นายจ้างที่ได้รับความช่วยเหลือมีแค่ 11% ส่องสถิติการเข้าถึง มาตรการเยียวยา จากภาครัฐ

นายจ้างที่ได้รับความช่วยเหลือมีแค่ 11% ส่องสถิติการเข้าถึง มาตรการเยียวยา จากภาครัฐ

        แม้ว่าวิกฤต COVID-19 จะกระทบต่อประชาชนคนไทยทุกคน แต่ มาตรการเยียวยา ของภาครัฐนั้นเข้าถึงผู้ที่ได้รับผลกระทบทั่วถึงหรือไม่? เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากประชาชน สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จึงได้ทำการสำรวจ ผลกระทบเบื้องต้นจากการใช้มาตรการบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจจาก COVID-19 ผ่านระบบ online ในช่วงวันที่ 9-13 เม.ย. 63 โดยมีผู้เข้าร่วมตอบแบบสอบถาม 8,929 คน จากทั้ง 77 จังหวัดในประเทศไทย 

สถิติประชาชน 4 กลุ่มอาชีพ
ที่เข้าถึง มาตรการเยียวยา จากภาครัฐ

        โดยผู้ตอบแบบสอบถามจะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มอาชีพ ได้แก่ นายจ้าง พนักงาน ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และผู้ว่างงาน ในภาพรวมแล้ว มีคนไทยมากถึง 88% ที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากมาตรการของรัฐ เพราะส่วนใหญ่ “ติดเงื่อนไข” ซึ่งมีทั้งผู้ที่ไม่เข้าข่าย และผู้ที่ควรได้รับสิทธิ์แต่ถูกปฏิเสธ โดยมาตรการที่คนได้รับมากที่สุดเป็นมาตรการของนโยบายการคลัง แต่มาตรการเหล่านี้ก็ไม่เพียงพอที่จะช่วยเหลือประชาชน ในกรณีที่สถานการณ์ยาวนานมากกว่า 3 เดือน   

มาตรการเยียวยากลุ่มนายจ้าง  

        เนื่องจากธุรกิจส่วนใหญ่มีรายได้ลดลงหรือถูกสั่งปิด นายจ้างโดยเฉพาะกลุ่ม SMEs จึงต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือในด้านเงินทุนสำหรับฟื้นฟูธุรกิจ ลดภาระค่าจ้างแรงงาน ค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อเสริมสภาพคล่อง แต่มีกลุ่มนายจ้างแค่เพียง 11% จากทั้งหมดที่ได้รับความช่วยเหลือ ในด้านการพักเงินต้นและดอกเบี้ย การผ่อนผันภาษี และสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ดอกเบี้ย 2% ต่อปี)

        นอกจากนี้ มาตรการด้านการเงินที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอต่อการพยุงธุรกิจ หรือแก้ปัญหาสภาพคล่องทางการเงินในช่วงวิกฤติ 3-6 เดือน ประชาชนกลุ่มนี้ต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติมในด้านการลดภาระค่าใช้จ่ายในการประกอบธุรกิจ การเตรียมเงินทุนสำหรับการฟื้นฟูกิจการ รวมถึงหาช่องทางในการระบายสินค้า 

 

มาตรการเยียวยากลุ่มพนักงาน ลูกจ้าง แรงงาน 

        ผลกระทบต่อประชาชนในกลุ่มนี้มีทั้งการถูกลดค่าจ้าง รายได้ลดลง หรือธุรกิจที่ทำงานถูกสั่งปิด โดยมีผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือ 12% และความช่วยเหลือส่วนใหญ่ที่ได้รับเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายและมาตรการด้านการคลัง เช่น การลดหย่อนเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ลดหรือเลื่อนจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและการจ่ายค่าน้ำค่าไฟ พักเงินต้นและดอกเบี้ย เงินเยียวยา 5,000 บาทจากโครงการ “เราไม่ทิ้งกัน” ปรับเกณฑ์การปรับโครงสร้างหนี้ สินเชื่อพิเศษ ฯลฯ 

