ทำอาหารต้องถอดเครื่องประดับ! มาตรฐานที่คนทำอาหารควรให้ความสำคัญ

เจ้าของร้านจิวเวลรี่แชร์ ทำอาหารต้องถอดเครื่องประดับ! แหล่งสะสมเชื้อโรค มาตรฐานที่คนทำอาหารควรให้ความสำคัญ

ถอดบทเรียน เจ้าของร้านจิวเวลรี่แชร์
ทำอาหารอย่าลืมถอดเครื่องประดับ!

เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคชั้นดี มาตรฐานความปลอดภัย
ที่คนทำอาหารควรให้ความสำคัญ

เวลาทำอาหารอย่าลืมถอดเครื่องประดับ!!! รู้หรือไม่ว่าเครื่องประดับที่เราใส่ ๆ กันอยู่ทุกวันเนี่ย เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคชั้นดีเลยนะ วันก่อนแอดได้เห็นโพสต์ที่เจ้าของร้านจิวเวลรีคนหนึ่งได้มาแชร์เป็นอุทาหรณ์ให้กับสมาชิกในกลุ่ม “เบเกอรี่พอเพียง” ถึงเรื่องการใส่เครื่องประดับทำขนมว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ โดยเฉพาะการใส่แหวน เพราะว่ามันสกปรกมาก อีกทั้งยังได้ส่งผลต่อภาพลักษณ์เรื่องความสะอาดของอาหารและร้านนั้น ๆ ด้วย


🔸แหล่งสะสมเชื้อโรค🤢
เจ้าของร้านจิวเวลรี่รายนี้ได้โพสต์ถึงประเด็นนี้ว่า

“ว่ากันด้วยเรื่องของการใส่แหวนในการทำเบเกอรี่ ในฐานะของเจ้าของร้านจิวเวลรี่ อยากจะบอกทุกคนว่าให้ถอดก่อนทำเถอะค่ะ เพราะแหวนที่เราเห็นว่าสวยวิบวับเนี่ย ด้านในท้องแหวนหรือตามซอกเตยที่เกาะเพชร มันสกปรกมากเลยนะคะ เวลาเห็นคนที่ไลฟ์สดหรืออาจารย์ที่สอนตามคอร์สออนไลน์ใส่แหวนทำแล้วนี่รู้สึกไม่ดีทุกครั้ง เพราะเจอเวลาลูกค้าส่งแหวนมาทำความสะอาด มันไม่โอเคจริงๆ ค่ะ แล้วถ้าแม่ค้าใส่แหวนด้วยความเคยชินไม่ได้ถอด นึกภาพกันออกมั้ยคะว่าเรากำลังกินเชื้อโรคและสิ่งสกปรกเข้าไปอยู่ แม้มันจะผ่านความร้อนแล้วก็ตาม”

พร้อมเสริมว่า “การทำความสะอาดแหวนทุกวันไม่ได้การันตีว่าแหวนเราจะสะอาดหมดจด เพราะตามซอกหลืบเล็กที่แปรงเข้าไม่ถึงยังมีเชื้อโรคที่สะสมอยู่ต้องทำความสะอาดด้วยเครื่องอัลตร้าโซนิค เครื่องใหญ่แบบที่ใช้ในโรงงานเท่านั้น ถึงจะสะอาดจริง ๆ ซึ่งเธอยังได้บอกอีกว่าการมาโพสต์ในครั้งนี้ไม่ได้มีเจตนาโจมตีใคร หากทำให้ท่านใดรู้สึกเห็นต่าง หรือไม่พอใจก็ขออภัย ณ ที่นี้ด้วย

🔸ความเห็นจากชาวเน็ต💬

เมื่อเรื่องนี้ออกไปก็ได้มีสมาชิกกลุ่มเบเกอรี่พอเพียงทั้งคนขายและลูกค้าต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องนี้ โดยส่วนใหญ่เห็นด้วยกับเจ้าของโพสต์ว่าการใส่เครื่องประดับทำอาหารเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ ซึ่งคนทำเบเกอรีหลายคนก็ได้บอกว่าตั้งแต่ทำขนมขายก็ไม่ได้ใส่เครื่องประดับเลย ด้วยเหตุผลต่าง ๆ เช่น ความถนัด ความสะอาด เป็นต้น

บ้างก็แชร์ถึงเรื่องความปลอดภัยในการทำอาหารว่า “จริงๆ แล้ว การทำอาหารไม่ว่าชนิดใด คนปรุงอาหาร 1.เล็บต้องสั้น 2.ห้ามใส่เครื่องประดับ เช่น แหวน,นาฬิกา,กำไร เป็นต้น 3.ห้ามทาเล็บ 4.หมวกคลุมผม 5.ใส่ผ้ากันเปื้อนที่สะอาด 6.ใส่รองท้าปิดส้น 7.ใส่เสื้อมิชิดมีแขน แต่ที่บังคับจริงๆใกล้สุดคือห้ามใส่แหวน,นาฬิกา,กำไร, อันนี้ด่านแรกค่ะ แต่ถ้าจะทำให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลจริง ยังมีอีกเยอะค่ะ โต๊ะที่ปรุงอาหารต้องสูงจากพื้น 70-90 ห้ามวางสิ่งของลงพื้น”

