ขั้นตอน เตรียมทีมงานร้านอาหาร ที่ควรต้องรู้ ! - Amarin Academy

ขั้นตอน เตรียมทีมงานร้านอาหาร ที่ควรต้องรู้ !

ขั้นตอน เตรียมทีมงานร้านอาหาร ที่ควรต้องรู้ !

ทุกวันนี้ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม รวมทั้งเบเกอร์รี่ มีผู้เล่นรายใหม่ๆ กระโดดเข้ามาในธุรกิจนี้เป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ประกอบการรายใหม่มักให้ความสำคัญกับการตกแต่งร้าน การพัฒนาสูตรอาหาร การทำโปรโมชั่น การประชาสัมพันธ์ร้านอาหารให้เป็นที่รู้จัก ฯลฯ แต่ลืมมองข้ามสิ่งสำคัญที่สุดนั่นคือ เตรียมทีมงานร้านอาหาร ให้พร้อม

ลองสังเกตดูว่าวันแรกของการเปิดร้าน เจ้าของร้านจะพบสารพัดปัญหา ทั้งๆ ที่ตัวร้านก็เรียบร้อยดี แอร์เย็น อุปกรณ์เครื่องครัวก็พร้อม สินค้าและวัตถุดิบก็สั่งเข้ามาครบถ้วน ฯลฯ แต่ปัญหามักเกิดขึ้นที่การบริการ ทีมงานรับออร์เดอร์ผิด เสิร์ฟอาหารผิดโต๊ะ ลูกค้าโต๊ะนั้นมา 2 คนแต่พนักงานดันพาไปนั่งโต๊ะใหญ่ พอลูกค้ากลุ่มใหญ่เข้ามา ที่นั่งเต็ม…นั่นเป็นเพราะเราไม่มีการเทรนด์พนักงานให้พร้อมก่อนเริ่มเปิดร้านนั่นเอง

อย่างที่รู้กันว่าหัวใจของการทำธุรกิจอาหารให้ประสบความสำเร็จ ได้แก่ การบริหารคุณภาพ (Quality) บริการ (Service) และความสะอาด (Cleanliness) ซึ่งผู้ที่กุมหัวใจสำคัญนี้ก็คือทีมงานนั่นเอง หากเราไม่เตรียมทีมงานให้พร้อมก่อนการเปิดให้บริการ ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น จะเกิดขึ้นแน่นอน และจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกว่าผู้ประกอบการจะวิเคราะห์และแก้ปัญหานั้นได้ บางครั้งกว่าจะถึงเวลานั้นก็อาจสายเกินจะเยียวยา เพราะลูกค้าส่วนใหญ่มักไม่ให้โอกาสคุณแก้ตัวมากนัก

แล้วประเด็นสำคัญที่ต้องสร้างทีมงานเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการเปิดร้านมีอะไรบ้างล่ะ?

1.จำนวนพนักงานต้องเพียงพอ: เมื่อพูดถึงเรื่องจำนวนพนักงาน ผมมักเจอคำถามจากผู้ประกอบการร้านอาหารและเครื่องดื่มอยู่เสมอว่าต้องใช้จำนวนเท่าไร ซึ่งคำถามนี้ไม่มีกูรูท่านใดสามารถตอบได้ชัดเจน เนื่องจากจำนวนพนักงานจะขึ้นอยู่กับ concept ที่ผู้ประกอบการวางไว้ ร้านประเภท Fast Food อาจไม่จำเป็นต้องใช้พนักงานมากเท่ากับร้านประเภท Casual เพราะไม่ต้องบริการลูกค้ามากนัก ฉะนั้นเราจะเห็นว่าร้านอาหารบางร้านมีพื้นที่เท่ากัน แต่จำนวนพนักงานที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการบริหารจัดการไม่จำเป็นต้องเท่ากันเสมอไป ดังนั้นข้อนี้ต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าของร้านเองว่าจะจัดสรรกำลังคนทำงานอย่างไร

2.ค่าจ้างแรงงานควรเป็นเท่าไร: เรื่องอัตราค่าจ้าง เจ้าของร้านอาหารควรกำหนดให้ชัดเจนและเป็นมาตรฐานเดียวกัน สำหรับผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ ควรได้เท่าไร ผู้ที่มีประสบการณ์แล้ว ควรได้เท่าไร หรือบางคนระบุว่ามีประสบการณ์ก็จริง แต่ไม่ใช่ธุรกิจร้านอาหารโดยตรง จะถือว่ามีประสบการณ์หรือเปล่า ข้อนี้ต้องกำหนดให้ชัดเจน เพราะหากไม่มีหลักเกณฑ์กำหนด สุดท้ายคุณจะเจอปัญหาพนักงานการลาออกหรือขาดความตั้งใจในการทำงาน เพราะคิดว่าตัวเองไม่ได้รับความเป็นธรรม

