อยากเปิดร้านอาหาร ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง - Amarin Academy

อยากเปิดร้านอาหาร ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

อยากเปิดร้านอาหาร

ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

by … อ.ต่าย …

เปิดร้านอาหาร ต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างจะเปิดร้านอาหารสักร้านไม่ว่าจะเปิดในห้าง หรือ นอกห้าง ต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ที่เป็นค่าใช้จ่ายสำคัญ ๆ เพื่อให้ทุกท่านที่กำลังจะเปิดร้านได้จัดสรรงบประมาณเตรียมพร้อม ต้องบอกก่อนว่าทุกรายการค่าใช้จ่ายที่นำมากล่าวถึงเป็นสิ่งที่เกิดมาจากประสบการณ์งานประจำของผู้เขียนที่เป็นทั้งที่ปรึกษา และ ผู้เซ็ตอัพระบบให้กับร้านอาหารมาแล้วจำนวนหนึ่ง

ค่าใช้จ่ายในการเปิดร้านอาหารหลักๆ สามารถแบ่งออกเป็น

 

  1. ค่าออกแบบร้าน : ค่าออกแบบร้านนั้นแบ่งเป็นค่าใช้จ่ายย่อย                                                      ได้แก่

– ค่าออกแบบงานตกแต่งร้าน

– ค่าออกแบบงานระบบ

– ค่าออกแบบ Layout ครัว

โดยส่วนใหญ่แล้วค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายในการจ้างงานแน่ ๆ คือ ค่าออกแบบงานตกแต่งร้านและค่าออกแบบงานระบบ แต่ในส่วนค่าออกแบบ Layout ครัวนั้น หากบางท่านมีความรู้เรื่องการทำครัว หรือมีประสบการณ์ในการบริหารร้านอาหารมาอาจจะประหยัดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้ ซึ่งค่าออกแบบร้านนั้นมีทั้งแบบคิดเป็นราคาต่อ ตารางเมตร และแบบตีเหมา(หากพื้นที่เล็ก)

หมายเหตุ : ข้อดีของการจ้างผู้ออกแบบเขียนแบบร้านคือ เราจะได้แบบร้านที่มีคอนเซปต์ ฟังก์ชั่นในการใช้งานที่ดี

และยังสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างร้านได้อีกด้วย

 

  1. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าเช่าพื้นที่ : ค่าใช้จ่ายส่วนนี้แบ่งออกเป็น

– ค่าเช่าพื้นที่ล่วงหน้า : เกือบทุก ๆ ที่ไม่ว่าจะในห้างหรือนอกห้างก็จะมีค่าใช้จ่ายส่วนนี้ ซึ่งในห้างส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 3 เดือน สูงสุดที่เคยเจอไม่เกิน 6 เดือน

– ค่างานระบบเพิ่มเติม : สำหรับค่าใช้จ่ายนี้จะมีเฉพาะการเปิดร้านในห้าง เนื่องจากบางห้องเช่าในห้างนั้น อาจจะมีกำลังงานระบบไม่เพียงพอเช่น กำลังไฟ กำลังแอร์ กำลังตัวดูดควัน ทำให้บางร้านที่ต้องใช้มากกว่ามาตรฐานที่ห้างให้จะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเกิดขึ้น

– เงินประกันการตกแต่ง : สำหรับใครที่เปิดร้านในห้าง ค่าใช้จ่ายส่วนนี้เป็นการวางเงินประกันไว้ชั่วคราว เมื่อก่อสร้างร้านเสร็จแล้ว และทางห้างมาตรวจสอบว่า ไม่ได้ทำความเสียหายใด ๆ ให้กับห้างและก่อสร้างถูกต้องตามแบบที่กำหนดไว้ ก็จะได้รับเงินส่วนนี้คืน ซึ่งเงินส่วนนี้นั้น เราสามารถเจรจากับผู้รับเหมางานก่อสร้างให้เป็นผู้วางเงินประกันการตกแต่งนี้แทนเราได้ โดยส่วนใหญ่ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะอยู่ที่ 10,000 – 30,000 บาท

– ค่าเซ้ง : สำหรับค่าเซ้ง ส่วนมากจะพบกับห้องเช่านอกห้าง ซึ่งบางครั้งก็จะเซ้งเฉพาะตัวห้อง และในบางครั้งก็จะเป็นค่าเซ้งทั้งตัวห้อง, อุปกรณ์ต่าง ๆ และอาจจะรวมถึงชื่อร้านด้วยก็มี

