4 พฤติกรรมของผู้บริโภคกับการ กินอาหารนอกบ้าน - Amarin Academy

เจ้าของธุรกิจร้านอาหารต้องรู้ 4 พฤติกรรมของผู้บริโภคกับการ กินอาหารนอกบ้าน

เมื่อพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ในฐานะเจ้าของธุรกิจอาหารจึงต้องปรับตัวตาม จากรายงานการวิจัย FoodTrips ของนีลเส็น บริษัทที่ให้ข้อมูลและการประเมินผลชั้นนำของโลก ได้ทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคต่อการ กินอาหารนอกบ้าน พบว่ามีเทรนด์ที่น่าสนใจอยู่ 4 ข้อ คืออะไรบ้าง?

 

4 พฤติกรรมของผู้บริโภคกับการ กินอาหารนอกบ้าน

1.ร้านสะดวกซื้อทางเลือกเบอร์ต้น

การ กินอาหารนอกบ้าน ที่เป็นที่นิยม 3 อันดับแรกของผู้บริโภคชาวไทย คือ ร้านสะดวกซื้อ ร้านขายอาหารแบบแผงลอย (food stall) และอาหารข้างทาง (street food) เรียงตามลำดับ เหตุผลที่ผู้บริโภคเลือกที่จะเข้าร้านสะดวกซื้อหลักๆ แล้วเพื่อบรรเทาความหิวและเนื่องจากมีความรู้สึกว่าเป็นกิจวัตรประจำวัน

สมวลี ลิมป์รัชตามร กรรมการผู้จัดการ บริษัท นีลเส็น ประเทศไทย กล่าวว่า เราจะเห็นได้ว่าร้านค้าปลีกต่างๆ เช่น Lawson 108, MAXVALU, และ TOPS Daily ได้ให้ความสำคัญกับการให้บริการพื้นที่กินอาหารสำหรับลูกค้าที่เข้ามาเพื่อซื้ออาหารกินระหว่างเบรค หรืออย่างเช่น Family Mart ที่มีสาขาที่เป็น one-stop shopping destination ซึ่งมีทั้งขายของสด อาหาร บริการส่งสินค้า และแม้แต่ co-working space นี่อาจเป็นนัยสำคัญในการบ่งบอกถึงความสำคัญของการที่ผู้ค้าปลีกต้องตระหนักถึงพฤติกรรมการบริโภคและวิถีชีวิตของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เพื่อที่จะสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ดีขึ้น

ซึ่งในปัจจุบัน ร้านสะดวกซื้อเหล่านี้ก็มีการพัฒนาเรื่องการบริการและความสะดวกสบายที่เพิ่มขึ้น เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนยุคนี้

 

2.เน้นกินอาหารมื้อหลักมากขึ้น

ด้านของพฤติกรรมการกินอาหารของผู้บริโภคระหว่างวัน บางคนอาจแบ่งมื้ออาหารได้ถึง 7 มื้อ ประกอบด้วยอาหารมื้อเช้า อาหารว่างก่อนมื้อเที่ยง มื้อเที่ยง อาหารว่างช่วงบ่ายหลังมื้อเที่ยง อาหารว่างช่วงบ่ายแก่ๆ มื้อเย็น และอาหารว่างรอบดึก อย่างไรก็ตามรายงาน Food Trips เผยว่าผู้บริโภคมีพฤติกรรมการกินอาหารว่างน้อยลง ในขณะที่เพิ่มการกินอาหารมื้อหลักอย่างมื้อเช้า กลางวัน และเย็นมากขึ้น

3.การเติบโตของร้านกาแฟ (คาเฟ่)

