โชนัน (Chounan) พลิกจากขาดทุนเป็นกำไร ด้วยการบริหารต้นทุน - Amarin Academy

โชนัน (Chounan) พลิกจากขาดทุนเป็นกำไร ด้วยการบริหารต้นทุน

โชนัน (Chounan) พลิกจากขาดทุนเป็นกำไร ด้วยการบริหารต้นทุน

ถ้าลงมือลงแรงทำร้านอาหารสาขาแรกไปแล้วเจ๊ง หลายคนคงท้อและใช้เวลาตั้งหลักอยู่นาน แต่สำหรับคุณปอ-กุลวัชร ภูริชยวโรดม เจ้าของร้าน โชนัน มีวิธีคิดอย่างไรถึงตั้งหลักได้เร็ว จนตอนนี้ร้านโชนันมีสาขาในห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้าทั่วกรุงเทพฯ กว่า 20 สาขา และกำลังขยายสาขาไปยังภาคตะวันออกที่เป็นหมุดหมายต่อไป

 

ธุรกิจต้องเติบโตและขยายสาขาให้ได้เหมือน McDonald’s

เราอยากเริ่มต้นทำธุรกิจของตัวเอง โดยมีความตั้งใจว่าจะมีแนวทางในการบริหารงานอย่างมืออาชีพ ต้องเป็นธุรกิจค้าปลีก โดยมีความฝันว่าธุรกิจของตัวเองนั้นต้องสามารถขยายสาขาได้เหมือน McDonald’s เลยลองศึกษาตลาดพบว่าช่วงนั้น (ปี 2009) ร้านอาหารแนวตะวันตกมีเยอะอยู่แล้ว เลยตั้งใจว่าจะทำร้านอาหารแนวตะวันออก ก็ตัดสินใจบินไปดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น 10 กว่าวัน เพื่อตระเวนชิมข้าวหน้าต่างๆ (Donburi)

หลังกลับมาจากญี่ปุ่นก็ได้ไปฝึกเรียนวิธีทำอาหารจากเชฟชาวญี่ปุ่นซึ่งเป็นคนรู้จักชื่อคุณโคบายาชิ เราได้ทดลองฝึกฝนและทำเมนูต่างๆ เช่น ข้าวหน้าเนื้อ แฮมเบิร์ก ฯลฯ จนได้รู้ว่ารสชาติแบบดั้งเดิมที่อร่อยนั้นเป็นอย่างไร ในเดือนสิงหาคม 2009 เราพาร้านโชนันไปเปิดเป็นบูธเล็กๆ เพื่อทดลองตลาดในงานเทศกาลอาหารญี่ปุ่นที่สยามพารากอน เน้นขายอาหารจานด่วน โดยมีเมนูยอดฮิตคือข้าวหน้าเนื้อและไข่ออนเซ็น จากกระแสตอบรับที่ดีในงานนั้น ทำให้เกิดร้านโชนันสาขาแรกขึ้นที่ซอยสุขุมวิท 24 โดยมีคอนเซ็ปต์เป็น Rice Bowl Café มีลูกค้าส่วนใหญ่เป็นคนญี่ปุ่น

 

ทำสาขาแรกแล้วเจ๊ง!! แต่พลิกจากวิกฤติจนมีสาขาที่ 2 3 4…ได้

เราขายสาขาแรกอยู่ปีกว่าๆ เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นคือเหตุการณ์ทางการเมือง ทำให้กลุ่มลูกค้าไม่สามารถเข้าถึงเราได้ ประกอบกับเจ้าของพื้นที่มีปัญหาฟ้องร้องเรื่องที่จอดรถ จนทำให้ที่จอดรถหน้าร้านหายไป พอเจอสถานการณ์นั้นเข้าไปเราจึงต้องตัดสินใจปิดร้านสาขาแรกลงด้วยความรู้สึกผิดหวัง เพราะลงทุนครั้งแรกไปถึง 1.6 ล้านบาท