        มาตรการที่กลุ่มลูกจ้างต้องการเพิ่มเติม คือการลดค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำรงชีพเพิ่มเติม อาทิเช่น ค่าไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ อาหารและสินค้าที่จำเป็น รวมถึงลดค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าเทอม กำหนดมาตรฐานการพักหนี้ให้ทุกสถาบันการเงินไปในลักษณะเดียวกัน เพื่อลดเงื่อนไขที่ยุ่งยากลง สนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ให้ความช่วยเหลือประชาชนทุกกลุ่มอาชีพที่ได้รับผลกระทบ และชดเชยผลประโยชน์แก่ผู้ที่อยู่ในประกันสังคม 

 

มาตรการเยียวยากลุ่มอาชีพอิสระ

        ฟรีแลนซ์เป็นกลุ่มอาชีพที่มีรายได้ไม่แน่นอน จึงไม่ผ่านเงื่อนไขต่างๆ ที่ภาครัฐตั้งไว้ ทำให้ส่วนใหญ่ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐ และมีกลุ่มที่ได้รับความช่วยเหลือแค่ 11% ที่ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท การพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย ลดหรือเลื่อนการจ่ายค่าน้ำค่าไฟ ดังนั้น กลุ่มนี้จึงต้องการให้ภาครัฐปรับเงื่อนไขให้เหมาะสม ครอบคลุมทุกกลุ่มที่เดือดร้อน ประชาสัมพันธ์ให้ชัดเจนทั่วถึง ลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค ยกเว้นการชำระภาษีทุกชนิด โดยเฉพาะภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) รวมถึง เพิ่มการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ หรือต้องการให้รัฐมีงานทางเลือกให้ 

 

มาตรการเยียวยากลุ่มผู้ว่างงาน

        ผู้ว่างงานเป็นกลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือมากที่สุด แต่กลับเข้าถึงความช่วยเหลือได้แค่ 9% ที่ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท การพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย ลดหรือเลื่อนการจ่ายค่าน้ำค่าไฟ ซึ่งหากภาครัฐไม่เร่งเข้าช่วยเหลือ กลุ่มนี้ก็อาจจะอยู่ได้ไม่เกิน 3 เดือน โดยผู้ว่างงานต้องการมาตรการที่ลดภาระหนี้สินและค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ช่วยจัดหางาน หรือส่งเสริมการพัฒนาทักษะ และการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ให้มากขึ้น 

        ข้อเสนอแนะในภาพรวมของผู้ตอบแบบสอบถามทุกกลุ่ม คือต้องการให้รัฐบาลขยาย มาตรการเยียวยา ให้เข้าถึงประชาชนทุกกลุ่ม ลดเงื่อนไขการเข้าถึงมาตรการช่วยเหลือ จัดหางานให้ประชาชนที่ถูกเลิกจ้าง ลดค่าใช้จ่ายภาครัฐที่ไม่จำเป็น เพื่อนำงบประมาณกลับมาช่วยเหลือประชาชน ลดความซับซ้อนในการเข้าถึงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ คืนภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือลดหย่อนภาษี รวมถึง ผ่อนปรนให้บางธุรกิจกลับมาเปิดทำการได้โดยมีเงื่อนไขที่เหมาะสมและปลอดภัย 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สามารถดูรายละเอียดของการสำรวจต่อได้ที่นี่ 

เรื่องแนะนำ

เทรนด์ขนม ปี 2017

7 เทรนด์ขนม ปี 2017 เมนูไหนมาแรง ไปดูกัน!

