไว้สำหรับช่วงเปิดร้าน 3 เดือนแรก อย่างน้อยก็ต้องให้เพียงพอกับค่าเช่า เพราะเราตอบไม่ได้เลยว่า ช่วงแรกที่เปิดร้านจะมีลูกค้ามากน้อยแค่ไหน การวางแผนเงินทุนสำรองจะช่วยให้ร้านผ่านช่วงที่ยากลำบากนี้ไปได้

5.จัดทำแผนธุรกิจให้ครอบคลุม

ธุรกิจร้านอาหารถือเป็นธุรกิจนึงที่มีอัตราความเสี่ยงต่อการเจ๊งสูงมาก ทุกคนที่เข้ามาในธุรกิจนี้ล้วนมี passion ที่แรงกล้าโดยมั่นใจว่าถ้า ทำเลดี ร้านสวย อาหารอร่อยยังไงก็ขายได้ แต่สิ่งที่พบเกือบทั้งหมดคือ ไม่มีการทำแผนธุรกิจ (Business plan) ก่อนหรือแม้แต่ขณะทำร้าน และหลายครั้งมักลงเอยด้วยการขาดทุนเพราะขาดกระแสเงินสด ขายได้แต่ไม่มีกำไรเพราะขาดการบริหารจัดการต้นทุน ฯลฯ

ไม่ว่าคุณจะเริ่มธุรกิจด้วยเงินหลักหมื่น แสน หรือหลักล้าน การทำแผนธุรกิจ (Business plan) และการศึกษาความเป็นไปได้ในลงทุน (Feasibility study) จะทำให้เงินทุกบาททุกสตางค์ที่เสียไปเกิดประโยชน์สูงสุด อ่านต่อ เทคนิคการทำแผนธุรกิจร้านอาหาร

การทำธุรกิจโดยขาดการวางแผน เหมือนกับคุณกำลังเดินไปหาเป้าหมายโดยขาดเข็มทิศนำทาง เจ้าของธุรกิจมักลืมไปว่า การที่ร้านอาหารจะเป็นที่รู้จัก ขายได้ และสำคัญที่สุดคือมีกำไร นอกเหนือจากแค่อาหารอร่อย แต่งร้านสวย ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการตลาด คู่แข่ง ต้นทุนวัตถุดิบ และการลงทุน ฯลฯ

การเขียนรายละเอียดทุกอย่างและแบ่งแยกหมวดหมู่จะทำให้คุณเห็นภาพรวมธุรกิจชัดเจนขึ้น คุณอาจจะเห็นปัญหาหรืออุปสรรคบางอย่างที่คุณไม่เคยคิดมาก่อน เช่น ต้นทุนการดำเนินการและโครงสร้างรายได้พนักงานที่สูง การขออนุญาตทางราชการและภาษีต่างๆ ที่อาจกระทบต่อการเปิดร้าน ซึ่งการที่คุณเจอปัญหาตั้งแต่ในกระดาษย่อมดีกว่ารอให้ปัญหาเกิดตอนที่เริ่มทำร้านอาหารไปแล้ว เพราะนั่นหมายถึงค่าใช้จ่ายที่จะตามมาในภายหลัง

6.ออกแบบตกแต่งให้มีเอกลักษณ์

ในยุคที่โซเซียลมีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆ อาหารอร่อยหรือบริการดีเป็นเลิศ อาจไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว การตกแต่งร้านที่แตกต่างและมีเอกลักษณ์ย่อมสร้างโอกาสในการแข่งขัน ทำให้ลูกค้าประทับใจและแชร์ประสบการณ์เหล่านั้นลง social media ทำให้ร้านเป็นที่รู้จักในเวลาอันรวดเร็ว ทั้งนี้หนทางที่ดีที่สุดในการสร้างร้านให้เป็นไปตามที่เราวาดฝันไว้ คือการมอบความรับผิดชอบนี้ให้สถาปนิกหรือดีไซเนอร์ เพื่อที่คุณใช้เวลาที่เหลือไปโฟกัสกับการวางแผนด้านอื่นๆ โดยคุณอาจกำหนดงบประมาณการตกแต่ง  รวมถึงธีมร้านส่งให้สถาปนิกออกแบบต่อไป ซึ่งปัจจุบันมี เว็ปไซต์ที่สามารถหา แรงบันดาลใจสำหรับออกแบบร้านอาหาร เป็นจำนวนมาก

