8 Checklists อยาก เปิดร้านอาหารให้สำเร็จ ควรทำ! - Amarin Academy

8 Checklists อยาก เปิดร้านอาหารให้สำเร็จ ควรทำ!

8 Checklists อยาก เปิดร้านอาหารให้สำเร็จ ควรทำ!

ก่อนเปิดร้านอาหาร เราต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ? เชื่อว่าผู้ประกอบการร้านอาหารมือใหม่หลายๆ คน คงมีคำถามอยู่ในใจ เราจึงขอรวบรวม 8 Checklists ที่เจ้าของร้านที่อยาก เปิดร้านอาหารให้สำเร็จ ควรทำ มาแชร์ให้ทุกคนรู้กัน

1.ทำงบลงทุน และแพลนการใช้จ่าย

เคยได้ยินเพื่อนๆ ที่ทำร้านอาหารบ่นเรื่อง “งบบานปลาย” กันไหม เรากล้าบอกได้เลยว่า กว่า 80% ของผู้ประกอบการร้านอาหารต้องประสบปัญหานี้แน่นอน แม้บางคนจะคิดว่า เราทำแผนการลงทุนมารอบคอบแล้ว ก็เจอปัญหางบบานปลายอยู่บ่อยๆ เพราะว่าการทำร้านอาหารมีค่าใช้จ่ายจุกจิกเยอะมาก

เช่น ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ต่อเติม ตกแต่งร้าน ค่าวัสดุ อุปกรณ์ในครัว ค่าแรงพนักงาน (ที่จะต้องจ้างมาเทรนด์และสอนงานก่อนการเปิดร้าน) ค่าวัตถุดิบ ค่าลิขสิทธิ์เพลง (ถ้าร้านมีการเปิดเพลง) ค่าขอใบอนุญาตและภาษีต่างๆ  ค่าปรับ (กรณีเช่าพื้นที่ศูนย์การค้าแล้วการก่อสร้างล่าช้า) ฯลฯ

ใครที่คิดว่าใช้วิธีกะคร่าวๆ ว่าจะลงทุนแต่ละส่วนเท่าไร เราบอกได้เลยว่า คุณจะต้องปวดหัวกับสารพัดค่าใช้จ่ายแน่นอน ฉะนั้นทางที่ดี ระบุสัดส่วนงบการลงทุนให้ชัดเจนจะดีกว่า ที่สำคัญ อย่าลืมเผื่อเงินประมาณ 10 – 15% ของงบการลงทุนทั้งหมดไว้สำหรับค่าใช้จ่ายไม่คาดคิดเหล่านี้ด้วย ไม่อย่างนั้นคุณจะเจอปัญหางบบานปลายแน่นอน

2.เขียนแผนธุรกิจให้ชัดเจนที่สุด

หลายคนเริ่มทำร้านอาหารโดยไม่มีแผนธุรกิจที่ชัดเจน เพราะคิดว่าเป็นธุรกิจเล็กๆ ไม่น่าจะต้องทำแผนธุรกิจอย่างจริงจัง แต่จริงๆ แล้วแผนธุรกิจเปรียบเสมือนเข็มทิศนำทางให้ธุรกิจของคุณเดินไปสู่ความสำเร็จ เพราะจะช่วยให้คุณมีจุดยืนที่ชัดเจนขึ้น และมีทิศทางในการทำงานมากขึ้น โดยแผนธุรกิจสำหรับร้านอาหาร สามารถเขียนง่ายๆ ได้ดังนี้

>> การเขียนแผนธุรกิจสำหรับร้านอาหาร

3.อย่าลืมจดทะเบียนธุรกิจและขอใบอนุญาต

ข้อนี้เป็นสิ่งสำคัญที่เจ้าของธุรกิจหลายคนอาจมองข้าม เพราะส่วนใหญ่มักจะวุ่นวายกับการเตรียมงานภายในร้าน ทั้งตกแต่งร้าน หาพนักงาน เทรนด์งาน สอนงาน วางระบบครัว จนลืมจดทะเบียนธุรกิจหรือขอใบอนุญาต (สำหรับร้านที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์) ให้ถูกต้องตามกฎหมายด้วย

อ่านเพิ่มเติม >> จดทะเบียนร้านอาหาร ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

