9 ฟีเจอร์เด็ด จาก K PLUS shop ช่วยธุรกิจราบรื่น - Amarin Academy

9 ฟีเจอร์เด็ด จาก K PLUS shop ช่วยธุรกิจราบรื่น

9 ฟีเจอร์เด็ด จาก K PLUS shop ช่วยธุรกิจราบรื่น

ช่วงนี้กระแสการปรับระบบของ K PLUS สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปกำลังมาแรง แต่ K PLUS shop แอปฯ ที่ออกแบบมาเพื่อ SME ก็ไม่น้อยหน้าเช่นกัน เพราะเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้ SME เพียบเลย เราสรุปฟีเจอร์เด็ดๆ ที่น่าสนใจ และน่าจะช่วยอำนวยความสะดวกให้ SME มาได้ 9 ข้อ ดังนี้

1. QR Code 2 แบบ ทั้งแบบระบุยอดเงิน และไม่ระบุยอดเงิน

ข้อนี้น่าจะโดนใจร้านค้าแทบทุกร้าน เพราะปัญหาสำคัญของร้านค้าคือ ถึงจะมี QR Code ตั้งอยู่หน้าร้านให้ลูกค้าสแกน แต่ลูกค้าก็ต้องคอยมาถามว่า “ยอดเงินเท่าไร” แล้วค่อยกดโอน ซึ่งบางครั้งก็พิมพ์ยอดเงินผิด ร้านก็ต้องมานั่งทำเรื่องคืนเงิน หรือถ้าโอนเงินขาด ลูกค้าก็ต้องโอนซ้ำ (ถ้าร้านไม่ได้ดูว่ายอดไม่ตรง ก็อาจจะขาดทุนได้)

K PLUS shop เลยปรับระบบใหม่ ให้เราสามารถระบุยอดเงินได้ใน QR Code ได้ แค่กดสร้าง QR Code ใน K PLUS shop แล้วระบุยอดเงินลงในนั้น ลูกค้าแค่สแกนแล้วกดโอนได้เลย ไม่ต้องกลัวยอดผิด

แต่ถ้าร้านไหนที่อยากให้ลูกค้าระบุยอดเงินเอง ก็ยังใช้ QR Code แบบไม่ระบุจำนวนเงินได้เช่นเดิม

2.แจ้งเตือนเงินเข้าแบบ Real time พร้อมเสียงพูด

เคยไหม ช่วงที่ยุ่งๆ ลูกค้าเยอะ พอลูกค้าบอกโอนเงินแล้ว เราก็ไม่มีเวลาเช็คว่าเงินเข้าจริงๆ ไหม อาศัยความเชื่อใจคิดว่าเขาคงไม่โกง สุดท้าย เงินไม่เข้า กระเป๋าแฟ่บ……

K PLUS shop จึงพัฒนาระบบให้มีเสียงพูดแจ้งเตือนเวลามีเงินเข้า แถมระบุยอดได้ด้วย เช่น เมื่อลูกค้าโอนเงินเข้าบัญชีปุ๊บ แอปฯ จะมีเสียงแจ้งเตือนขึ้นมาทันทีว่า “เงินเข้า 200 บาท” เจ้าของร้านไม่ต้องก้มดูมือถือหรือละสายตาจากงานหรือลูกค้าอื่นๆ ก็รู้ทันทีว่าเงินเข้าแล้ว

3.เพิ่มสิทธิ์พนักงานรู้ยอดเงินเข้า เจ้าของร้านไม่ต้องเฝ้าร้านเอง

อยากเป็นนายตัวเอง อยากมีอิสระ พอเปิดร้านปุ๊บ…ต้องเข้าร้านทุกวัน ไม่เคยได้หยุด เพราะไม่กล้าทิ้งร้าน เพราะยังไม่ไว้ใจลูกน้อง

หรือบางร้านลองเอา QR Code มาตั้งให้ลูกค้าจ่ายเงินผ่านแอปฯ คิดว่ายังไงเงินก็เข้ากระเป๋า ไม่ต้องกลัวลูกน้องโกง สุดท้าย เวลาลูกค้าแจ้งว่าจ่ายเงินแล้ว ลูกน้องก็ต้องคอยวิ่งไปตามเจ้าของร้าน ให้เช็คว่าเงินเข้าจริงๆ หรือเปล่า

สุดท้ายแล้ว อิสระอยู่ที่ไหน ?