ร้านที่ตกแต่งดีมีเอกลักษณ์ย่อมมีโอกาสเพิ่มราคาอาหารของคุณได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านอื่นๆ ด้วยทั้ง งบประมาณการตกแต่ง ฐานลูกค้า ทำเลที่ตั้ง บางครั้งการตกแต่งที่ดูหรูหราเกินไป อาจทำให้ลูกค้าไม่กล้าเข้ามาใช้บริการเพราะคิดว่ามีราคาแพงจนเกินไปก็เป็นได้

7.จัดทำเมนูให้โดดเด่น

การจัดทำเมนูถือเป็นหนึ่งในงานยากที่สุดงานหนึ่ง เพราะเมนูเป็นมากกว่าแค่รายการอาหารที่แสดงราคา แต่คือตัวแทน คือสิ่งที่บอกตัวตนร้าน คือเหตุผลหลักที่ลูกค้าอุตส่าห์เดินทางมา เพื่อลิ้มลองอาหารที่คุณตั้งใจนำเสนอ

อาหารที่คุณปรุง นอกจากรสชาติจะต้องถูกปากลูกค้าแล้ว อีกสิ่งที่ลืมไม่ได้คือ ต้องตกแต่งจานให้ดูสวยน่ากิน เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าถ่ายรูปและแชร์ ที่สำคัญอาหารจานนั้นต้องสร้างรายได้ให้ร้านอาหารได้ด้วย (หลายๆ ครั้งพบว่า บางเมนูยิ่งขายดี ยิ่งขาดทุน เพราะเจ้าของร้านขาดการวางแผนต้นทุนวัตถุดิบ)

การจัดทำ Soft opening ก่อนเปิดร้านจริง เป็นโอกาสดีที่เราจะได้ทดลองระบบต่างๆ รวมทั้งเมนูอาหารว่าเป็นไปตามที่วางแผนไว้หรือไม่ ทั้งในเรื่องของรสชาติ การจัดการ ต้นทุน ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม ต่อให้เปิดร้านไปแล้ว คุณก็ควรอัพเดตข้อมูลวัตถุดิบอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าต้นทุนวัตถุดิบยังอยู่ในเกณฑ์ที่ตั้งไว้ รวมทั้งต้องคอยสังเกต Feedback จากลูกค้าว่ารู้สึกอย่างไรกับรสชาติอาหาร อ่านต่อ เทคนิคการออกแบบจัดวางเมนูให้เปรี้ยง

8.เฟ้นหาทีมงานที่มีคุณภาพ

ต้องยอมรับว่า เมื่อคุณก้าวเข้าสู่ธุรกิจนี้ คุณไม่ได้อยู่ในธุรกิจอาหารเพียงอย่างเดียว แต่คุณกำลังอยู่ในธุรกิจเกี่ยวกับ “คน” ด้วย มื้ออาหารที่ดีสำหรับลูกค้า เกิดจากการปรุงอาหารที่ดีของพ่อครัว รวมไปถึงการบริการที่ดีจากพนักงานเสิร์ฟ พนักงานเปรียบเหมือนตัวแทนเจ้าของร้าน พวกเขาคือคนสำคัญที่จะสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ทำให้ร้านคุณแตกต่างจากคู่แข่งและช่วยให้ธุรกิจของคุณมีกำไร

เจ้าของร้านไม่สามารถทำทุกอย่างได้ด้วยตัวเอง หน้าที่ของเจ้าของร้านหลักคือ วางแผน (Planning) ควบคุม(Controlling) และติดตาม(Monitoring) การมีทีมงานดี ก็เหมือนกับเรือที่มีคุณภาพสูง หางเสือก็ไม่ต้องทำงานหนัก และทำให้เราไปถึงเป้าหมายได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ การเฟ้นหาทีมงานที่เหมาะกับร้านไม่ใช่เรื่องง่าย

จากประสบการณ์ที่ทำร้านอาหารมาหลายสาขาพบว่า คุณสมบัติของพนักงานที่จำเป็นที่สุด ไม่ใช่คนที่มีประสบการณ์สูง หรือมีการศึกษาดี เพราะฝีมือความรู้เป็นสิ่งที่สอนได้ แต่ทัศนคติเป็นสิ่งที่สอนกันไม่ได้ แถมยังเปลี่ยนได้ยาก คนที่มีทัศนคติดีเวลาเจอปัญหา (ซึ่งเป็นสิ่งที่ร้านอาหารต้องเจอตลอดเวลา) จะไม่มองว่าเป็นปัญหาหรืออุปสรรค แต่จะมองเป็นความท้าทายที่จะต้องข้ามผ่านไปให้ได้