อย่างไรก็ตามเรารู้ตัวเองว่าเราต้องการไปต่อ และธุรกิจยังมีศักยภาพที่จะเติบโตได้ เพราะเหตุผลที่ร้านสาขาแรกต้องปิดล้วนมาจากปัจจัยภายนอกเท่านั้น เลยเป็นกำลังใจให้เราไม่ท้อและตัดสินใจนำร้านเข้าห้างสรรพสินค้า เพื่อไปยืนอยู่ท่ามกลางกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในช่วงแรกซึ่งเป็นกลุ่มคนทำงาน ความที่ต้องการจะอยู่รอดให้ได้เราเลยลองทำผังร้านแบบ Open Plan เป็นแบรนด์แรกๆ เพื่อนำไปเสนอศูนย์การค้า จนได้เปิดบนห้างสรรพสินค้าครั้งแรกที่เซ็นทรัลลาดพร้าวในปี 2011

ครั้งแรกที่ทำแล้วเจ๊งก็ทำให้การเปิดสาขา 2 ยังไม่มีความมั่นใจนัก แต่เราใช้วิธีคิดแบบสู้ให้ถึงที่สุด ต้องเดินต่อไปข้างหน้า ประกอบกับตอนนั้นเซ็นทรัลต้องการร้านอาหารใหม่ๆ ที่เป็นแบรนด์ในประเทศมากขึ้น จึงได้โอกาสไปเปิดร้านที่เซ็นทรัลสาขาลาดพร้าว

จากเซ็นทรัลลาดพร้าวต่อมาอีก 4 เดือนก็เปิดสาขาเซ็นทรัลพระราม 9 ตอนนั้นเป็นจังหวะที่ห้างฯ กำลังจะเปิดใหม่พอดี เราตัดสินใจโดยที่ไม่รู้เลยว่าจะขายดีหรือไม่ รู้เพียงแต่ว่าต้องเอา ต้องทำ ปรากฏว่าผลตอบรับดีเกินคาดด้วยทำเลที่ตั้งของร้านดีทำให้ยอดขายเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จากรายได้เดือนแรกอยู่ที่ 6 แสนบาทจนค่อยๆ โตและมาแตะที่เดือนละ 1.5 ล้านบาท

“ผมมีเป้าหมายในชีวิตและมั่นใจตั้งแต่วันแรกที่ทำร้านแล้วว่าธุรกิจนี้ต้องเติบโต โดยเกิดจากความเชื่อที่ว่า คนเราต้องไปให้สุดทาง รักในอาชีพที่เราทำ มันจะสามารถพาเราไปได้เท่าที่เราอยากจะไปถึง ระหว่างทางอาจจะมีขึ้นหรือลงบ้าง ถึงอย่างไรสิ่งนั้นก็จะเป็นอาชีพที่หล่อเลี้ยงชีวิตของเราอยู่ดี พี่ยอมรับว่าตัวเองใช้ Passion มาเป็นตัวนำในการทำงาน ตอนแรกไม่ได้มองด้วยซ้ำว่ากำไรเท่าไหร่ เหลือเงินเข้ากระเป๋าเท่าไหร่ แต่เรามองถึงโอกาสที่จะเติบโตได้ว่าเป็นเท่าไหร่มากกว่า”

 

เพิ่มค่าใช้จ่ายต่อหัวด้วยการศึกษากลุ่มลูกค้า

แค่เปลี่ยนภาพลักษณ์องค์กรเปลี่ยนจากชื่อภาษาอังกฤษว่า “Chounan” ซึ่งอาจจะอ่านยากมาเป็นชื่อร้านภาษาไทยว่า “โชวนัน” และสุดท้ายเป็น “โชนัน” เพื่อที่คนจะได้อ่านและพูดต่อได้ง่ายขึ้น เปลี่ยนจากร้านโทนสีขาวสว่างๆ ด้วยการเพิ่มสีเหลืองของไข่แดงและสีดำที่ตัดกัน เพื่อสร้างการจดจำได้มากขึ้น

รวมไปถึงทำความเข้าใจกับกลุ่มลูกค้าของตัวเองว่าแต่ละทำเลเป็นคนกลุ่มไหน เราก็จะใช้การตลาดที่ไม่เหมือนกัน เช่น สาขาศาลายาเป็นกลุ่มครอบครัว จึงเปลี่ยนโต๊ะเก้าอี้เป็นแบบเบาะนั่ง ซึ่งนั่งได้หลายคนมากขึ้น เปลี่ยนเมนูจากอาหารจานเดี่ยวเป็นเซ็ตเมนู เพิ่มความหลากหลายของเมนูข้างเคียง พร้อมเปลี่ยนการใช้ภาพประกอบในเมนูใหม่ โดยอาหารจานไหนที่เราต้องการให้ความสำคัญก็จะเน้นให้ภาพมีขนาดใหญ่ขึ้น ช่วยให้ยอดขายเติบโตมากขึ้นถึง 40% จากค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อหัวที่สูงขึ้นจาก 120 บาทเป็น 230 บาท

