5 สิ่งที่ควรรู้ก่อน ตั้งราคาอาหาร - Amarin Academy

5 สิ่งที่ควรรู้ก่อน ตั้งราคาอาหาร

5 สิ่งที่ควรรู้ก่อน ตั้งราคาอาหาร

หลายคนที่เปิดร้านอาหาร ทำอาหารอร่อย ตกแต่งร้านเสียดิบดี แต่มาตกม้าตายตรงที่ไม่รู้จะตั้งราคาอาหารของตัวเองเท่าไหร่ ตั้งสูงไปก็กลัวขายไม่ได้ ตั้งต่ำไปก็กลัวจะขาดทุน วันนี้จึงขอนำข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งราคาอาหารมาฝาก เพื่อใช้เป็นปัจจัยในการ ตั้งราคาอาหาร ให้เหมาะสม

1.ต้นทุนวัตถุดิบ (Food costs)

สิ่งแรกที่คุณควรรู้ก่อนตั้งราคาอาหารคือ ต้นทุนวัตถุดิบ (food costs) คุณจะ ตั้งราคาอาหาร ไม่ได้เลย ถ้ายังไม่รู้ต้นทุนอาหารในแต่ละจาน โดยสิ่งที่จำเป็นต้องรู้คือ สัดส่วนและราคาของวัตถุดิบทุกตัว ที่ประกอบอยู่ในแต่ละเมนู เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับการตั้งราคา

สาเหตุที่สเต็กเนื้อแพงกว่าสลัด ส่วนหนึ่งก็เพราะต้นทุนวัตถุดิบที่สูงกว่า นอกจากนี้วัตถุดิบที่คุณภาพดีกว่าหรือออร์แกนิค ย่อมมีโอกาสตั้งราคาได้สูงกว่าวัตถุดิบทั่วไปเช่นกัน

2.ต้นทุนอื่นๆ (Other costs)

นอกจากต้นทุนอาหารที่เราต้องทราบแล้ว ต้นทุน ด้านอื่นๆ ก็จำเป็นสำหรับการตั้งราคาเช่นกัน เพราะรายได้จากการขายในแต่ละเมนู นอกจากจะนำไปจ่ายค่าวัตถุดิบแล้ว คุณยังต้องจ่าย ค่าเช่า ค่าแรงงาน รวมถึงค่าการตลาดด้วย การที่ร้านคุณตั้งอยู่ในเมืองหรือในห้าง รวมไปถึงการที่อาหารของคุณจำเป็นต้องใช้เชฟที่มีฝีมือ มีประสบการณ์ ย่อมทำให้ราคาอาหารของคุณสูงขึ้นด้วยเช่นกัน การมองค่าใช้จ่ายในภาพรวมก่อนตั้งราคา จะทำให้รายได้จากการขายครอบคลุมค่าใช้จ่ายเหล่านี้ และทำให้เหลือกำไรอย่างที่คุณตั้งใจไว้

3.การเปลี่ยนแปลงของตลาด (Market changes)

ราคาวัตถุดิบเป็นสิ่งที่ควบคุมยากมาก ราคาวัตถุดิบที่คุณซื้อในวันนี้ ย่อมไม่เท่ากับราคาในอีก 1 ปีข้างหน้า ตรงกันข้ามกับราคาอาหาร ที่กว่าจะปรับราคาขึ้นได้ที เจ้าของร้านแทบจะหืดขึ้นคอ เพราะเมื่อไหร่ที่คุณตัดสินใจขึ้นราคา นั่นหมายถึงโอกาสที่ลูกค้าของคุณจะเปลี่ยนใจไปร้านคู่แข่งด้วยเช่นกัน

ฉะนั้นก่อนจะตั้งราคาอาหาร คุณควรคำนึงถึงปัจจัยข้อนี้ให้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุดิบชนิดที่แปรผันตามสภาพภูมิอากาศและการแข่งขัน ยกตัวอย่างเช่น อาหารทะเลที่อาจขาดตลาดและราคาถีบตัวสูงขึ้นในช่วงที่เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ รวมไปถึงความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลโดยตรงต่อกำไรของเมนูนั้นๆ

ดังนั้นหากวัตถุดิบมีราคาผันผวนตลอดเวลา ก็ควรจะตั้งราคาเผื่อไว้ให้สูงหน่อย เพราะหากคุณเผื่อราคาไว้น้อยจนเกินไป บางเดือนที่ราคาวัตถุดิบสูงขึ้น คุณอาจจะยิ่งขายยิ่งขาดทุนก็ได้ ขณะเดียวกันหากคุณตั้งราคาในเกณฑ์ที่สูง ถ้าช่วงไหนวัตถุดิบปรับตัวลดลง ก็อาจจะทำโปรโมชั่นกับเมนูนั้นๆ เพื่อกระตุ้นยอดขายภายในร้านได้