9.วางแผนการตลาดให้โดน

หลังจากวางแผนจัดการทุกอย่างเป็นอย่างดีแล้ว ก็ถึงเวลาทำให้ร้านเราเป็นที่รู้จักในวงกว้าง คนทำร้านอาหารส่วนใหญ่มักเริ่มทำการตลาดหลังจากเปิดร้านไปแล้ว ทั้งที่ความจริง คุณสามารถทำการตลาดได้ตั้งแต่วันแรกที่คุณได้ชื่อร้านด้วยซ้ำ

ถ้าคุณเริ่มทำการตลาดตอนที่เปิดร้านแล้ว อย่าลืมว่าวันนั้นคุณจะเริ่มมีค่าใช้จ่าย ทั้งค่าเช่า ค่าพนักงาน ค่าวัตถุดิบอาหาร หากร้านคุณขายได้ก็ถือว่าโชคดีไป แต่ถ้าวันนั้นลูกค้ายังไม่รู้จัก นั่นหมายถึงร้านคุณกำลังเสี่ยงต่อการขาดทุนทันที

ทุกวันนี้มีเว็ปไซต์หรืองานสัมมนาต่างๆ ที่สอนเทคนิคการทำการตลาดทั้งออฟไลน์และออนไลน์ค่อนข้างมาก คงไม่ยากสำหรับเจ้าของร้านอาหารที่จะเริ่มเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับเริ่มธุรกิจร้าน แต่สิ่งที่สำคัญกว่าเทคนิคต่างคือ เนื้อหา (Content) ที่เราต้องการสื่อสารไปยังลูกค้า รวมไปถึง ประสบการณ์ (Experience) ที่ลูกค้าได้รับทั้งก่อนและหลังเข้ามาใช้บริการ

การทำโปรโมชั่นเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยดึงดูดลูกค้ามาที่ร้าน ซึ่งมี เทคนิคการทำโปรโมชั่นที่น่าสนใจมากมาย แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ ลูกค้ากลุ่มหนึ่งอาจเข้ามาลองร้านอาหารคุณเพราะโปรโมชั่นราคา และจะหายไปหากวันนึงคุณเลิกทำโปรโมชั่น

สิ่งที่ดีที่สุดในการทำการตลาดคือ การมัดลูกค้าของคุณให้อยู่หมัด การตลาดและการโฆษณาอาจช่วยดึงลูกค้ามาร้านคุณเป็นครั้งแรก แต่ประสบการณ์ที่เขาได้รับกลับไป จะทำให้เขากลับมาเป็นลูกค้าประจำ (Repeat customer) และบอกต่อ (Word of mouth) ในที่สุด

ได้รู้ขั้นตอนการเปิดร้านอาหารแล้ว รออะไรล่ะครับ ลงมือเปิดร้านอาหาร ทำตามความฝันของคุณเลย!

 

รู้ทุกเรื่องที่คุณไม่เคยรู้ เพื่อให้ร้านของคุณเติบโตได้มากกว่าที่คิดกับหลักสูตรที่เข้มข้นที่สุดในรอบปี Operation Setup วางระบบร้านอาหารอย่างมืออาชีพ รุ่นที่ 4  ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากวิทยากร  ที่การันตีความสำเร็จ จากประสบการณ์การบริหารธุกิจร้านอาหาร ทั้งในและต่างประเทศ กับ Blue Elephant International, YUM Brand LSG Sky Chef , Minor Food และ Wow Thai Food Holding ประเทศเนเธอร์แลนด์ คุณธามม์ ประวัติตรี   วันอังคารที่ 29 และวันพุธที่ 30 ตุลาคม 2562 เวลา 09.00 -17.00 น.

