MOU ปล่อยเงินกู้ให้ แฟรนไชส์ ใช้กิจการเป็นหลักประกันค้ำธุรกิจ - Amarin Academy

MOU ปล่อยเงินกู้ให้ แฟรนไชส์ ใช้กิจการเป็นหลักประกันค้ำธุรกิจ

MOU ปล่อยเงินกู้ให้ แฟรนไชส์ ใช้กิจการเป็นหลักประกันค้ำธุรกิจ

กระทรวงพาณิชย์ ลงนาม MOU ร่วมกับ SME Development Bank และธุรกิจแฟรนไชส์ปล่อยสินเชื่ออัดฉีดเงินลงทุนให้แฟรนไชส์ซอร์ขยายธุรกิจ และผลักดันคนรุ่นใหม่ Start Up เป็นผู้ประกอบการแฟรนไชส์ซีจับจ่ายซื้อธุรกิจได้อย่างมั่นใจ พร้อมคัดมาให้แล้วทั้งธุรกิจการศึกษา ค้าปลีก บริการ อาหารและเครื่องดื่ม รวม 12 ธุรกิจ อีกทั้งเปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของประเทศใช้ ‘กิจการค้ำเป็นหลักประกัน’ ตอบโจทย์ SMEs เข้าถึงเงินทุนได้ง่ายๆ ตามนโยบายยกระดับ Local Economy ในชุมชนต่างจังหวัด

เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2560 นางสาวบรรจงจิตต์ อังศุสิงห์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ และ นายมงคล  ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว. หรือ SME Development Bank) ร่วมเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือภายใต้ “โครงการสินเชื่อสนับสนุนธุรกิจท่องเที่ยวและผู้ประกอบการท่องเที่ยวชุมชน” ระหว่าง 3 หน่วยงาน ได้แก่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ธพว. และธุรกิจแฟรนไชส์ โดยมีวัตถุประสงค์หลักที่จะร่วมมือกันพัฒนาศักยภาพ SMEs ไทย ใน ‘ธุรกิจแฟรนไชส์’ ให้เข้าถึงเงินทุนเพื่อใช้หมุนเวียนในกิจการไม่ว่าจะเป็นการต่อยอดธุรกิจ การพัฒนาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมตลอดจนการส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์

การดำเนินงานภายใต้โครงการดังกล่าวในช่วงที่ผ่านมา ได้จัดตั้งคณะทำงานร่วมกันคัดเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่อยู่ในการส่งเสริมและพัฒนาของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อเป็นธุรกิจนำร่องสำหรับปล่อยสินเชื่อให้กับผู้สนใจลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchisee) โดยจะต้องเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchisor) ที่มีค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์และการลงทุนไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท และมีคุณสมบัติต่างๆ ตรงตามที่ SME Development Bank กำหนด โดยได้คัดเลือกแฟรนไชส์นำร่อง จำนวน 12 ราย แบ่งเป็น 4 ประเภทคือ

ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม 7 ธุรกิจได้แก่ N&B Pancake/ กาแฟดอยช้าง/ FUJIYAMA GOGO/ Billion Coffee/ ยูนนาน/แซ่บ Classic by ส.ขอนแก่น/ โชคดีติ่มซำ และ Hokkaido Milk

ธุรกิจบริการ 3 ธุรกิจ ได้แก่ OTTERI Wash & Dry/ โมลีแคร์ และ PD House

ธุรกิจการศึกษา 1 ธุรกิจได้แก่ โรงเรียนกวดวิชาและภาษาบ้านวิชากร

ธุรกิจค้าปลีก 1 ธุรกิจ ได้แก่ Teddy House

“ธุรกิจแฟรนไชส์ในข้างต้นได้ผ่านการพิจารณาแล้วว่าเป็นธุรกิจที่มีแผนธุรกิจชัดเจน และประสบผลสำเร็จในการดำเนินธุรกิจที่ผ่านมาเป็นอย่างดี ดังนั้นแฟรนไชส์ซีที่สนใจเลือกซื้อธุรกิจนี้จึงมั่นใจได้ว่าจะสามารถพาเงินทุนของท่านไปสู่ความสำเร็จได้ ลดความเสี่ยงในการลงทุนด้วยตนเอง และมีที่ปรึกษาช่วยวางแผนธุรกิจแบบมืออาชีพ และที่สำคัญจะได้รับการพิจารณาจากโครงการฯ ปล่อยสินเชื่อสำหรับนำมาลงทุนซื้อแฟรนไชส์ 12 ธุรกิจดังกล่าว โดยมีแผนการใช้ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ซื้อมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันซึ่งแฟรนไชส์