4.เลือกทำเลให้โดน

ทำเลถือเป็นหัวใจสำคัญสำหรับร้านอาหารอย่างมาก เพราะถ้าคุณเลือกทำเลผิด ร้านคุณอาจจะไม่ประสบความสำเร็จเลยก็ได้ ทั้งนี้ปัจจัยที่ต้องใช้ในการประกอบการตัดสินใจเลือกทำเลมีเยอะมาก ทั้งดูว่าตรงกลุ่มเป้าหมายรึเปล่า ราคาค่าเช่า Traffic ของกลุ่มลูกค้า (มีกลุ่มลูกค้าของเราอยู่บริเวณนั้นมากน้อยแค่ไหน) ฯลฯ ฉะนั้นก่อนจะเลือกทำเล ควรตัดสินใจดีๆ อย่าด่วนตัดสินใจด้วยความรู้สึก หรือไม่มีข้อมูลประกอบที่ชัดเจน

ทั้งนี้ทำเลสำหรับเปิดร้านอาหารก็มีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น

พื้นที่เปล่า >> เราต้องก่อสร้างร้านเอง ถ้าตัดสินใจเช่าพื้นที่เปล่าต้องคิดให้หนักพอสมควร เพราะมันคือการลงทุนที่ต้องใช้เงินค่อนข้างมาก จึงต้องมีการคำนวณอย่างรอบคอบว่าจะคืนทุนภายในกี่ปี สัญญาเช่ายืนยาวพอหรือเปล่า เช่น หากคุณลงทุนไป 2 ล้านบาท คาดว่าจะคืนทุนภายใน 4 ปี แต่สัญญาเช่าของคุณคือ 5 ปี เท่ากับว่า คุณมีเวลาทำกำไรได้เพียง 1 ปีเท่านั้น และถ้าปีต่อไปเจ้าของที่ไม่ให้ต่อสัญญา สิ่งที่คุณลงทุนไปก็สูญเปล่า

อาคารเปล่า >> ข้อนี้คือมีอาคารอยู่แล้ว คุณต้องออกแบบตกแต่งสถานที่ใหม่ แน่นอนว่าต้องใช้งบประมาณพอสมควร (เช่นเดียวกับข้อแรกที่คุณต้องคำนวณงบการลงทุนดีๆ) ทั้งค่าออกแบบ ตกแต่งสถานที่ ค่าวางระบบต่างๆ แต่ข้อดีคือคุณสามารถออกแบบร้านได้ให้เป็นไปตามความต้องการได้

เซ๊งร้านต่อ >>  นี่เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คนส่วนใหญ่นิยมทำ เพราะว่าร้านเดิมจะมีการวางระบบสำหรับทำร้านอาหารมาพอสมควร ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการวางระบบใหม่ แต่ข้อเสียคือ หน้าตาร้านและระบบต่างๆ ที่ร้านเดิมวางไว้อาจไม่เป็นไปตามความต้องการของคุณ 100% ที่สำคัญ อาจประสบปัญหาคือแปลนร้านเดิมมีปัญหา เช่น ท่อน้ำทิ้งตัน ระบบระบายอากาศไม่ดี หรืออุปกรณ์ต่างๆ ชำรุด ทรุดโทรม ต้องซ่อมแซม เป็นต้น ฉะนั้นก่อนจะตัดสินใจเซ๊งร้าน ก็ต้องตรวจตราระบบเหล่านี้ให้ถี่ถ้วนด้วย

5.คิดคอนเซ็ปต์ร้านให้ชัด

คอนเซ็ปต์ร้านคือหัวใจสำคัญที่ทำให้ร้านอาหารของเราแตกต่าง และเป็นที่จดจำในกลุ่มผู้บริโภค แม้ว่าคุณจะขายอาหารประเภทเดียวกับคนอื่น แต่คุณต้องพยายามหาจุดเด่น จุดต่างให้ได้ ที่สำคัญต้องตอบคำถามให้ได้ว่า เพราะอะไรลูกค้าต้องเลือกมารับประทานอาหารร้านของคุณ

หลายคนอาจบอกว่าร้านอาหารของเราโดดเด่นที่รสชาติอาหาร คุณภาพวัตถุดิบ แต่ 2 สิ่งนี้ลูกค้าจะไม่มีทางรับรู้ได้เลยจนกว่าจะได้มาลองรับประทานร้านอาหารของคุณ ดังนั้น หากคุณต้องการดึงดูดให้เขาเดินเข้าร้าน ก็ต้องหาจุดขายอื่นแทน เช่น บางร้านอาจดึงดูดด้วยเมนูจานยักษ์ หรือดึงดูดด้วยการตกแต่งร้านที่สวยไม่เหมือนใคร หรือมีบริการที่แตกต่าง เป็นต้น

6.ออกแบบเมนูให้ต่างและได้กำไร

ก่อนเปิดร้านอาหารคุณต้องตอบให้ได้ว่า “จะขายเมนูอะไร” เมนูนั้นโดดเด่น ดึงดูดให้คนสั่งได้มากน้อยแค่ไหน ที่สำคัญเมนูนั้น ทำกำไรให้ร้านจริงหรือเปล่า