ฟีเจอร์ใหม่ของ K PLUS shop จึงเพิ่มสิทธิ์พนักงานให้สามารถรู้ได้ว่าเงินเข้าบัญชีแล้วจริงๆ (แต่ไม่รู้ยอดรายได้รวมทั้งหมด) ซึ่งเราสามารถเพิ่มสิทธิ์พนักงานได้สูงสุดถึง 10 คน เงินเข้าเมื่อไหร่ พนักงานเห็น เจ้าของร้านก็รู้ อยู่ที่ไหน ก็เช็คยอดเงินได้ คราวนี้ไม่จำเป็นต้องเข้าร้านทุกวัน ได้พบอิสระอย่างแท้จริง

4.สร้าง “บิลแมวเขียว” กดสั่งซื้อปุ๊บ ก็รวมรายการส่งลูกค้าทันที

ข้อนี้เหมาะสำหรับธุรกิจร้านค้าออนไลน์มาก เพราะแก้ไขปัญหาให้ร้านค้าออนไลน์ได้ตรงจุด เช่น ลูกค้าโอนเงินผิดบัญชี โอนเงินผิดยอด หรือร้านค้าเจอสลิปปลอม

“บิลแมวเขียว” คือบิลออนไลน์ ที่เจ้าของร้านสามารถสร้างและส่งบิลผ่าน Social Media ให้ลูกค้าได้ทันที เมื่อลูกค้าได้รับบิลก็กดชำระเงินได้เลย ร้านค้าได้รับเงินถูกต้อง แถมยังใส่รายการสินค้าได้ถึง 10 รายการ ไม่ต้องเสียเวลานั่งคำนวณราคาเองเพราะระบบคำนวณยอดรวมราคาสินค้าทั้งหมดให้อัตโนมัติ และแม้ว่าบิลจะมีอายุ 24 ชั่วโมง แต่หากเกินเวลาชำระ ก็สามารถส่งซ้ำได้โดยไม่ต้องสร้างบิลใหม่

5.เชื่อมระบบ Shippop คำนวณค่าส่ง เช็คสถานะ ทำใบแปะหน้าพัสดุ

ปัญหาสำคัญของการส่งสินค้าออนไลน์คือ เจ้าของร้านคำนวณค่าขนส่งผิด จากที่คิดว่าจะได้กำไรกลับขาดทุนซะอย่างงั้น

K PLUS Shop เลยเชื่อมต่อกับระบบของ Shippop ช่วยเปรียบเทียบราคาการขนส่งรูปแบบต่างๆ โดยให้เจ้าของร้านเลือกบริการเองตามสะดวก จะส่งทางไปรษณีย์ หรือขนส่งเอกชนรูปแบบอื่นๆ ก็ได้ โดยระบบจะคำนวณขนาดกล่อง น้ำหนัก ระยะทางให้อัตโนมัติ เจ้าของร้านก็ไม่ต้องปวดหัว นั่งคำนวณว่าควรคิดค่าส่งเท่าไร ทำให้ร้านค้าบริหารต้นทุนได้สะดวกยิ่งขึ้น และยังมีบริการทำใบแปะหน้ากล่องพัสดุ ไม่ต้องเสียเวลามานั่งพิมพ์เองให้ยุ่งยาก ที่สำคัญลูกค้ายังสามารถเช็คสถานะการจัดส่งสินค้าได้ตลอดเวลา