นับเป็นธุรกิจแรกที่จะใช้หลักประกันทางธุรกิจประเภทกิจการมาค้ำประกันสินเชื่อตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 นอกจากนี้ภายหลังการได้รับสินเชื่อแล้วกรมฯ และ SME Development Bank จะมีการประเมินติดตามการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และเป็นพี่เลี้ยงธุรกิจคอยให้คำปรึกษาทั้งด้านการเงิน การบัญชี และการขยายกิจการพร้อมเชื่อมโยงเครือข่ายให้เกิดความเข้มแข็งแก่ธุรกิจต่อไปและหลังจากนี้จะพิจารณาแฟรนไชส์ขนาดเล็ก เพื่อให้ผู้สนใจในระดับท้องถิ่นที่ต้องการมีอาชีพเป็นของตนเอง สามารถลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ได้อย่างมั่นใจและง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นการดันเศรษฐกิจฐานรากให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของไทยให้เติบโตแบบก้าวกระโดดด้วยโมเดลธุรกิจแฟรนไชส์” อธิบดี กล่าวทิ้งท้าย

นายมงคล ลีลาธรรม กล่าวว่า ธนาคารได้ออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อยกระดับผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ ภายใต้โครงการ “สินเชื่อเพื่อสนับสนุนธุรกิจท่องเที่ยวและผู้ประกอบการท่องเที่ยวชุมชน” วงเงิน 7,500 ล้านบาท  เพื่อสร้างโอกาสให้คนรุ่นใหม่ หรือกลุ่ม Start Up ที่ต้องการทำธุรกิจแฟรนไชส์ สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนนำไปเริ่มต้นธุรกิจในชุมชนแหล่งท่องเที่ยว หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (CIV) หรือภูมิลำเนา กระตุ้นให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ตามนโยบาย Local  Economy ของรัฐบาล

สำหรับสินเชื่อเพื่อสนับสนุนธุรกิจท่องเที่ยวและผู้ประกอบการท่องเที่ยวชุมชน ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา วงเงินสินเชื่อต่อรายไม่เกิน 2 ล้านบาท กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) วงเงินต่อรายไม่เกิน 5 ล้านบาท นิติบุคคลสูงสุดต่อรายไม่เกิน 15 ล้านบาท โดยวงเงิน 5 ล้านบาทแรกไม่ต้องใช้หลักประกันสามารถใช้ บสย. ค้ำประกัน ซึ่งจะได้รับการชดเชยค่าธรรมเนียม บสย. ใน 4  ปีแรก ระยะเวลาการกู้ยืมรวม 7 ปี กรณีใช้หลักประกันตามเกณฑ์ธนาคาร คิดอัตราดอกเบี้ย   ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ MLR – 1.5 ต่อปี  ปีที่ 2 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ยร้อยละ MLR – 1.0 ต่อปี กรณีใช้หลักประกัน บสย. คิดอัตราดอกเบี้ย MLR ต่อปี ลูกค้าจะได้รับการช่วยเหลือค่าธรรมเนียม บสย. ฟรี 4 ปี ปีละ 1.75% รวม 7% โดยรัฐบาลช่วยเหลือ 4% และอีก 3% เป็นการช่วยเหลือจากธนาคาร ทั้งนี้ ต้องเป็นผู้ประกอบการที่ชำระหนี้ปกติตามเกณฑ์ของธนาคาร

ข้อมูล ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2560 มีธุรกิจเอสเอ็มอียื่นคำขอจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจรวม 154,622 คำขอ มูลค่าทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกัน 2,986,331 ล้านบาท โดยสิทธิเรียกร้องประเภทบัญชีเงินฝากธนาคารเป็นทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกันมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 60.39 (มูลค่า 1,802,725 ล้านบาท) รองลงมาคือ สังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ เช่น สินค้าคงคลัง วัตถุดิบ เครื่องจักร รถยนต์ เรือ คิดเป็นร้อยละ 19.35 (มูลค่า 577,508 ล้านบาท) และสิทธิเรียกร้องประเภทอื่นๆ เช่น ลูกหนี้การค้า สัญญาจ้าง สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่าซื้อ คิดเป็นร้อยละ 20.24 (มูลค่า 604,123 ล้านบาท) ทรัพย์สินทางปัญญา คิดเป็นร้อยละ 0.07 (มูลค่า 1,975 ล้านบาท) ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าหลักทรัพย์ที่เป็นกิจการยังไม่เคยมีการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจเลย ดังนั้น หาก SME Development Bank ได้ดำเนินการปล่อยสินเชื่อให้แก่ธุรกิจแฟรนไชส์โดยใช้กิจการเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน ธุรกิจ  แฟรนไชส์จะเป็นธุรกิจแรกที่ใช้หลักประกันทางธุรกิจประเภทกิจการมาค้ำประกันสินเชื่อ

ที่มา: กองส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

เรื่องแนะนำ

Food Trend เทรนด์อาหารมาแรง 2018

เมื่อเทรนด์อาหาร ก็เหมือนเทรนด์แฟชั่น ที่ถูกเปลี่ยนไปตามกระแสไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค ลองมาดู เทรนด์อาหารมาแรง ปี 2018 กันดีกว่าครับว่ามีอะไรบ้าง