เจ้าของร้านอาหารหลายๆ ร้าน อาจประสบปัญหา ขายเหนื่อยแทบตายแต่กำไรไม่เหลือ (บางครั้งอาจถึงขั้นขาดทุน) เพราะไม่ได้คำนวณต้นทุนอาหารให้ดีก่อน แต่เลือกที่จะตั้งราคาอาหารตามคู่แข่ง เช่น เห็นว่าร้านข้างๆ ขายราคานี้ก็อยู่ได้ ก็เลือกขายตาม เพราะคิดว่าคงทำกำไรได้เช่นกัน แต่จริงๆ เขาอาจมีข้อได้เปรียบอื่นที่เราไม่รู้ เช่น ร้านคู่แข่งไม่ต้องเสียค่าเช่าที่ หรือรับวัตถุดิบมาได้ในราคาที่ถูกกว่า ทำให้ต้นทุนต่อจานต่ำ เป็นต้น ดังนั้นต้องคำนวณต้นทุนต่อจานให้ชัดเจนด้วย

7.มองหาพนักงานที่ดี

พนักงานเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญที่ทำให้ร้านอาหารของเราประสบความสำเร็จ ร้านจะมีปัญหามากหรือน้อย…ก็ขึ้นอยู่กับพนักงาน อาหารจะอร่อยได้มาตรฐานหรือรสชาติไม่แน่นอน…ก็ขึ้นอยู่กับพนักงาน ลูกค้าจะประทับใจหรือส่ายหัว…ก็ขึ้นอยู่กับพนักงาน ดังนั้นคุณต้องให้ความสำคัญกับการคัดเลือกพนักงานอย่างมาก อาจดูที่ประวัติการทำงาน ทัศนคติ (ต้องเหมาะกับร้านของคุณ) ลักษณะนิสัย และเมื่อรับเข้ามาแล้วต้องมีการเทรนด์ก่อนการทำงานจริงด้วย เมื่อถึงเวลาเปิดร้านพนักงานจะได้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

8.วางแผนการตลาดให้เปรี้ยง

ข้อสุดท้ายที่คุณควรทำคือ วางแผนการตลาด โดยโจทย์สำคัญของการทำการตลาดในช่วงแรกอาจเป็น “ทำอย่างไรให้กลุ่มลูกค้ารู้จักร้านของคุณให้มากที่สุด” โดยอาจต้องวางแผนทั้งฝั่งออฟไลน์ เช่น ป้ายหน้าร้าน ทำโปรโมชั่น หรือจัดงานเปิดตัว ฯลฯ ฝั่งออนไลน์ เช่น เปิดเพจเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม หรือติดต่อไปตามเพจรีวิวอาหารต่างๆ ให้มาช่วยประชาสัมพันธ์ร้าน เป็นต้น

ทั้ง 8 ข้อนี้ถือเป็น Checklist ที่คนที่กำลังอยากเปิดร้านอาหารควรทำ เพื่อเป็นแนวทางในการเปิดร้านให้ประสบความสำเร็จ!

เรื่องแนะนำ

อยากขายแอลกอฮอล์ต้องรู้! ขั้นตอนขอใบอนุญาตจำหน่ายสุราสำหรับร้านอาหาร

กลางวันเปิดคาเฟ่ กลางคืนอยากเปิดบาร์ เจ้าของร้านกาแฟถาม อยากขายแอลกอฮอล์กลางคืน แชร์ขั้นตอนขอใบอนุญาตจำหน่าย สุรา สำหรับร้านอาหาร เพิ่มรายได้ร้าน ตอนเช้าเป็นร้านกาแฟ ตอนเย็นเป็นร้านนั่งชิลล์ดีปะ ? วันก่อนแอดได้ไปเห็นโพสต์หนึ่งในกลุ่ม “คนบ้ากาแฟ” ที่เจ้าของร้านกาแฟร้านหนึ่งได้มาโพสต์ขอคำแนะนำ เนื่องจากเขาทำร้านกาแฟอยู่และต้องการเปิด ขายสุรา ในช่วงเย็นด้วย ในกรณีนี้ต้องทำอย่างไรบ้าง? โพสต์นี้มีคำตอบ! การขายสุรา ใบอนุญาตมี 2 ประเภท คือ ประเภทที่ 1 ขายส่งสุราทุกชนิด ครั้งละสิบลิตรขึ้นไป ประเภทที่ 2 ขายปลีกสุราทุกชนิด ครั้งละต่ำกว่าสิบลิตร (สำหรับร้านอาหาร คือ ประเภทที่ 2) ซึ่งสำหรับการขออนุญาตขายสุราทาง “คลินิกภาษี กระทรวงการคลัง” ได้เคยให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า ขอใบอนุญาตได้จากไหน ผู้ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตขายสุรา สามารถติดต่อขอใบอนุญาต ณ สำนักงานสรรพสามิต พื้นที่สาขาแห่งท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ โดยเปิดทำการในเวลาราชการ การขอใบอนุญาตสุราผ่านอินเตอร์เน็ต ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.excise.go.th/…/LIQUOR-TOBACCO…/index.htm ต้องใช้อะไรบ้าง ผู้ขอรับใบอนุญาตรายใหม่ นำเอกสารฉบับจริง ดังต่อไปนี้ไปแสดง 1.บัตรประจำตัวประชาชน […]