พนักงานร้านอาหาร
พนักงานร้านอาหาร ในร้าน Copper Buffet ที่ได้ชื่อว่าเป็นร้านอาหานที่บริการดีเทียบเท่า Fine Dining

3.การแบ่งหน้าที่ของพนักงาน: การกำหนดหน้าที่ให้พนักงานแต่ละคนก็สำคัญ อย่าใช้คำว่าช่วยๆ กัน เด็ดขาด เพราะจะทำให้พนักงานสับสน สรุปหน้าที่นี้ใครต้องทำ งานนี้ของฉันหรือเปล่า? เอ๊ะ..แต่ฉันว่างานนี้น่าจะเป็นของเธอ? หรือ งานของเราที่ทำอยู่นี้ต้องประสานกับใคร? แค่ประเด็นนี้ก็ส่งผลกระทบต่อการบริการลูกค้าอย่างที่คุณคาดไม่ถึงแล้วครับ ยิ่งถ้างานผิดพลาด ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ ?

4.ศึกษาข้อกฎหมายและจ้างแรงงานให้ถูกต้อง: สำหรับผู้ที่ตั้งใจจะทำธุรกิจอาหาร จำเป็นต้องรู้ข้อนี้ให้ชัดเจน เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ สิ่งที่เจ้าของร้านอาหารต้องรู้ เช่น การประกอบกิจการใดๆ ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ต้องจัดทำข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานแล้วนำส่งเจ้าหน้าที่ตรวจแรงงานเขตพื้นที่ภายใน 7 วัน เป็นต้น เพราะถ้าเกิดปัญหา หรือโดนตรวจสอบขึ้นมาเมื่อไหร่ แล้วร้านอาหารเราทำไม่ถูกต้อง เจ้าของร้านปวดหัวแน่นอนครับ

ประเด็นต่างๆ เหล่านี้เป็นเพียงบางส่วนของการเตรียมความพร้อมเรื่องการสร้างทีมงานที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องรู้เท่านั้น แต่จริงๆ แล้วยังมีรายละเอียดอีกมากที่เราต้องรู้ ลองค่อยๆ ศึกษากันดูนะครับ !

บทความโดย อาจารย์เต้ย – พีรพัฒน์ กองทอง อดีตผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท แมคไทย จำกัด (แมคโดนัลด์ ประเทศไทย)