เดินไปที่ไหนก็เห็นขนมวางขายเรียงรายเต็มไปหมด เพื่อตอบสนองความต้องการผู้บริโภค สำหรับใครที่สนใจทำธุรกิตขนม ลองศึกษา เทรนด์ขนม ดูสิว่า ขนมอะไรกำลังเป็นที่นิยม

Food Trend Connect

สรุปประเด็นความรู้สำคัญ จากงาน Food Trend Connect 2019 โดย Amarin Academy

ผ่านพ้นไปแล้วกับงาน Amarin Academy 3rd Anniversary : Food Trend Connect 2019 งานครบรอบ 3 ปี ของ Amarin Academy คอมมูนิตี้เพื่อผู้ประกอบการร้านอาหาร ซึ่งบรรยากาศภายในงานเต็มไปด้วยความอบอุ่นและเป็นกันเอง ของเหล่าผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร ที่มารวมตัวกันในงานนี้นับร้อยท่าน ซึ่งความตั้งใจของการจัดงานนี้เพื่อให้เหล่าผู้ประกอบการได้มารวมตัวกันเพื่อสร้าง connection ใหม่ๆ เพิ่มโอกาสในการต่อยอดธุรกิจ และอีกหนึ่งจุดประสงค์ของงานนี้ ก็เพื่อให้ทุกท่านได้มาอัพเดตข้อมูลความรู้ และเทรนด์ของธุรกิจอาหารในปี 2020 โดยผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายแขนง เจ้าของร้านอาหารชื่อดัง ที่มาแชร์ประสบการณ์ ปัญหาจริงๆ ในการทำร้าน  รวมถึงกลยุทธ์การปั้นคอนเทนท์ให้ปัง จาก Influencer จากเพจที่มียอดผู้ติดตามหลักล้าน เรียกว่าจัดเต็มส่งท้ายปีแบบไม่มีกั๊ก วันนี้เราจะมาสรุปประเด็นความรู้สำคัญ จากงาน Food Trend Connect 2019 โดย Amarin Academy สรุปประเด็นความรู้สำคัญ จากงาน Food Trend Connect 2019   โปรโมทร้านให้โดนใจ สไตล์ […]

อาหารเหนือแมสน้อยกว่าภาคอื่น? ปัจจัยต่อ “ความนิยมและรสชาติของอาหารเหนือ”

ทำไม อาหารเหนือ แมสน้อยกว่าอาหารภาคอื่น? ผู้ใช้ทวิตเตอร์แชร์ความเห็นเพราะ รสชาติจืด ไม่ถูกปาก ปัจจัยที่มีผลต่อ “ความนิยมและรสชาติของ อาหารเหนือ” อาหารเหนือ แมสน้อยกว่าอาหารภาคอื่น? ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งได้แชร์ความคิดเห็นเชิงตั้งคำถามจากประสบการณ์ส่วนตัว ประมาณว่าเขารู้สึกว่า อาหารเหนือ ได้รับความนิยมน้อยกว่าอาหารภาคอื่นๆ โดยเขายังได้แสดงความเห็นเพิ่มเติมอีกว่า ตนเองก็รู้สึกว่ารสชาติ อาหารเหนือ ถูกปากน้อยกว่าอาหารภาคอื่น . 1- ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายนี้แชร์ว่า “ทำไมอาหารเหนือถึงไม่แมสเท่าอาหารอีสาน หรืออาหารใต้นะ แต่ส่วนตัวก็รู้สึกว่าอาหารเหนือรสชาติถูกปากน้อยกว่าอาหารใต้จริงๆ” . 2- ซึ่งเมื่อทวีตนี้ออกไปก็ได้มีผู้ใช้ทวิตเตอร์ต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันอย่างล้นหลาม โดยหลายคนที่เห็นด้วยกับเจ้าของโพสต์นี้ ล้วนให้เหตุผลว่าอาหารเหนือรสชาติจืดและไม่ค่อยถูกปากเท่าไหร่ เช่น “ถ้าเป็นอาหารเหนือแบบรสชาติเหนือแท้ๆ ส่วนตัวรู้สึกว่าจืดมากกกก จืดๆ เผ็ดๆ ไม่อร่อยเลย ส่วนมากที่เขาว่าอร่อยๆ จะเป็นอาหารเหนือที่เขาเอามาดัดแปลงรสชาติให้ออกมากลางๆ เช่น ร้านหนึ่งที่คนเจียงใหม่แต๊ๆ ไปกินจะไม่ถูกปากเลย” “รสชาติมันต๊ะต่อนยอน ไม่จัดจ้านเหมือนอาหารใต้ จริงๆ ส่วนผสมอาหารเหนือแต๊ๆ มันเป็นอะไรที่ exotic มากๆ คนกินได้ก็กินได้ ไม่ได้ก็คืออ้วกเลย รสมันแปร่งๆ ไม่คุ้นปาก” 3- ในขณะที่คนอื่น ๆ […]