5 ขั้นตอน เซตอัพทีมงานหลังร้าน ที่เจ้าของร้านอาหารต้องรู้!

ร้านอาหารหลายร้านเปิดตัวมาอย่างดี แต่ต่อมามาตรฐานกลับลดลง ไม่ว่าจะเป็นรสชาติอาหาร หรือการบริการที่เกิดความล่าช้าจนลูกค้าเข็ดไม่มาอีกต่อไป สาเหตุสำคัญที่ปฏิเสธไม่ได้เลยก็คือ การขาดประสิทธิภาพของทีมงานหลังร้าน บทความนี้จะแนะนำขั้นตอนที่จำเป็นต่อการ เซตอัพทีมงานหลังร้าน ที่เจ้าของร้านอาหารจำเป็นต้องรู้   ขั้นตอน 1  รู้จักโครงสร้างทีมงานหลังร้าน ทีมงานหลังร้านและหน้าที่ความรับผิดชอบ ประกอบด้วย หัวหน้าเชฟ /รองหัวหน้าเชฟ/หัวหน้าส่วนครัวต่าง ๆ มีส่วนช่วยในการบริหารการบริการลูกค้า ร่วมวางแผนและตัดสินใจเกี่ยวกับงานบริการด้านอาหาร ควบคุมและตรวจสอบคุณภาพของอาหาร รับผิดชอบเวลาออกอาหาร รวมถึงการเสิร์ฟให้เป็นไปตามมาตรฐาน นอกจากนี้ยังต้องบริหารต้นทุน ควบคุมค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังมีหน้าที่ในการสอนงาน มอบหมายงาน และดูแลทีมงานครัวด้วย พนักงานครัว หน้าที่หลัก ๆ คือการปฏิบัติงานครัว ควบคุมมาตรฐาน ทำงานตามขั้นตอนที่กำหนด ช่วยดูแลควบคุมปริมาณของเสีย ฝ่ายสนับสนุน แผนกที่ช่วยดูแลเรื่องเอกสารต่าง ๆ ของธุรกิจ การจัดการเงินและบัญชี ดูแลการตลาดของธุรกิจ  ดูแลเรื่องสวัสดิการต่าง ๆ ของพนักงานร้านอาหาร จะเห็นได้ว่าทีมงานครัวมีหน้าที่สำคัญคือการผลิต แต่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การปรุงอาหาร แต่ยังมีหน้าที่ครอบคลุมไปถึงการกำหนดคุณภาพ การจัดสรร ควบคุมต้นทุน และช่วยส่งเสริมงานบริการหน้าร้าน ในขณะเดียวกันทีมงานหลังร้านก็ยังรวมไปถึงแผนกสนับสนุน ที่เตรียมความพร้อมด้านการเงิน การบริหารบุคคล บัญชีและการตลาดด้วย หากขาดระบบที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของสองทีมหลักนี้ […]