4.ฐานลูกค้า (Customers)

การรู้จักลูกค้าเป็นเรื่องจำเป็นมาก เช่น ถ้าร้านของคุณเป็นร้าน fast food กลุ่มลูกค้าของคุณอาจเป็นวัยรุ่น ที่มีกำลังซื้อไม่มากนัก ราคาอาหารของคุณก็ต้องอยู่ในระดับกลางๆ เพื่อให้กลุ่มลูกค้าเข้าถึงได้ง่าย  แต่หากร้านของคุณเป็นภัตตาคาร ซึ่งกลุ่มลูกค้าเป็นคนมีอายุ มีกำลังซื้อมากกว่า คุณก็สามารถตั้งราคาสูงได้

แต่ไม่ว่าร้านอาหารคุณจะจับลูกค้ากลุ่มไหนก็ตาม ลูกค้าย่อมอยากได้รับความคุ้มค่าในทุกๆ บาทที่เขาจ่ายไป ฉะนั้นอย่าลืมคำนึงถึงกลุ่มลูกค้าก่อนที่จะตั้งราคาอาหาร

5.การแข่งขัน (Competitors)

ปฏิเสธไม่ได้ว่าร้านอาหารย่อมมีคู่แข่งมากมาย ซึ่งมีทั้งคู่แข่งที่อยู่ในทำเลเดียวกัน และคู่แข่งที่เป็นร้านอาหารประเภทเดียวกัน เช่น ร้านสเต็กที่มีหลายๆ เจ้า ร้านชาบูนี่มีเป็นร้อยๆ ร้าน เป็นต้น โดยเราสามารถใช้กลยุทธ์การตั้งราคาได้หลายวิธี เช่น Offer better price คือสู้ด้วยราคาที่ถูกกว่า แต่คุณภาพใกล้เคียงกัน หากเลือกวิธีนี้ ต้องไม่ลืมว่าคุณก็จะได้สัดส่วนกำไรน้อยลง หรืออีกวิธีหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือ ใช้วัตถุดิบที่ดีกว่า คุณก็สามารถตั้งราคาได้สูงกว่าคู่แข่ง หรือการเสนอบริการที่ดีกว่า มีของสมมนาคุณ มีบัตรของขวัญ หรือการทำบัตรสมาชิก เหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่คุณใช้ดึงดูดลูกค้าได้ ซึ่งดีกว่ากว่าลดราคาอาหาร

ราคาอาหาร เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ลูกค้าตัดสินใจก้าวเข้าร้านอาหารของคุณ และเป็นรายได้หลักที่ทำให้ร้านอาหารอยู่รอด ฉะนั้นก่อนตั้งราคาอาหาร ควรวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ให้ละเอียด รอบคอบ เพื่อจะได้ไม่เจ็บตัวใจภายหลัง

เรื่องแนะนำ

กรณีศึกษาร้านกาแฟ SLOW BAR แม่ค้ารู้สึกกดดันเวลาลูกค้าเยอะ แชร์วิธีแก้จากคนทำร้านกาแฟ + จิตวิทยาการรอคอย

กรณีศึกษาร้านกาแฟ SLOW BAR แม่ค้ารู้สึกกดดันเวลาลูกค้าเยอะ เหตุทำกาแฟอยู่ แต่ก็ออเดอร์อื่นก็รอนาน แชร์วิธีแก้จากคนทำร้านกาแฟ + จิตวิทยาการรอคอย ทุกคนเคยมีความรู้สึกแบบนี้ไหม รู้สึกกดดันจังเลยเวลาลูกค้ามายืนจ้อง… แม่ค้าร้านกาแฟรายหนึ่งได้มาโพสต์แชร์ความรู้สึกพร้อมขอคำแนะนำในการรับมือกับความกดดันเมื่อลูกค้าเยอะ ในกลุ่ม “คนบ้ากาแฟ” เนื่องจากเธอรู้สึกกดดันมาก เมื่อลูกค้ามาสั่งเครื่องดื่มแล้วต้องรอนาน . 1- เธอได้โพสต์ว่า “ขอ HOW TO ทำยังไงไม่ให้กดดันตามลูกค้า เรารู้ ลูกค้ากาแฟรู้ ว่านี่มันคือ SLOW BAR COFFEE แต่บางครั้งคนที่ไม่ได้สั่งกาแฟไม่เข้าใจ งื้ออออ คือแบบ ทำกาแฟอยู่ แล้วลูกค้ามาสั่งเมนูที่ไม่ใช่กาแฟ แล้วรอนาน เพราะติดออร์เดอร์กาแฟ แล้วเราเลยกดดันตามลูกค้าไปด้วย ” . 2- ซึ่งหลังจากที่โพสต์นี้ออกไปก็ได้มีเหล่าคนทำร้านกาแฟต่างเข้ามาให้คำแนะนำแม่ค้ารายนี้พร้อมแชร์ประสบการณ์ที่ตนเองเจอกันอย่างไม่มีกั๊ก โดยส่วนใหญ่ให้คำแนะนำว่าให้ใช้วิธีติดป้ายแจ้งหรือบอกลูกค้าไว้ก่อนว่าเครื่องดื่มมีคิวก่อนหน้าอยู่กี่คิว ต้องรอประมาณกี่นาที แล้วถามว่าลูกค้าสะดวกรอไหม เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจได้ว่าจะรอหรือจะไม่รอ เช่น “ลองบอกเขาไหมคะ ว่ามีคิวอยู่เยอะ รอได้ไหม รอประมาณกี่นาที บางคนคิดว่าของฉัน 1 แก้วเอง แต่ถ้าร้านแจ้งก่อน ว่ามีคิวอยู่ก่อน ต้องรอนาน […]