– ค่าภาษีโรงเรือน : สำหรับค่าใช้จ่ายนี้ในบางครั้งผู้ให้เช่าก็จะออกให้ แต่ในบางครั้งก็จะให้ผู้เช่าเป็นคนชำระ ซึ่งสามารถเจรจาตกลงกันได้

 

  1. ค่าใช้จ่ายงานก่อสร้าง : แบ่งออกเป็น

– ค่าก่อสร้างโครงสร้างร้าน/ต่อเติม : ค่าใช้จ่ายนี้จะเกิดขึ้นเฉพาะการเปิดร้านอาหารนอกห้างในพื้นที่ดินเปล่า หรือห้องเช่าเดิมที่ต้องการต่อเติม จะเน้นหลักเรื่องงานโครงสร้างอาคาร

– ค่าตกแต่งภายใน : ค่าใช้จ่ายในการปูพื้น, ยกพื้นครัว ทำกันซึม, กั้นผนัง, ทำฝ้า, ทาสี, ติดตั้งกระจก, ประตู, ตกแต่งร้านเพื่อความสวยงาม, เฟอร์นิเจอร์ built in และอื่น ๆ

– ค่างานระบบ : ค่าใช้จ่ายในการทำงานระบบน้ำ, ไฟฟ้า, แก๊ส, แอร์, ดูดควัน, Lan และอื่น ๆ ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้ ค่อนข้างจะมีราคาที่แตกต่างกันมากระหว่างร้านที่เปิดในห้างกับร้านที่เปิดนอกห้าง

– ค่าอุปกรณ์ เฟอร์นิเจอร์อื่น ๆ : เป็นค่าใช้จ่ายที่ทางผู้รับเหมาไม่ได้รวมไว้ในใบเสนอราคางานก่อสร้าง เช่น ค่าเก้าอี้ลอยตัว, โคมไฟ, ดวงไฟ, ลำโพง, เครื่องกรองน้ำ, อุปกรณ์ตกแต่งร้าน เป็นต้น

 

หมายเหตุ : ค่าตกแต่งภายในและงานระบบ หากเป็นร้านที่เปิดอยู่ในห้างนั้น จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่านอกห้างประมาณ 10-30%  เนื่องจากทางห้างจะมีมาตรฐานในการใช้วัสดุที่สูงกว่า ห้องเช่านอกห้างทั่วไป และการก่อสร้างร้านในห้างนั้น มีเวลาในการทำงานที่น้อยกว่านอกห้าง ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วจะมีเวลาทำเพียง 8 ชั่วโมงต่อคืน จึงทำให้ผู้รับเหมาจำเป็นจะต้องใช้ คนงานจำนวนมากขึ้นในการเข้าทำงานเพื่อให้งานเสร็จตามกำหนดระยะเวลา 30 – 45 วัน

 

  1. ค่าใช้จ่ายอุปกรณ์เครื่องครัว : แบ่งออกเป็น

– เครื่องครัวสแตนเลส ได้แก่ โต๊ะ ตู้เก็บของ ชั้นติดผนัง ชั้นวางจาน ซิ้งค์ล้าง เตาผัดต่าง ๆ เตาซุป เตาย่าง เตาทอด ฝาชีดูดควัน บ่อดักไขมัน เป็นต้น ซึ่งเครื่องครัวที่ผลิตจากสแตนเลสนั้น จะมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ดูแลรักษาง่าย และสะอาด แต่ค่าใช้จ่ายก็จะสูง หากใครที่มีงบในการทำร้านไม่สูงมาก และอยากใช้เครื่องครัวสแตนเลส แนะนำให้ลองหาซื้อมือสองก็ได้ สำหรับเครื่องครัวสแตนเลสที่ไม่ใช้ระบบไฟฟ้าจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ 20-30% เลยทีเดียว

– ตู้แช่ต่าง ๆ ได้แก่ ตู้แช่เย็น ตู้แช่แข็ง ตู้แช่ไวน์ ตู้แช่แก้ว ตู้โชว์เค้ก ซึ่งตู้แช่พวกนี้สามารถหาซื้อได้ทั่วไป หากใครที่อยากจะประหยัดค่าใช้จ่าย และมีความรู้เรื่องระบบไฟฟ้า ก็สามารถซื้อมือสองได้เช่นกัน (ไม่แนะนำการซื้อตู้เย็นมือสอง สำหรับคนที่ไม่มีความรู้ด้านระบบไฟฟ้า)

 