บทความที่เกี่ยวข้อง

5 เหตุผลที่ทำให้ พนักงานร้านอาหารลาออก

เรื่องแนะนำ

หุ้นกับเพื่อนเปิดร้านอาหารดี….แต่ต้องคุยเรื่องนี้กันก่อน

คนที่มีความฝันเหมือนกัน ตกลงจับมือร่วมกันทำธุรกิจร้านอาหาร แต่เมื่อลงขันร่วมกันแล้ว กลับขัดแย้งกันในทุกเรื่อง ก็ไม่สามารถทำร้านอาหารให้ประสบความสำเร็จได้   เมื่อต้องลงเรือลำเดียวกัน เป้าหมายในการทำร้านอาหาร และทัศนคติในการทำธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทำความรู้จักหุ้นส่วนให้มากพอ นอกจากนี้การเลือกหุ้นส่วนที่มีความถนัดที่แตกต่างกันจะช่วยส่งเสริมในส่วนที่อีกฝ่ายหนึ่งขาด และควรมอบสิทธิ์ขาดในการตัดสินใจในเรื่องที่แต่ละคนถนัดดูแล ก็เป็นอีกแนวทางในการสรุปข้อขัดแย้งที่เกิดจากการคิดเห็นที่ไม่ตรงกันได้   ลงทุนกับลงแรง การลงทุนทำร้านอาหารกับเพื่อนมักเป็นลักษณะลงทั้งทุนและแรงด้วยกัน เมื่อมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดต้องทำมากกว่า หรือได้รับค่าตอบแทนน้อยกว่า จะนำไปสู่ข้อขัดแย้งได้มากที่สุด เพราะฉะนั้นต้องแบ่งเรื่องงานและเรื่องเงินให้ลงตัว ถ้าลงแรงด้วยควรกำหนดค่าตอบแทนเงินเดือนให้อยู่ในค่าใช้จ่าย ในขณะเดียวกันควรมีระบบตรวจสอบที่โปร่งใส และสัดส่วนต้องเป็นไปตามเงินลงทุนตามหุ้นที่กำหนดไว้ตั้งแต่แรก   ไม่มีสัญญาใจ ในโลกของการทำธุรกิจ อย่าทำสัญญาปากเปล่าแม้ว่าจะเป็นเพื่อนสนิทหรือคนรัก ถึงจะเป็นแค่ร้านอาหาร หรือร้านกาแฟเล็ก ๆ ที่เริ่มต้นลงทุนไม่กี่บาทก็ตาม การเขียนข้อสัญญาร่วมกันมีผลทางด้านกฎหมาย ซึ่งจะต้องกำหนดบทบาทหน้าที่รับผิดชอบ เงินลงทุน จำนวนหุ้น  การคิดเงินปันผลและระยะเวลาในการคืนผลกำไร ยังเป็นหลักฐานการจ่ายเงิน ที่ยืนยันการร่วมลงทุนระหว่างคุณและหุ้นส่วน ซึ่งหากสุดท้ายเกิดปัญหาจนไปต่อไม่ได้ ข้อกำหนดที่ทำร่วมกันยังเป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายในการหาข้อสรุปข้อขัดแย้งร่วมกันด้วย   อย่าอะไรก็ได้….แผนธุรกิจต้องชัดเจน ช่วงเริ่มต้นอะไรก็ดี เพราะไม่มีใครมองเห็นถึงปัญหา และมักจะตกม้าตายด้วยความคิดที่ว่าคนกันเองไม่โกงแน่นอน แผนธุรกิจจะช่วยให้การทำกิจการร้านอาหารเป็นไปอย่างมีทิศทาง ทั้งงบประมาณในการลงทุน การทำการตลาด การพัฒนาสินค้าและบริการ เป้าหมายธุรกิจ รวมถึงระยะเวลาในการลงทุนเพิ่ม ควรเลือกที่จะทะเลาะกันตั้งแต่มันอยู่ในกระดาษ ก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติงานจริงที่เป็นการตกลงแล้วของทุกฝ่ายเท่านั้น    อย่ามองข้าม…เรื่องเล็กที่กลายเป็นเรื่องใหญ่ ไม่ใช่เพียงแค่ผลประโยชน์ที่ทำให้หุ้นส่วนร้านขัดแย้งกันเสมอไป […]

5 เรื่องรู้ก่อน….เปิดร้านอาหาร รู้แล้วร้านคุณจะไม่เจ๊ง

5 เรื่องรู้ก่อน….เปิดร้านอาหาร รู้แล้วร้านคุณจะไม่เจ๊ง! เชื่อหรือไม่…กว่าครึ่งของร้านอาหารที่เปิดใหม่ในทุกปี ประสบกับปัญหาจนต้องปิดตัวลง ถ้าคุณมีเงินทุนมากพออาจจะได้ประสบการณ์และเริ่มต้นใหม่ได้อย่างรวดเร็ว แต่หลายคนที่ใช้เงินเก็บมาทั้งชีวิตเพื่อลงทุนเปิดร้านอาหาร ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะลุกขึ้นได้อีกครั้ง ถ้าหากความฝันของคุณคือการเปิดร้านอาหาร มีร้านกาแฟเล็ก ๆ เป็นของตัวเอง นี่คือ 5 ข้อ ที่คุณต้องเข้าใจมันอย่างถ่องแท้ ก่อนเริ่มต้นทำความฝันของคุณให้เป็นจริง   รู้จักตลาด….. รู้ว่าจะขายอะไร และขายอย่างไร 9 %* คือตัวเลขของร้านอาหารที่เพิ่มขึ้นในปีล่าสุด มีร้านค้ากว่าหมื่นรายกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพ และจังหวัดอื่น ๆ คุณจะเป็น 1 ใน 9 % ที่คงอยู่หรือปิดตัวลงไปในแต่ละปี จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลทางการตลาดที่จะทำให้คุณมองเห็นภาพรวม สามารถกำหนดจุดยืน และทิศทางการตลาดให้เหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบัน แนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภค ทำให้เห็นโอกาสทางธุรกิจ เช่น การให้ความใส่ใจเรื่องสุขภาพการกินอาหารมากขึ้น สังคมที่มีผู้สูงอายุมากขึ้นแต่มีร้านอาหารที่ตอบโจทย์น้อย  อิทธิพลของอาหารจากต่างประเทศ พฤติกรรมการสั่งอาหารผ่านผู้ให้บริการเดลิเวอรี่ ที่ส่งผลกระทบต่อยอดขายร้านอาหารในปัจจุบัน *ข้อมูลอ้างอิงจากศูนย์วิจัย กสิกรไทย ณ มีนาคม 2562   รู้ทำเล….รู้ว่าจะขายที่ไหน ทำเลเป็นปัจจัยสำคัญ หากตัดสินใจเลือกทำเลแล้ว คุณจะไม่สามารถเปลี่ยนทำเลไปไหนได้เลยนอกเสียจากว่าเปลี่ยนร้านให้เข้ากับทำเลนั้น ๆ […]

เช็กลิสต์ QSC ระบบ ประเมินมาตรฐาน ที่ร้านอาหารคุณต้องมี!