สมัครเลยถ้าคุณไม่อยากพลาดหลักสูตรที่จะช่วยแก้ทุกปัญหาให้กับคุณ  คลิก

เรื่องแนะนำ

เปิดเพลงในร้านอาหาร

5 วิธี เปิดเพลงในร้านอาหาร ไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์

ก่อนหน้านี้เรามักจะได้ยินข่าวอยู่บ่อยๆว่า ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ที่เปิดเพลงต่างๆ ภายในร้านของตัวเอง ถูกดำเนินคดีในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์งานเพลง หรือแม้แต่ข่าวตัวศิลปินเอง ที่นำเพลงมาร้องก็ถูกดำเนินคดีเช่นกัน ต้องบอกเลยว่าในยุคปัจจุบันนี้ ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์เพลงเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง เพราะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อน และมีรายละเอียดมาก ซึ่งเจ้าของร้านบางราย หรือตัวศิลปินที่นำเพลงมาร้องตามร้านนั้น อาจจะยังไม่เข้าใจถึงข้อกฎหมายในเรื่องลิขสิทธิ์เพลงที่ชัดเจนมากพอ วันนี้ Amarin Academy จะมาอธิบายให้ทราบว่า จะมีวิธี เปิดเพลงในร้านอาหาร อย่างไรไม่ให้ผิดกฎหมาย และหากถูกกล่าวหาว่าละเมิดลิขสิทธิ์งานเพลง ต้องทำอย่างไร มาดูกันค่ะ   5 วิธี เปิดเพลงในร้านอาหาร ไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์ ตรวจสอบรายชื่อเพลงที่จะใช้เปิด ว่ามีบริษัทใดจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์บ้าง ตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์กรมทรัพย์สินทางปัญญา www.ipthailand.go.th เลือกใช้เพลงที่ศิลปินหรือค่ายเพลง ประกาศอนุญาตให้ใช้ได้โดยไม่เสียค่าลิขสิทธิ์ จำกัดการใช้งานเพลงเพื่อลดต้นทุนค่าลิขสิทธิ์ และลดปัญหาการถูกดำเนินคดี ตรวจสอบความเคลื่อนไหวของรายชื่อเพลงที่แจ้งจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ในเว็บไซต์กรมทรัพย์สินทางปัญญาอย่างต่อเนื่อง หากเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์เพลง และต้องการจ่ายค่ายอมความจะต้องกระทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจ และระบุรายชื่อเพลง และจำนวนเงินที่ยอมความในบันทึกยอมความไว้เป็นหลักฐานเสมอ   สำหรับทั้ง 5 คำแนะนำข้างต้น เจ้าของร้านที่จะ เปิดเพลงในร้านอาหาร ควรจะต้องรีบตรวจสอบเลยค่ะ ว่างานเพลงที่ใช้เปิดอยู่นั้นมีเจ้าของลิขสิทธิ์หรือไม่ และดำเนินการเจรจาค่าลิขสิทธิ์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ตัวเจ้าร้านเองก็จะได้สบายใจ ไม่ต้องกังวลว่าจะถูกดำเนินคดีค่ะ แต่ถ้าหากพูดถึงอีกหนึ่งกรณี […]

ขายอาหารคลีน

รู้ก่อนขาย! 4 จุดบอด ขายอาหารคลีน แบบนี้มีแต่เจ๊ง!