6.เจาะตลาดจีน รับชำระเงินจาก E-Wallet : Alipay / Wechat pay

ทุกวันนี้ชาวจีนเข้ามาเที่ยวในประเทศไทยเยอะมาก ซึ่งกำลังซื้อก็สูงซะด้วย กลายเป็นโอกาสสำหรับร้านค้าทั่วไปที่จะขยายฐานลูกค้า ดูท่าทางแล้วโอกาสกำลังมา…แต่ติดปัญหาตรงที่ ชาวจีนส่วนใหญ่ใช้จ่ายด้วย Alipay และ Wechat pay ถ้าเขาไม่มีเงินบาทติดตัวมา เราก็ขายของไม่ได้

K PLUS Shop จึงพัฒนาระบบให้สามารถรับชำระเงินได้ทั้ง Alipay และ Wechat pay จบปัญหาเรื่องการรับเงินจากนักท่องเที่ยวชาวจีน เพราะเวลาซื้อของคนจีนเห็นราคาเป็นหยวน แม่ค้าเห็นรายรับเป็นบาท แฮปปี้ทั้ง 2 ฝ่าย

7.รายงานยอดขาย Real Time แถมแสดงสัดส่วนลูกค้าประจำและลูกค้าทั่วไปได้ด้วย

ฟีเจอร์นี้น่าจะเหมาะกับร้านค้าทุกรูปแบบ ที่ไม่ต้องนั่งทำบัญชีรายรับรายจ่ายเองอีกต่อไป เพราะแอปฯ จะมีรายงานยอดขายอย่างละเอียดทั้งรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน ช่วยบริหารการขาย เก็บสถิติร้านค้า แสดงรีพอร์ต สรุปให้เข้าใจได้ง่าย แถมยังเปรียบเทียบยอดขายระหว่างปีนี้กับปีที่แล้วได้ด้วย

ที่สำคัญยังเก็บข้อมูลลูกค้า เพื่อแสดงสัดส่วนลูกค้าใหม่ ลูกค้าเดิม และลูกค้าประจำด้วย ทำให้เรารู้ว่าตอนนี้ธุรกิจของเราถึงเวลาที่ควรหาลูกค้าใหม่เพิ่มหรือต้องรักษาลูกค้าเดิมเอาไว้ให้อยู่หมัด

8.บัตรสะสมแสตมป์ สร้างลูกค้าประจำ

การแสวงหาลูกค้าใหม่ๆ ว่ายากแล้ว การรักษาฐานลูกค้าเดิมยากยิ่งกว่า เพราะทุกวันนี้คู่แข่งในตลาดมีมากขึ้น ถ้ามีเจ้าใหม่ๆ เข้ามาเสนอสินค้าหรือบริการ ลูกค้าก็พร้อมจะลอง ฉะนั้นร้านค้าต้องปรับตัว พยายามรักษาฐานลูกค้าเดิมเอาไว้ให้ได้ ซึ่งหนึ่งในวิธีที่ช่วยให้เกิดลูกค้าประจำคือ การใช้บัตรสะสมแสตมป์ ซึ่ง K PLUS shop ก็ถือว่าตอบโจทย์ น่าจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการซื้อซ้ำได้ดี

9.เพิ่มช่องทางการขายออนไลน์ ลง K PLUS Market 

อีกหนึ่งฟีเจอร์ที่หลายคนไม่เคยรู้ว่ามีอยู่ แต่ KBank เขาประกาศแล้วว่ากำลังจะเดินหน้าดันฟีเจอร์นี้อย่างเต็มตัว คือ K PLUS Market แหล่งรวมร้านค้าออนไลน์ขนาดใหญ่ ซึ่งมีฐานลูกค้าเป็นผู้ใช้งาน K PLUS ที่มีมากกว่า 9.4 ล้านราย

ข้อดีของ K PLUS Market คือ เจ้าของร้านสามารถสมัครและอัปโหลดสินค้าใหม่ๆ รวมทั้งราคาและโปรโมชั่นเด็ดๆ ได้ตลอดเวลา ลูกค้าก็ไม่ต้องกังวลกับปัญหาร้านค้าปลอม เพราะว่า KBank มีเจ้าหน้าที่คอยคัดกรองร้านค้าอย่างเข้มข้น