ร้านอาหารฟื้นตัว

พร้อมคว้าทุกโอกาส!! 4 ปัจจัยช่วยให้ ร้านอาหารฟื้นตัว เร็วหลังวิกฤต

        ร้านอาหารฟื้นตัว จากวิกฤตได้หรือไม่? เนื่องจาก “อาหาร” เป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ที่ขาดไม่ได้ ธุรกิจอาหารจึงเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ไม่มีวันตาย เพียงแต่ว่าธุรกิจนี้มีการแข่งขันที่รุนแรงจากผู้ประกอบการจำนวนมากในตลาด ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจขาลง ทำให้ผู้ประกอบการต้องรู้จักปรับตัวพัฒนาอยู่เสมอ ในช่วงวิกฤตโควิด-19 นี้ ก็ทำให้ร้านอาหารหลายๆร้านสามารถคิดหาหนทางใหม่ในการดำเนินธุรกิจ แบบที่ไม่เคยคิดว่าจะทำได้ หรือไม่เคยลองทำมาก่อนในภาวะปกติ เรียกได้ว่าเป็นความท้าทายที่ผลักดันให้หลายคนได้ลองเปิดประตูบานใหม่         ในด่านต่อไปที่ผู้ประกอบการร้านอาหารต้องคิดวางแผนคือ หากสถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้น และการแพร่ระบาดของไวรัสอยู่ในการควบคุมแล้ว ธุรกิจร้านอาหารจะต้องทำอย่างไรเพื่อให้ไปต่อได้เร็ว และสามารถคว้าโอกาสได้ก่อน ลองมาดูปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ ร้านอาหารฟื้นตัว ได้เร็วหลังผ่านวิกฤตกันครับ   ปัจจัยสำคัญช่วยให้ “ร้านอาหารฟื้นตัว” เร็วหลังวิกฤต   1. สร้างฐานลูกค้าประจำให้กลับมาซื้อซ้ำ         การขายแบบเดลิเวอรีหรือทางออนไลน์มากขึ้น ย่อมทำให้ทางร้านเก็บข้อมูลของลูกค้า และข้อมูลการขายเมนูอาหารต่างๆ ได้ง่ายขึ้นมาก กลุ่มเป้าหมายของร้านก็จะชัดเจนมากขึ้น ทางร้านก็ต้องสร้างช่องทางการติดต่อ และช่องทางการสั่งอาหารให้ครบถ้วน มีแผนการตลาดที่ช่วยรักษาลูกค้ากลุ่มนี้ให้กลับมาซื้ออาหารซ้ำอีก อำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าที่ใช้บริการ หากได้รับคำติชมก็สามารถแสดงความรับผิดชอบ และปรับปรุงแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว […]

5 ขั้นตอน พัฒนาทีมงานแบบง่ายๆ ใช้ได้ทุกร้าน

เพราะปัญหาเรื่องทีมงาน เป็นปัญหาคลาสสิคของร้านอาหาร ที่เจ้าของร้านทุกคนพอเปิดไปสักพัก ก็ต้องเจอไม่ว่าจะเป็น พนักงานทำออเดอร์ผิด รสชาติหน้าตาอาหารผิดเพี้ยน เสริฟผิดโต๊ะ รับออเดอร์ตกหล่น ความสะอาดภายในร้านและในครัว จนถึงปัญหาการลาออกบ่อยของพนักงาน   ผมเชื่อว่าสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปัญหาเหล่านี้ไม่ถูกแก้ และกลับมาหาเราซ้ำๆ ไม่ใช่เพราะเราไม่สอน……… แต่ปัญหาคือ เราไม่มี Flow Chart หรือ SOP ของการพัฒนาความสามารถให้พนักงาน   เมื่อเราไม่ได้วางลำดับขั้นตอนของการสอนเพื่อประเมินพนักงานว่าเขาอยู่จุดไหนแล้ว  และจากนี้เขาควรจะไปไหนต่อ มันก็เลยทำให้เขาอยู่จุดเดิม พอเกิดปัญหา ก็เลยเป็นภาระของ เจ้าของร้านที่ต้องเข้ามาแก้อยู่เสมอ   ยกตัวอย่างปัญหาในครัว เช่น พนักงาน A หั่นผัก มาหลายเดือน ก็หั่นผักอยู่แบบนั้น ไม่เคยได้จับกระทะทำอะไรเลย ยิ่งกว่านั้นพอพนักงานรุ่นพี่ลาหยุด กลายเป็นว่าคนที่อยู่ คือพนักงาน A ที่ทำหน้าที่หั่นผัก จำเป็นต้องมาจับกระทะทำอาหาร แต่ทำไม่ได้ เนื่องจากไม่ได้มีการพัฒนาให้พนักงาน A ได้จับกระทะทำอาหารมาก่อน ทำงานครัวในวันนั้นไม่สามารถดำเนินงานได้อย่างราบรื่นอย่างที่ควรจะเป็น   แสดงว่าเจ้าของร้านไม่เคยตรวจสอบความสามารถของเขาเลยว่าเขาสามารถทำงานได้ด้วยตัวเองไหม อยู่ขั้นไหนแล้ว ดังนั้นเราควรจะตั้งเป้าพัฒนาศักยภาพอย่างไร ต่อพนักงานหนึ่งคนเพื่อให้เขาเกิดผลสูงสุด   วันนี้ผมมี SOP […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.