เมื่อพูดถึงพฤติกรรมการกินอาหารนอกบ้าน คงจะเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่พูดถึงการดื่มชา กาแฟ ซึ่งเป็นหนึ่งในเทรนด์การกินอาหารของคนไทยและมีการเติบโตที่น่าสนใจ ทั้งนี้อัตราการเข้าถึงของร้านเหล่านี้อยู่ที่ 60% ทั่วประเทศ และเฉลี่ยแล้วผู้บริโภคชาวไทยจะเข้าร้านชา กาแฟประมาณ 6 ครั้งต่อเดือน ในขณะที่ผู้บริโภคในกรุงเทพนั้นเข้าร้านกาแฟโดยเฉลี่ยถึง 8 ครั้งต่อเดือน

อย่างไรก็ตามเมื่อเรามองลึกลงไปถึงกลุ่มผู้บริโภคที่ดื่มกาแฟที่แยกเป็นแต่ละประเภท จะเห็นได้ว่าสัดส่วนของกลุ่มที่ดื่มกาแฟเพราะว่าแบรนด์ของกาแฟนั้นสามารถสะท้อนและส่งเสริมภาพลักษณ์ของตัวเอง มีจำนวนที่โตขึ้น  เพราะฉะนั้น นอกเหนือจากคุณภาพและการบริการที่ดีแล้ว การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งและมีจุดยืนที่ชัดเจนก็เป็นสิ่งที่เจ้าของธุรกิจกาแฟควรคำนึงถึงเพื่อดึงดูดลูกค้าในอนาคต

4.อาหารพร้อมทาน

ประเภทอาหารพร้อมทาน หรือ Ready to Eat เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ผู้บริโภคชาวไทยให้ความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ และอัตราการเติบโตในต่างจังหวัดมีมากกว่าในกรุงเทพ สาเหตุหลักที่ผู้บริโภคไม่ต้องการทำอาหารเองนั้นเป็นเพราะต้องใช้เวลาในการเตรียมวัตถุดิบต่างๆ และไม่ชอบในส่วนของการทำความสะอาดหลังทำอาหาร

 

จากสภาพเศรษฐกิจที่ส่งผลถึงพฤติกรรมของผู้บริโภค ทำให้เราได้เห็นถึงรูปแบบการกินอาหารนอกบ้านที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละปี แสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มนั้นมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ ดังนั้นการรู้เท่าทันตลาดจะทำให้เราสามารถนำเอาความรู้นั้นมาปรับกลยุทธ์ในการบริหารธุรกิจได้อย่างทันท่วงที

 

ข้อมูลจาก: นีลเส็น

 

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ

ไวรัสโคโรน่า (COVID-19) กระทบหนัก! ร้านอาหารปรับตัวอย่างไรในวิกฤตนี้

เจ้าของร้านรู้หรือยัง? กฎกระทรวงสาธารณสุข ที่ร้านอาหารต้องทำตาม

แชร์ 10 เทคนิค ใช้ Instagram ให้ปัง เพื่อคนทำธุรกิจอาหาร

 

เรื่องแนะนำ

5 ข้อน่าอ่าน ทำไมร้านอาหารควรมี Instagram

5 ข้อน่าอ่าน ทำไม ร้านอาหารควรมี Instagram โพสต์ภาพลงเฟซแม่ก็ไลค์ด่วนจี๋ แชร์ภาพอะไรพ่อก็มาตามแชร์ต่อ” แน่นอนว่า Social Media ยอดนิยมในไทย คงหนีไม่พ้น Facebook บางคนเบื่อกับเรื่องเหล่านี้ คนที่ไม่อยากให้พ่อแม่มาติดตาม หรือ คนที่ไม่อยากให้เจ้านายมาเห็น รวมทั้งคนที่เบื่อเนื้อหาต่าง ๆ ที่แชร์ผ่าน Facebook ทำให้คนเหล่านี้ ย้ายมา Platform อื่น ๆ แทน ซึ่ง IG กลายเป็นพื้นที่ใหม่ที่ผู้บริโภคกำลังเพิ่มมากขึ้น เจ้าของธุรกิจร้านอาหารหลายเจ้า จึงเริ่มโปรโมทร้านอาหารต่อยอดทางการตลาด เน้นภาพสวย ติดแฮชแท๊ก ผ่าน Instagram (IG) ร้านไหนที่ยังไม่ได้เปิดใช้งานแอพพลิเคชั่นนี้ ลองมาดูกันค่ะว่า ทำไมร้านอาหารควรมี IG และ IG จะช่วยโปรโมทธุรกิจร้านอาหารได้อย่างไร   1. Follower บน Instagram มีคุณค่ามากกว่าบน Facebook ด้วย IG กำลังกลายเป็นพื้นที่ที่กำลังมีความสำคัญอย่างมาก และเริ่มเข้าไปมี […]