เราว่า 9 ฟีเจอร์ที่เพิ่มเข้ามานี้ ถือว่าตอบโจทย์ ช่วยแก้ปัญหาให้ SME ได้เยอะเลยทีเดียว แต่ถ้าใครยังมีข้อสงสัยเพื่อเติมหรืออยากรู้รายละเอียดลึกกว่านี้ เข้าไปในเว็บไซต์ของเขาได้เลย  https://bit.ly/2ORJPWX

ลองโหลดมาใช้ดูนะ ใช้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายด้วย

เรื่องแนะนำ

ไมเนอร์

“ ไมเนอร์ ” ทุ่ม 2 พันล้าน ซื้อกิจการไก่ทอด “ บอนชอน ” ในไทย

บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ MINT  ประกาศเข้าลงทุนใน บริษัท ชิคเก้น ไทม์ จำกัด ประเทศไทย (ชิคเก้น ไทม์) ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจร้านอาหารชื่อดังภายใต้แบรนด์ไก่ทอด บอนชอน กว่า 40 สาขา ในประเทศไทย ด้วยการลงทุนในสัดส่วน 100% ใน ชิคเก้น ไทม์ โดยเม็ดเงินลงทุนในครั้งนี้เป็นจำนวนถึง 2 พันล้านบาท   “ ไมเนอร์ ” ทุ่ม 2 พันล้าน ซื้อกิจการไก่ทอด “ บอนชอน ” ในไทย การลงทุนของ ไมเนอร์ ในครั้งนี้ นายวิลเลียม เอลล์วูด ไฮเน็คกี ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการของ MINT เล็งเห็นว่า ไก่เป็นหนึ่งในเนื้อสัตว์ที่คนไทยให้ความนิยมรับประทานมากที่สุด และตลาดไก่ยังมีศักยภาพในการเติบโตอีกมาก ซึ่งจากการที่ใช้เวลาในการค้นหาแบรนด์ที่เหมาะสมเพื่อช่วยเสริมสร้างเครือร้านอาหารของไมเนอร์ ก็พบว่า บอนชอนมีความเหมาะสมเป็นอย่างมากกับแบรนด์ที่มีอยู่ในการเป็นร้านอาหารแบบนั่งทาน […]

สไปร์ท

สไปร์ท เปลี่ยนขวดสี เป็นขวดใส ผลักดันการรีไซเคิลพลาสติกครั้งสำคัญ

เชื่อว่าเครื่องดื่ม สไปร์ท ขวดสีเขียว เป็นเอกลักษณ์และภาพจำที่คุ้นเคยของคนทั่วโลก แต่ด้วยกระแสการหันมาใส่ใจเรื่องการใช้พลาสติกมากขึ้น หลายองค์กรเริ่มให้ความสำคัญและตื่นตัวกับเรื่องนี้ ล่าสุดบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง โคคา-โคล่า ได้มีการประกาศเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ใหม่ของ “ สไปรท์ ” โดยเปลี่ยนมาใช้ขวดพลาสติกแบบใส แทนการใช้ขวดสีเขียวแบบเดิม ในภูมิภาคอาเซียน โดยการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้ก็เพื่อให้สอดคล้องกับเทรนด์ของโลก ที่พยายามผลักดันในการตามเก็บและรีไซเคิลขวดพลาสติกพีอีที (Circular Economy)   สไปร์ท เปลี่ยนขวดสี เป็นขวดใส เครื่องดื่มสไปรท์จำหน่ายในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยบรรจุภัณฑ์ขวดพลาสติกสีเขียวที่ผู้บริโภครู้จักดีมาตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรกในฟิลิปปินส์เมื่อปี พ.ศ. 2511 และเพิ่งมีการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ เนื่องด้วย The Coca-Cola Company ต้องการเดินหน้าโปรเจ็คตามวิสัยทัศน์ World Without Waste สานต่อความมุ่งมั่นเดินหน้าผลักดันการรีไซเคิลขวดพลาสติกเพื่อให้สามารถนำขวดพลาสติกเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ง่ายขึ้น และนำกลับมาใช้ใหม่ได้ต่อไป  ซึ่งก่อนหน้านี้กลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่าในยุโรป ประสบความสำเร็จในการยกเลิกใช้ขวดพลาสติกสีเขียวสำหรับสไปรท์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต่อไปก็จะเป็นการเดินหน้าในโซนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้เริ่มเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์เป็นขวดพลาสติกใสในประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในเดือนพฤศจิกายนนี้ ส่วนประเทศอื่นๆ จะทยอยเปลี่ยนในปี 2563 สไปร์ท เปลี่ยนสีขวด ช่วยให้เกิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน การเปลี่ยนมาใช้ขวดพลาสติกพีอีทีแบบใส แทนการใช้ขวดพลาสติกสีแบบเดิม ยังเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคได้เป็นอย่างมาก เพราะสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างไม่รู้จบ และเกิดเป็นระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งการยกเลิกใช้บรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มชนิดพลาสติกพีอีทีแบบสี คือข้อเสนอแนะสำคัญในรายงานการเร่งสร้างแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนจากบรรจุภัณฑ์ขวดพีอีทีหลังการบริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ฉบับใหม่ อีกด้วย   […]