เปิดเพลงในร้านอาหาร

5 วิธี เปิดเพลงในร้านอาหาร ไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์

ก่อนหน้านี้เรามักจะได้ยินข่าวอยู่บ่อยๆว่า ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ที่เปิดเพลงต่างๆ ภายในร้านของตัวเอง ถูกดำเนินคดีในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์งานเพลง หรือแม้แต่ข่าวตัวศิลปินเอง ที่นำเพลงมาร้องก็ถูกดำเนินคดีเช่นกัน ต้องบอกเลยว่าในยุคปัจจุบันนี้ ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์เพลงเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง เพราะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อน และมีรายละเอียดมาก ซึ่งเจ้าของร้านบางราย หรือตัวศิลปินที่นำเพลงมาร้องตามร้านนั้น อาจจะยังไม่เข้าใจถึงข้อกฎหมายในเรื่องลิขสิทธิ์เพลงที่ชัดเจนมากพอ วันนี้ Amarin Academy จะมาอธิบายให้ทราบว่า จะมีวิธี เปิดเพลงในร้านอาหาร อย่างไรไม่ให้ผิดกฎหมาย และหากถูกกล่าวหาว่าละเมิดลิขสิทธิ์งานเพลง ต้องทำอย่างไร มาดูกันค่ะ   5 วิธี เปิดเพลงในร้านอาหาร ไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์ ตรวจสอบรายชื่อเพลงที่จะใช้เปิด ว่ามีบริษัทใดจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์บ้าง ตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์กรมทรัพย์สินทางปัญญา www.ipthailand.go.th เลือกใช้เพลงที่ศิลปินหรือค่ายเพลง ประกาศอนุญาตให้ใช้ได้โดยไม่เสียค่าลิขสิทธิ์ จำกัดการใช้งานเพลงเพื่อลดต้นทุนค่าลิขสิทธิ์ และลดปัญหาการถูกดำเนินคดี ตรวจสอบความเคลื่อนไหวของรายชื่อเพลงที่แจ้งจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ในเว็บไซต์กรมทรัพย์สินทางปัญญาอย่างต่อเนื่อง หากเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์เพลง และต้องการจ่ายค่ายอมความจะต้องกระทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจ และระบุรายชื่อเพลง และจำนวนเงินที่ยอมความในบันทึกยอมความไว้เป็นหลักฐานเสมอ   สำหรับทั้ง 5 คำแนะนำข้างต้น เจ้าของร้านที่จะ เปิดเพลงในร้านอาหาร ควรจะต้องรีบตรวจสอบเลยค่ะ ว่างานเพลงที่ใช้เปิดอยู่นั้นมีเจ้าของลิขสิทธิ์หรือไม่ และดำเนินการเจรจาค่าลิขสิทธิ์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ตัวเจ้าร้านเองก็จะได้สบายใจ ไม่ต้องกังวลว่าจะถูกดำเนินคดีค่ะ แต่ถ้าหากพูดถึงอีกหนึ่งกรณี […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.