หมายเหตุ : หากร้านใครที่จำหน่ายน้ำอัดลมหรือน้ำเปล่าของบริษัทยักษ์ใหญ่ต่าง ๆ สามารถติดต่อเพื่อขอตู้เย็นฟรีได้ ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการลงทุนได้ (แต่ตู้เย็นที่ได้จากบริษัทเหล่านี้ จะถูกล๊อคอุณหภูมิไว้สำหรับการแช่เครื่องดื่ม)

– อุปกรณ์ครัวขนาดเล็ก สามารถหาซื้อได้ทั่วไป โดยให้คำนึงถึงเมนูอาหารที่จะขาย พื้นที่ของครัว และพื้นที่จัดเก็บก่อนที่จะซื้อด้วยทุกครั้ง

– เครื่องล้างจาน สำหรับร้านใดที่สนใจใช้เครื่องล้างจาน ปัจจุบันก็จะมีหลากหลายแบรนด์ มีทั้งแบบเช่า และแบบซื้อขาด โดยราคาแบบเช่าจะเฉลี่ยอยู่ที่เดือนละ 3,500 – 5,500 บาท

 

หมายเหตุ : สำหรับใครที่จะใช้เครื่องล้างจานอย่าลืมเผื่อกำลังไฟไว้ด้วยนะครับ เนื่องจากใช้กำลังไฟค่อนข้างสูง และต้องเผื่อพื้นที่สำหรับวางถังน้ำยาและหม้อต้มอีกด้วย

 

  1. ค่าใช้จ่ายด้านกฎหมาย

การจดทะเบียนพาณิชย์ , ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร เป็นต้น และกรณีที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ จะต้องขอใบอนุญาตสุรา ยาสูบ ไพ่ ด้วย

 

  1. ค่าวัตถุดิบตั้งต้น

เป็นค่าวัตถุดิบอาหารสำหรับใช้ในการทำสูตรอาหาร, ฝึกอบรมพนักงาน, เทสรันระบบร้านก่อนเปิดขาย และวัตถุดิบสำหรับช่วงเปิดขาย 1 เดือนแรก

 

  1. ค่าใช้จ่ายด้านพนักงาน

เช่น ค่าออกแบบยูนิฟอร์ม, ค่าผลิตยูนิฟอร์มพนักงาน, ค่าจ้างหาพนักงาน, ค่าใบปลิวรับสมัครพนักงาน, ค่าป้ายชื่อพนักงาน, ค่างานเลี้ยงพนักงานก่อนเปิดร้านเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ เป็นต้น

 

  1. ค่าการตลาด ได้แก่

ค่าออกแบบสื่อต่าง ๆ, ค่าสื่อประชาสัมพันธ์หน้าร้าน, ค่าโปสเตอร์ติดกระจก, ค่าผลิตใบปลิว, ค่าผลิตเมนูอาหาร, ค่าถ่ายภาพอาหาร ค่าทำการตลาดบน Social, ค่าใช้จ่ายสำหรับโปรโมชั่นช่วงเปิดร้าน เป็นต้น โดยในช่วงก่อนเปิดร้านค่าการตลาด จะค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับยอดขาย แต่เมื่อผ่านไปสักพักค่าการตลาดจะอยู่ที่ประมาณ 1-3% ของยอดขาย

 

  1. เครื่องใช้สำนักงาน ได้แก่

ค่าเครื่องตอกบัตร/เครื่องสแกนนิ้ว, เครื่องเล่นเพลง, เครื่อง POS, ตู้เซฟ(ถ้าต้องใช้), เครื่องปริ้นเอกสาร(ถ้าต้องใช้), Notebook(ถ้าต้องใช้), TV, แฟ้มเอกสาร, ปากกา, กระดาษ เป็นต้น

 

  1. ค่าที่ปรึกษา

สำหรับใครก็ตามที่ทำธุรกิจร้านอาหารเป็นครั้งแรก และไม่มั่นใจว่าจะต้องทำอย่างไรให้ร้านออกมาดี ทั้งรูปแบบการตกแต่ง เมนูอาหาร การตลาด และระบบการจัดการร้าน ปัจจุบันก็จะมีผู้เชี่ยวชาญที่รับงานให้คำปรึกษาทางด้านการจัดการร้านอาหาร ดังนั้นอาจจะเป็นตัวเลือกหนึ่งที่ช่วยให้การทำให้ธุรกิจร้านอาหารง่ายขึ้น

 

คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับค่าใช้จ่ายในการเปิดร้าน :

– ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่คำนวณไว้ แนะนำให้บวกเพิ่มไว้อีก 10% เนื่องจากหลาย ๆ ครั้งเมื่อก่อสร้างไปแล้ว

มักจะมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพิ่มเติมขึ้นมา

 

สำหรับท่านที่กำลังจะเปิดร้านอาหารใหม่ การจัดสรรงบประมาณ และการบริหารงบประมาณในการลงทุนมีความสำคัญอย่างมาก ๆ ต่ออนาคตกิจการ จากประสบการณ์พบว่า มีหลายกรณีทำร้านอย่างดีแต่อยู่ได้ไม่นานก็ต้องเลิกกิจการ เพราะมีความผิดพลาดในการลงทุนก่อสร้างจนเงินทุนหมุนเวียนไม่พอ ดังนั้น การเริ่มต้นที่ดีมีความสำคัญอย่างมาก

 

คอร์สนี้จะช่วยให้คนที่อยากมีร้านอาหาร สามารถเตรียมตัวได้ดีขึ้น เจอกันวันพุธ – พฤหัสบดีที่ 27 – 28 กุมภาพันธ์ 2562  นี้ โดยเป็นการร่วมมือกันระหว่าง Amarin Academy และ เพื่อนแท้ร้านอาหาร จัดอบรมหลักสูตรขั้นตอนก่อนเปิดร้านอาหาร รุ่นที่ 1 “Workback Timeline” ซึ่งผมได้รับเชิญให้เป็นผู้ออกแบบเนื้อหาหลักสูตร และเป็นวิทยากรถ่ายทอดประสบการณ์ ในหลักสูตรนี้ จะเป็นความสำคัญของทุกขั้นตอนในการทำร้านอาหาร ตั้งแต่เริ่มต้นจากความคิดว่าง ๆ จนกระทั้งเปิดร้าน มีระบบที่เหมาะสมลงตัว ผมจะแบ่งปันลงลึกในทุก ๆ กระบวนการคิด กระบวนการทำงาน เพื่อเป้าหมาย 3 ข้อ
1 ผู้เรียนเริ่มต้นลงทุนทำร้านอย่างถูกต้อง
2 ให้ผู้เรียนจัดสรรงบลงทุนอย่างเหมาะสม และ งานทุกกระบวนการราบรื่น
3 ให้ผู้เรียนมีพื้นฐานในการทำร้านอาหารปิดจุดเสี่ยงการเจ๊ง

จึงอยากแนะนำสำหรับท่านที่ตัดสินใจทำร้านอาหารมาเข้าหลักสูตรนี้ก่อนจะเริ่มต้นทำอย่างอื่น ๆ ครับ

 

 

เรื่องแนะนำ

Thailand food show

เหตุผลที่เจ้าของร้านอาหารต้องไป Thailand Food Show

Thailand Food Show “มหกรรม (ความรู้) เพื่อธุรกิจอาหาร” งานเดียวที่จัดขึ้นเพื่อผู้ประกอบการร้านอาหารโดยเฉพาะ! รวบรวมความรู้เกี่ยวกับการทำธุรกิจอาหารทุกแขนง

โกยเงินรับปีใหม่ สิ่งที่ร้านค้าควรปรับรับนักท่องเที่ยว

ผู้ประกอบการหลายคนถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจก็คือ ทำอย่างไร?ให้ได้ “ยอดขาย” ตามที่ตั้งเอาไว้ ดังนั้นเรามี 4 เทคนิคง่ายๆ มาฝากกัน!!

ร้านตู้เย็นน์

ตู้เย็นน์ Supplier เนื้อ เปิดเฉพาะวันหยุด แต่ลูกค้าเพียบ!

พูดถึง Supplier หลายคนคงนึกถึงบริษัทใหญ่ที่มีวัตถุดิบเต็มสต๊อก แต่ตู้เย็นน์ Supplier เนื้อ แนวใหม่ กลับไม่สต๊อกสินค้า เปิดร้านแค่วันหยุด แต่ลูกค้าเพียบ!

ปูดองอันยอง-thailand-food-show

ปูดองอันยอง เปิดหมดเปลือกทำ ธุรกิจเดลิเวอรี่ ให้มีกำไร!

ปูดองอันยอง ซีฟู้ดดองสไตล์เกาหลี ที่มีจุดยืนในการทำธุรกิจว่า “อยากขายอาหาร แต่ต้องไม่มีหน้าร้าน!” จึงกลายเป็น ธุรกิจเดลิเวอรี่ ส่งซีฟู้ดดองสดๆ ตรงถึงมือลูกค้า

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.