เฟ้นหาผู้ประกอบการรุ่นใหม่ พัฒนาเมืองอัจฉริยะด้วยดิจิทัล ในโครงการ SMART CITY D – BOOST CAMP, (EEC FORUM)

ดีป้า กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับ สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และบริษัท ดูเรียน คอร์ปปอเรชัน จำกัด (DURIAN) จัดโครงการ SMART CITY D - BOOST CAMP

เทรนด์ธุรกิจอาหาร

5 เทรนด์ธุรกิจอาหาร ในประเทศไทย ปี 2020 ที่ยังโตได้

ในปีหน้า 2020 ธุรกิจอาหารในประเทศไทย ยังไปต่อได้ไหม? ยังน่าลงทุนอยู่หรือไม่? เชื่อว่านี่คงเป็นคำถามที่เจ้าของธุรกิจร้านอาหาร หรือแม้แต่ผู้ที่กำลังจะก้าวเข้ามาในแวดวงธุรกิจอาหาร มีข้อสงสัยในเรื่องนี้ ซึ่งข้อมูลจาก EUROMONITOR พบว่า ธุรกิจตลาดอาหารในประเทศไทยยังไปได้ดี แต่จะมี เทรนด์ธุรกิจอาหาร ประเภทใดที่จะไปต่อได้ในปี 2020 มาดูกัน   5 เทรนด์ธุรกิจอาหาร ในประเทศไทย ปี 2020 ที่ยังโตได้ อย่างที่กล่าวไปว่า ในปีหน้า หรือปี 2020 นั้น เหล่าผู้ประกอบการร้านอาหาร คงมีความกังวลอยู่ว่า แนวโน้มตลาดอาหารในประเทศไทยนั้น จะไปในทิศทางใด และจะมีโอกาสที่เติบโตมากขึ้นหรือไม่ ซึ่งก็ได้มีข้อมูลจาก EUROMONITOR บริษัทชั้นนำด้านข้อมูลการตลาด เผยว่า ภาพรวมตลาดอาหารในประเทศไทยเมื่อปีที่ผ่านมานั้น มีมูลค่ากว่า 4 แสนล้านบาท ในขณะที่ปัจจุบัน และในอนาคต พฤติกรรมของผู้บริโภคเองก็มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น ผู้ประกอบการเอง ก็ควรที่จะทำความเข้าใจในพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคเช่นกัน เมื่อตลาดอาหารในประเทศไทยปีหน้า ยังไปต่อได้ แล้ว เทรนด์ธุรกิจอาหาร ประเภทใดที่ยังน่าสนใจ และต้องจับตาในปี 2020 มาดูกัน   […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.