หนึ่งในระบบเซตอัพร้านอาหารที่สำคัญ ก็คือการออกแบบเครื่องมือในการ ประเมินมาตรฐาน หรือผลการปฏิบัติงานของร้าน ที่เรียกว่า QSC  ถือเป็นคู่มือที่ใช้ควบคุมการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ โดยจะครอบคลุม 3 เรื่องสำคัญ ได้แก่   เช็กลิสต์ QSC ระบบ ประเมินมาตรฐาน ที่ร้านอาหารคุณต้องมี! Q = Quality การประเมินด้านคุณภาพ เริ่มตั้งแต่วัตถุดิบ วิธีการเก็บรักษาวัตถุดิบ วิธีการปรุงอาหารและการเสิร์ฟ ทั้งรสชาติ ปริมาณ หน้าตาอาหาร   S =Service การประเมินด้านการบริการ เริ่มตั้งแต่การต้อนรับลูกค้า การแนะนำรายการสินค้า ความเต็มใจบริการ ความสุภาพของพนักงาน ความถูกต้องในการรับรายการอาหาร   C = Cleanliness การประเมินด้านความสะอาด เริ่มประเมินตั้งแต่ การแต่งกายของพนักงาน ความสะอาดของหน้าร้านและหลังร้าน รวมไปถึงการดูแลรักษาและซ่อมบำรุงอุปกรณ์ครัว   ตัวอย่างการทำ QSC : ร้านกาแฟ มาดูกันว่าการทำ QSC ร้านกาแฟ จะกำหนดให้ควบคุมในเรื่องใดบ้าง ยกตัวอย่างเช็กลิสต์ […]

ต่อเติมพื้นที่อาศัยเป็นคาเฟ่ ต้องรู้เรื่องกฎหมายอะไรบ้าง ?

ต่อเติมพื้นที่อาศัยเป็นคาเฟ่ ต้องรู้เรื่องกฎหมายอะไรบ้าง ? ปรับปรุงอาคาร ที่จอดรถ เพื่อพาณิชย์ กฎหมายเบื้องต้นสำหรับคนทำคาเฟ่ ธุรกิจคาเฟ่ยังคงเป็นรูปแบบธุรกิจที่ผู้ประกอบการหลายต่อหลายคนให้ความสนใจที่จะก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของตลาด ด้วยความนิยมนี้จึงทำให้เราสามารถพบเห็นการเปิดร้านคาเฟ่ใหม่ได้เรื่อย ๆ ซึ่งก็มีทั้งร้านขนาดใหญ่ กลาง เล็กคละกันไป แม้ว่าธุรกิจรูปแบบนี้จะเปิดได้ไม่ยาก แต่ก็ต้องอย่าลืมว่าในการทำธุรกิจก็ยังต้องให้การคำนึงถึงข้อกฎหมายต่าง ๆ โดยเฉพาะในการเริ่มต้นเปิดร้าน ที่จะมีกฎหมายเกี่ยวกับการดัดแปลง ออกแบบอาคารเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งนี้ก็เพื่อให้พื้นที่นั้น ๆ มีความเหมาะสมต่อการใช้งาน มีความปลอดภัย รวมถึงมีเสถียรภาพในเชิงภาษีและการทำบัญชีในอนาคต แม้ว่าร้านกาแฟขนาดเล็กอาจไม่ถูกบังคับใช้กฎหมายบางข้อ แต่การรู้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ทำ ก็จะช่วยเปิดมุมมอง หรือทำให้เราสามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจได้ในอนาคต เมื่อถึงคราวที่ต้องการขยับขยาย ว่าแต่เราควรรู้กฎหมายอะไรบ้าง ? มาดูกัน   กฎหมายควบคุมอาคารเบื้องต้น ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจนิยามทางกฎหมายอาคารของ “ร้านกาแฟหรือคาเฟ่” ว่าร้านรูปแบบนี้เข้าข่ายทั้งการเป็น “อาคารพาณิชย์” และ “ภัตตาคาร” จึงต้องทำการพิจารณากฎหมายของทั้งสองส่วนไปพร้อม ๆ กัน โดย ทางกฎหมายได้มีการนิยามว่า – อาคารพาณิชย์ คือ อาคารใด ๆ ที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการพาณิชยกรรมได้ และเป็นอาคารที่ก่อสร้างห่างจากถนนไม่เกิน 20 เมตร – […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.