“ตอนสมัยเราเรียนคหกรรมศาสตร์ ก่อนจะลงมือปฏิบัติ อาจารย์ต้องสั่งให้ถอดแหวนทุกครั้งที่ลงมือทำอาหาร คาว หวาน เบเกอรี่ และเราจำมาถึงทุกวันนี้ ท่องในใจเสมอมือไม้ต้องสะอาด ผ้าที่เช็ดมือต้องสะอาด”


🔸ความคิดเห็นจากผู้บริโภค💬 เช่น

“ไม่ชอบเหมือนกันเวลาเห็นแม่ค้า ทาเล็บ ใส่แหวน ไว้เล็บยาว ปล่อยผมยาวสลวยเวลาทำ ส่วนผู้ชายอย่าใส่เสื้อกล้ามหรือถอดเสื้อทำเลยค่ะมันดูไม่เหมาะ ส่วนถุงมือขนมบางชนิดเข้าใจว่าใส่ถุงมือมันลำบาก และถ้าไม่ใส่คิดว่าแม่ค้าล้างมือง่ายกว่าเวลาหยิบจับอะไรไปแล้ว ถุงมือไม่ใส่แต่เล็บมือสั้นล้างก่อนทำ เรารับได้ค่ะ ส่วนตัวเคยอยู่ร้านของคนญี่ปุ่นมา คือ ระเบียบสะอาดมาก”

🔸เจ้าของร้านจิวเวลรี่คนอื่นๆ 💍

เจ้าของร้านจิวเวลรีร้านอื่น ๆ ก็ได้มาแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องนี้เช่นกัน “เอาประสบการณ์ตรงมาเล่าให้ฟัง ร้านเรารับซ่อมเครื่องประดับ มีลูกค้าประจำคนหนึ่งเอากำไลกับแหวนมาซ่อมและล้างกับทางร้าน กำไลกับแหวนจะมีคราบสกปรกที่คล้ายๆ แป้งกับสบู่เยอะมากๆ เราก็เฉยๆ นะซ่อมล้างทำความสะอาดไปตามปกติ พอหลังๆ สนิทกันลูกค้าเล่าให้ฟังว่าทำร้านอาหารขายราดหน้าหมูหมัก ชวนเราไปกินที่ร้านเล่าให้ฟังว่าทำเองทุกอย่างอร่อยแน่นอน เราเลยเข้าใจแล้วว่าทำไมเครื่องประดับที่เอามาซ่อมและล้างเกือบทุกชิ้นมันมีคราบสกปรกติดเยอะ เราถามเขาตรงๆ ว่าใส่กำไลและแหวนทำอาหารด้วยหรอคะ ลูกค้าบอกพี่ใส่ตลอดค่ะ นอนยังใส่เลย เราก็แนะนำไปว่ามันไม่ควรนะคะ ก็ไม่รู้ว่าเขาเชื่อหรือป่าว”

“เราก็ทำร้านจิวเวลรี่บอกเลยว่า สภาพที่ลูกค้าเอาแหวนมาให้ทำความสะอาดหรือซ่อม เต็มไปด้วยคราบสะสมต่างๆ เวลาแคะออกมาก็ยากมาก เวลาเขานวดแป้ง หยิบจับส่วนผสม บอกเลยว่า ปนเปื้อนไปแล้วเรียบร้อย” เป็นต้น

เพราะว่า “ความสะอาด” ถือเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานความปลอดภัยในการทำร้านอาหาร ที่มีผลต่อทั้งภาพลักษณ์ของร้านและความมั่นใจในการมาใช้บริการของผู้บริโภค ดังนั้นไม่ว่าจะขายสินค้าที่เป็นอาหาร ทั้งเบเกอรี เครื่องดื่ม หรือเปิดร้านอาหารเลย ก็ควรคำนึงถึงหัวใจหลักตรงนี้เป็นสำคัญด้วย

เรื่องแนะนำ

กรณีศึกษา แค่การสั่งเมนู อาจทำให้ลูกค้ารู้สึก “เสียหน้า” เพราะความเข้าใจไม่ตรงกันกับร้าน