ในปัจจุบันนี้จะสังเกตได้ว่า เป็นยุคที่คนหันมาใส่ใจในสุขภาพของตัวเองมากขึ้น มีกิจกรรมรณรงค์เรื่องสุขภาพออกมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย หรือแม้แต่การบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ เพราะเรื่องอาหารการกินก็เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้สุขภาพร่างกายดีขึ้น จึงเป็นผลทำให้ทุกวันนี้เราจะเห็นร้านอาหารคลีนใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมายอย่างต่อเนื่อง เราจะเห็นโฆษณาบ่อย ตามช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instargram และช่องทางออนไลน์อื่นๆ เมื่อมีกระแสคนรักสุขภาพมากขึ้น ก็เป็นการเพิ่มช่องทางทำเงินจากธุรกิจอาหารคลีนได้มากขึ้นเช่นกัน แต่การจะ ขายอาหารคลีน ให้รุ่งนั้น ต้องรู้ว่าอะไรควรทำ และอะไรที่เป็นจุดบอดควรหลีกเลี่ยง   ขายอาหารคลีน ควรเลี่ยง 4 จุดบอดนี้!! อาหารคลีน  (Clean Food) คือ อาหารที่ใช้วัตถุดิบสดใหม่ในการปรุงอาหาร ขั้นตอนในการปรุงจะไม่ใช้สารเคมีปรุงแต่งอาหาร หรือผ่านการแปรรูปให้น้อยที่สุด และไม่ผ่านกระบวนการปรุงแต่งรสชาติที่มากเกินไป แต่ยังคงไว้ซึ่งสารอาหารและคุณค่าครบถ้วน รวมถึงมีการคำนวณพลังงานที่ร่างกายจะได้รับในแต่ละมื้ออาหารนั้นไว้ด้วย ดังนั้น อาหารคลีนจึงเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพนั่นเองค่ะ และถึงแม้ว่ากระแสอาหารคลีนยังคงอยู่ และมีผู้ประกอบการที่อยาก ขายอาหารคลีน เกิดขึ้นมากมาย แต่ก็ใช่ว่าทุกร้านจะอยู่รอดนะคะ ขายอาหารคลีน ยังต้องมีองค์ประกอบอีกหลายอย่างที่ต้องรู้ รวมถึง จุดบอดที่ควรเลี่ยงอย่างที่เราได้กล่าวไป ซึ่ง4 จุดบอดนั้นคือ จุดบอดที่ 1 รสชาติไม่อร่อย แน่นอนว่าใครๆ ก็อยากจะบริโภคอาหารที่อร่อยจริงไหมคะ แม้ว่าจะเป็นอาหารคลีนก็ตาม […]

เทรนด์โลก

5 เทรนด์โลก กับเรื่องที่ผู้ประกอบการ (ธุรกิจผลิตอาหาร) ต้องปรับตัวให้ทัน

เรื่องของอาหารการกินเป็นสิ่งที่หลายคนให้ความใส่ใจและพิถีพิถันในการเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตัวเอง ถึงขนาดมีคำพูดติดปากที่ว่า “เรื่องกินเรื่องใหญ่”

Instagram

แชร์ 10 เทคนิค ใช้ Instagram ให้ปัง เพื่อคนทำธุรกิจอาหาร

Social Media กลายเป็นเครื่องมือที่ผู้ประกอบการร้านอาหาร หรือ ผู้ที่ทำธุรกิจอาหารในปัจจุบันขาดไม่ได้เลย ซึ่ง Social Media ที่ใช้ทำการตลาดนั้นมีมากมายหลายประเภท และที่ร้านนิยมใช้มากหนึ่งในนั้นก็คือ IG หรือ Instagram นั้นเอง   10 เทคนิค ใช้ Instagram ให้ปัง เพื่อคนทำธุรกิจอาหาร Instagram หรือ IG แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่เน้นการแชร์รูปภาพและวิดีโอเป็นหลัก ร้านอาหารส่วนใหญ่จึงใช้ช่องทางนี้สำหรับประชาสัมพันธ์ร้าน ด้วยการแชร์ภาพ หรือวิดีโอ ที่เห็นบรรยากาศร้าน และเมนูเด็ดของร้านให้ดูน่ารับประทาน และน่ารีวิว แต่บางครั้งเจ้าของร้านอาจจะรู้ฟังก์ชันการใช้งานInstagram แค่บางฟังก์ชันเท่านั้น แต่ความจริงแล้วยังมีลูกเล่นที่เจ้าของร้านสามารถนำไปใช้ได้อีกมากมาย เรามาดูกันว่ามีเทคนิคอะไรกันบ้าง ที่สามารถช่วยให้ร้านของคุณโดดเด่น และดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาติดตามได้   1.ชื่อโปรไฟล์ การตั้งชื่อโปรไฟล์ เหมือนง่ายแต่การตั้งชื่อโปรไฟล์ที่ดี คือ ชื่อจะต้องสะดุดหู หรือเป็นที่จดจำได้ง่าย กระชับ และสามารถสะท้อนอัตลักษณ์ร้านของคุณได้ดีที่สุด 2. รูปโปรไฟล์ ส่วนของรูปโปรไฟล์นั้น ก็สำคัญไม่น้อยไปกว่าชื่อ เพราะเป็นสิ่งที่ผู้เข้ามาติดตามจะเห็นเป็นอันดับแรกๆ ดังนั้น รูปโปรไลฟ์แนะนำให้ใช้รูปโลโก้ของร้าน ก็เป็นตัวเลือกที่ดี หลีกเลี่ยงภาพเซลฟี่ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.