เปิดร้านอาหาร

มนุษย์เงินเดือน เปิดร้านอาหาร แบบไม่ต้องลาออกจากงาน

สำหรับคนที่อยากจะเริ่มต้นทำธุรกิจร้านอาหาร แต่ยังต้องทำงานหลักหรืองานประจำอยู่ อาจจะมีปัญหากับการจัดการด้านเวลาอยู่บ้าง และอีกไม่น้อยที่ยังไม่พร้อมจะลงทุนทำหน้าร้านใหญ่โต เพราะยังเป็นมือใหม่ในตลาด

โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร

โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร จะเปิดร้านต้องรู้!

สถิติจาก Wongnai รายงานว่า ในบรรดาร้านอาหารที่เปิดหลังปี 2660 มีเพียง 10% เท่านั้นที่อยู่รอด  ซึ่งปัญหาที่ทำให้ร้านอาหารส่วนใหญ่ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ เป็นเพราะไม่ได้มีการวางแผนธุรกิจมาก่อน หรือศึกษากลุ่มลูกค้าในตลาดไม่ดีพอ และปัญหาสำคัญที่พบมากที่สุดจนทำให้ร้านต้องปิดกิจการลงนั้น คือการบริหารต้นทุนที่ผิดพลาด คุมต้นทุนไม่อยู่ บางร้านแม้จะขายดีแต่ก็ไม่มีกำไร ดังนั้น เจ้าของร้านควรจะต้องรู้จัก โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร ถ้าไม่อยากเจ๊ง   โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร จะเปิดร้านต้องรู้! สิ่งจำเป็นที่คนจะเปิดร้านอาหารต้องรู้ ก็คือเรื่องของ โครงสร้างต้นทุนร้านอาหาร สิ่งนี้จะเป็นตัวแนะแนวทางว่า ในการจะเปิดร้านอาหาร คุณควรลงทุนกับอะไรบ้าง มีต้นทุนในส่วนไหนที่ต้องรู้ และจะต้องวางแผนอย่างไรก่อนที่จะเปิดร้านอาหาร  เบื้องต้นเราสามารถกำหนดโครงสร้างต้นทุนร้านอาหารได้เป็น 4 ส่วนหลักๆ ดังนี้ ต้นทุนวัตถุดิบ (Food Cost) ค่าวัตถุดิบอาหาร รวมไปถึงค่าบรรจุภัณฑ์ ถือเป็นค่าใช้จ่ายหลักของร้านอาหาร เจ้าของร้านควรจะใส่ใจและควบคุมต้นทุนส่วนนี้ให้ดี โดยต้นทุนวัตถุดิบจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของร้าน ถ้าเป็นร้านทั่วไปจะอยู่ที่ 25-30% แต่ร้านอาหารประเภทบุฟเฟ่ต์ อาจมีต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้นเป็น 45-50% ซึ่งทางร้านอาจจะต้องชดเชยด้วยการลดต้นทุนด้านอื่น เช่น ต้นทุนแรงงาน โดยให้ลูกค้าบริการตัวเองเป็นส่วนใหญ่ เพื่อให้ได้กำไรในอัตราที่เหมาะสม หรือใช้วิธีการควบคุมต้นทุนในส่วนอื่นๆ ตามความเหมาะสมของแต่ละร้าน   […]

ธุรกิจขนาดเล็ก

กลยุทธ์ในการรับมือปัญหาใหญ่ของ ธุรกิจขนาดเล็ก

เจ้าของธุรกิจอาจต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายมากมาย จากการบริหารจัดการและการเติบโตของธุรกิจ แต่ถ้ามองให้เรื่องท้าทายเป็นโอกาสและเป็นตัวช่วยให้คุณเข้มแข็งขึ้น นั่นก็จะเป็นพลังสำคัญในการผลักดันให้ธุรกิจของคุณเติบโต

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.