กรณีศึกษา แค่การสั่งเมนู อาจทำให้ลูกค้ารู้สึก “เสียหน้า” เพราะความเข้าใจไม่ตรงกันกับร้าน แชร์ประสบการณ์โดยสมาชิกกลุ่ม “คนบ้ากาแฟ” พร้อมรวมคำแนะนำต่าง ๆ ที่น่าสนใจ แอดได้ไปเจอ Topic หนึ่งในกลุ่ม “คนบ้ากาแฟ” แล้วเห็นว่าน่าสนใจมาก ๆ นั่นก็คือเรื่อง ความเข้าใจของลูกค้า กับคนขายกาแฟ ที่บางครั้งอาจจะต่างกัน ทำให้เกิดความสับสนหรือเข้าใจผิด นำไปสู่การทำเครื่องดื่มที่ไม่ใช่แบบที่ลูกค้าสั่ง หรือไม่ตรงกับที่ลูกค้าอยากได้ แต่เจ้าของร้านจะสื่อสารอย่างไร ไม่ให้ลูกค้ารู้สึก “เสียหน้า” ล่ะ ? ซึ่งสำหรับปัญหาความเข้าใจของลูกค้ากับคนขายกาแฟที่บางครั้งอาจจะต่างกันนั้น ได้มีผู้ประกอบการร้านกาแฟท่านหนึ่งได้มาแสดงความคิดเห็นเชิงแนะนำได้อย่างน่าสนใจว่า “ความเข้าใจของลูกค้ากับคนขายกาแฟมักจะต่างกัน แต่หากลูกค้าเอื้อนเอ่ยออเดอร์ใด ที่เราคิดว่าชื่อไม่ถูก เราแค่ทวนออเดอร์และส่วนผสมก็พอ อย่าทำให้ลูกค้ารู้สึกเสียหน้า ลูกค้าบางท่านอาจจำชื่อมาแค่นั้น หรือไม่ได้เข้าร้านกาแฟบ่อยๆ และเขาไม่ต้องการให้เราสอนเขา 1.ถ้าลูกค้าสั่งเครื่องดื่มไม่หวาน เราแค่ทวนว่าไม่หวานเลยหรือใส่นิดหน่อย 2.ถ้าลูกค้าสั่งเอสเพรสโซ่ร้อนใส่น้ำเยอะ ๆ ถ้าเขาไม่ได้เรียกอเมริกาโน่ ก็ไม่เป็นไร ทำให้เขานะ มันเหมือนกัน 3.คาปูชิโน่ไม่ใส่ฟองนม ไม่ใส่ช็อคโกเลต ก็แค่ตอบว่า ค่ะ แล้วถามว่า “หวานปกติไหมคะ” ตอนวัยรุ่นเคยสั่งชาเขียวปั่นร้านหนึ่ง เขาบอกไม่มีค่ะ มีแต่ […]

ร้านอาหารเจ๊ง

9 เหตุผลสำคัญที่ทำให้ ร้านอาหารเจ๊ง !

รู้หรือไม่ 60 เปอร์เซ็นต์ของร้านอาหาร ปิดกิจการหรือเปลี่ยนเจ้าของภายใน 1 ปี เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น วันนี้เราจะมาดู 9 เหตุผลที่ทำให้ ร้านอาหารเจ๊ง กัน

ส่วนผสมของ SOP กับวิธีทำคู่มือ ง่ายๆ ใครๆ ก็ทำได้

ส่วนผสมของ SOP ที่ดี และวิธีทำคู่มือมาตรฐานสำหรับร้าน อย่างง่ายๆใครก็ทำได้! ตามสัญญาจากบทความที่แล้วที่ผมได้พูดถึง เจ้า SOP (Standard Operating Procedure) หรือ “คู่มือร้านอาหาร” ว่ามันมีความสำคัญอย่างไร และ อุปสรรคของเจ้าของร้านคืออะไร .. แล้วควรมีมุมมองยังไงเกี่ยวกับเรื่องนี้กันไปแล้ว  วันนี้ผมขอแนะนำเรื่อง ส่วนผสมที่ดีสำหรับ SOP ว่ามีอะไรบ้าง สำหรับคนที่สนใจทำเจ้าคู่มือนี้ จะได้มี “ตัวชี้วัด” ง่ายๆ ไว้ใช้เป็น Benchmark หรือตัวเปรียบเทียบกันนะครับ…ไปดูกันเลย 1.ต้องสื่อสารอย่างเข้าใจง่าย และ เหมาะกับพนักงานทุกประเภท  เพราะไม่ใช่ทุกร้านที่จะมีโอกาสจ้างทีมงานเรียนจบมาจากสถาบันสอนทำอาหาร หรือมีประสบการณ์การทำงานร้านอาหารมาหลายปีแล้ว มาสมัครร้านเรา ส่วนใหญ่ที่ร้านผมเจอ จะเป็นญาติห่างๆ ของแม่บ้าน ,น้องๆ AEC หรือไม่ก็เป็น พาร์ทไทม์ วัยเรียน ที่อยากจะมาหาประสบการณ์กัน ร้านอาหารหลายๆ ร้านคงจะเข้าใจกับ ประโยคที่ว่า “พนักงานดีๆ หายาก” หรือ “อยู่ไม่ทน” มากที่สุด นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ “คู่มือร้านอาหาร” เหมาะกับ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.