ขยะพลาสติก

ส่องแบรนด์ใหญ่ เดินหน้าลด ขยะพลาสติก แบบใช้แล้วทิ้ง Single-use plastics

วิกฤตปัญหาขยะพลาสติกล้นโลก กำลังส่งผลร้ายอย่างมากมายกับโลกของเรา เห็นได้จากข่าวต่างๆที่ผ่านมา เปิดปัญหากับสัตว์ต่างๆ และธรรมชาติอย่างร้ายแรง ทำให้ที่ผ่านมาหลายหน่วยงาน หลายองค์กรทั่วโลก เริ่มหันมาให้ความสำคัญ และตื่นตัวกับปัญหานี้มากขึ้น รวมถึงแบรนด์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอาหารทั่วโลก ซึ่งเป็นธุรกิจที่นับว่ามีปริมาณการใช้ ขยะพลาสติก แบบใช้แล้วทิ้ง (Single-use plastics) เป็นจำนวนมาก ก็เริ่มรณรงค์และหาทางออกในเรื่องนี้  เรามาดูกันว่ามีแบรนด์ใดบ้าง   แบรนด์ใหญ่ เดินหน้าลด ขยะพลาสติก แบบใช้แล้วทิ้ง Starbucks แบรนด์ยักษ์ใหญ่อย่าง Starbucks ก็เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่ประกาศเลิกใช้หลอดพลาสติกใช้แล้วแบบ Single Use ในทุกสาขาทั่วโลกภายในปี 2563 ในทุกสาขาทั่วโลกภายในปี 2563 ของ Starbucks เพื่อให้แบรนด์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นอกจากใช้หลอดที่ทำจากวัสดุดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างกระดาษ หรือพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทดแทนแล้ว ในปัจจุบัน Starbucks ยังออกแบบฝาปิดแก้วสำหรับเครื่องดื่มเย็นบางชนิดให้สามารถยกดื่มได้ง่ายแบบไม่ต้องใช้หลอด โดยเริ่มใช้ในหลายๆ สาขาทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยด้วย ซึ่งหากสามารถทำตามแผนที่วางไว้ได้สำเร็จ Starbucks จะสามารถกำจัดหลอดพลาสติกไปได้กว่า 1,000 ล้านชิ้น/ปี เลยทีเดียว *ข้อมูลจาก Ocean Conservancy องค์กรไม่แสวงหากำไรที่ดูแลปกป้องมหาสมุทรพบว่า ตลอด 30 […]

DBD OMG2

เริ่มแล้ว! พาณิชย์รุกหนักต่อเนื่อง สร้างความแข็งแกร่งเศรษฐกิจ ผนึกกำลังกูรูอีคอมเมิร์ซ เปิดหลักสูตรปั้นร้านค้าออนไลน์ขั้นเทพ รุ่นที่ 2

เริ่มแล้ว! พาณิชย์รุกหนักต่อเนื่อง สร้างความแข็งแกร่งเศรษฐกิจ ผนึกกำลังกูรูอีคอมเมิร์ซ เปิดหลักสูตรปั้นร้านค้าออนไลน์ขั้นเทพ รุ่นที่ 2 (Online Marketing Genius : OMG#2) 21 ก.พ. 2565 อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ท่านทศพล ทังสุบุตร เป็นประธาน พร้อมด้วยพาณิชย์จังหวัด วิทยากร และผู้ประกอบการ เปิดการสัมมนา หลักสูตรปั้นร้านค้าออนไลน์ขั้นเทพ รุ่นที่ 2 (Online Marketing Genius : OMG#2) “อัพสกิลการตลาดออนไลน์ สร้างยอดขายทะลุล้าน” โดยการสัมมนาจะจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เดือนเมษายน พ.ศ 2565 พุ่งเป้าไปยังผู้ประกอบการฐานรากหรือผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่มีร้านค้าออนไลน์เข้าร่วมโครงการให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยแบ่งตามยุทธศาสตร์การค้ากลุ่มจังหวัด 18 กลุ่ม ของกระทรวงพาณิชย์ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ประกอบการเข้าร่วมกว่า 3,000 ราย หลักสูตรดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการทั้งแบบธุรกิจดั้งเดิมและรูปแบบออนไลน์ ให้สามารถปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของโลกดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นการเสริมสร้างทักษะด้านการตลาดออนไลน์ (Digital Marketing) และการทำแผนธุรกิจออนไลน์ (Online Business Plan) พร้อมฝึกปฏิบัติ […]

สำรวจตัวเอง ก่อนเข้าใจ Digital Marketing ผิด

การทำธุรกิจในยุคปัจจุบันนี้เปลี่ยนไปมาก โดยเฉพาะการทำการตลาดที่คนส่วนใหญ่หันมาทำการตลาดออนไลน์กันมากขึ้น จนมีหลายคนเริ่มสงสัยว่า Digital Marketing มันเป็นเพียงแค่กระแสความนิยมชั่วคราวหรือเป็นแฟชั่นรึเปล่า?

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท เอเอ็มอี อิมเมจิเนทีฟ จำกัด
ในเครือ บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.