5 กลยุทธ์ ออกโปรโมชั่น ให้ปัง

ปฏิเสธไม่ได้ว่าโปรโมชั่น เป็นหนึ่งในกลยุทธ์กระตุ้นยอดขายที่ดีวิธีหนึ่ง เราจึงมีเทคนิคดีๆ ในการ ออกโปรโมชั่น ที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ทำแล้วประสบความสำเร็จ

6 เคล็ดลับ การเปิดร้านอาหาร ให้ “รอด” และ “รวย”

บางคนคิดว่า การเปิดร้านอาหาร เป็นเรื่องง่ายมีเงินก็สามารถเปิดร้านได้แล้ว แต่จะเปิดให้อยู่รอดได้นั้นยากมาก แล้วเคล็ดลับที่จะทำให้ร้านอาหารอยู่รอด คืออะไร? ” การเปิดร้านอาหาร นั้นง่าย แต่ให้อยู่รอดนั้นยาก” คำกล่าวที่ใครหลายๆคนพูดไว้ ธุรกิจร้านอาหารเป็นธุรกิจสำหรับคนที่พอมีเงินลงทุน มักจะเลือกลงทุน เพราะคิดว่าเป็นธุรกิจที่ไม่ยุ่งยาก อย่างไรก็ตามกลับพบว่า ร้านอาหารที่เปิดขึ้นมากมายในแต่ละปีนั้น ปิดตัวลงไปหลายร้าน สาเหตุอาจมาจาก รายได้ไม่เป็นไปตามที่คิด เงินทุนสำรองไม่พอ ค่าใช้จ่ายสูง ในที่สุดก็ต้องปิดกิจการลง สำหรับมือใหม่ที่อยากมีอาชีพด้วยการเปิดร้านอาหาร วันนี้เรามีเคล็ดลับการเปิดร้านอาหาร ให้รอด และ รวย  มาฝากคนที่อยากทำร้านอาหารค่ะ   1.ทำเลที่ตั้ง คนที่อยากจะเปิดร้านอาหาร ไม่ว่าใครต่อใครก็อยากอยู่ในบริเวณแหล่งชุมชนคนเยอะๆ ถ้าจะให้ดีควรลงพื้นที่สำรวจและสังเกตว่ามีกลุ่มลูกค้ามากน้อยแค่ไหน ดูว่ากลุ่มคนแถวนั้นเป็นลูกค้ากลุ่มใด เช่น พนักงานบริษัท กลุ่มคนทำงานโรงงาน กลุ่มนักเรียน นักศึกษา หรือพ่อบ้านแม่บ้าน เพราะกลุ่มคนจะสัมพันธ์กับชนิดสินค้าและราคาที่เราจะขาย เช่น เราคงไม่เปิดร้านอาหาร Fine Dining ในย่านสถานศึกษาเพื่อขายนักเรียน แต่ควรขายของที่กินง่ายๆ อย่างไก่ป๊อบทอด เฟรนช์ไฟลส์ทอด ในราคาไม่แพง นอกจากนั้นต้องรู้ว่าเวลาเข้างาน พักเที่ยง เลิกงาน  เพื่อให้เรารู้ว่าเวลาไหนคนเยอะคนน้อย เตรียมของขายได้ถูกช่วงเวลา […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.