ลดค่าความสูญเสีย (Waste) ได้ กำไรก็เพิ่ม

ถึงตอนนี้โชนันจะมีเกือบ 20 สาขาแล้ว แต่รถส่งของเรายังมีคันเดียวอยู่เลย เพราะเราใช้วิธีบริหารจัดการรอบขนส่งในแต่ละสาขา ถือเป็นการลดค่าความสูญเสียจากการขนส่งไปในตัว นี่คือการควบคุมต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ (Lean) ทำให้ต้นทุนการจัดการของโชนันจึงต่ำ

ถ้าเป็นของสดส่วนใหญ่จะให้ซัพพลายเออร์วิ่งมาส่งโดยตรง ในส่วนของครัวกลางจึงไม่ได้มีวัตถุดิบเก็บเอาไว้ทุกอย่าง เหมือนเป็นเพียงคลังสินค้าเท่านั้น เราอาจมีทำเองบ้างในส่วนที่ซัพพลายเออร์ยังไม่สามารถทำให้เราได้ เช่น เนื้อวัวที่ต้องสไลด์ให้ได้ความบางตามความต้องการของเรา

ส่วนในเรื่องความสูญเสียจากการเคลื่อนไหว (Motion) ของพนักงาน เราใช้วิธีเปิดเคาน์เตอร์เก็บจานชามใช้แล้วเพิ่มขึ้นมา แทนที่พนักงานเก็บโต๊ะลูกค้าแล้วต้องเอาจานชามเดินเข้ามาไว้ในครัวทำให้เสียเวลา เมื่อเราปรับแล้วก็ประหยัดเวลาให้พนักงานไปทำอย่างอื่นได้อีกเยอะ

ยอดขายอาจไม่จำเป็นต้องเพิ่ม เพียงแค่ลด Waste ให้ได้ กำไรของคุณก็เพิ่มขึ้นแล้ว หลักการก็มีแค่นี้

วางระบบให้ดีคือรากฐานที่แข็งแรง ช่วยให้แบรนด์เติบโต

การพัฒนาไม่หยุด เพราะความนิยมของลูกค้านั้นเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา หากแบรนด์ไม่รู้จักปรับปรุงและพัฒนา นั่นก็เท่ากับว่าแบรนด์คุณหยุดอยู่กับที่แล้ว

“ส่วนสำคัญอีกเรื่องคือการวางระบบ พี่มีความเชื่อว่าต้องทำอะไรให้ถูกต้องตั้งแต่วันแรก เพราะมันจะทำให้เราอยู่ในเกณฑ์ของคนที่เป็นมืออาชีพ เราพยายามทำตัวเองให้เป็นมืออาชีพ แม้ว่าทุกอย่างมันคือต้นทุนก็จริง แต่ระบบที่วางไว้จะทำให้เรามีรากฐานที่แข็งแรง”

เรื่องที่เราเก่งคือการบริหารต้นทุนให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้จุดคุ้มทุนของเราไม่ได้สูงมาก การควบคุมต้นทุนร้านอาหาร เรามอนิเตอร์ค่าแรงเป็นรายสัปดาห์ ดูความสูญเสีย (Waste) ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ เราพยายามควบคุมต้นทุนค่าวัตถุดิบ ให้ได้เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 30% รวมถึงตรวจสต็อกแบบสุ่มเดือนละ 2 ครั้ง โดยการทำงานอย่างเป็นระบบจะช่วยให้เราตรวจสอบความผิดปกติได้ง่าย

เรื่องแนะนำ

แหลมเจริญ ซีฟู้ด

แหลมเจริญ ซีฟู้ด เผยเคล็ดลับสร้างแบรนด์ให้ขึ้นห้างฯ

แหลมเจริญ ซีฟู้ด ร้านอาหารทะเลชื่อดังอันดับต้นๆของประเทศ กว่าจะประสบความสำเร็จ ต้องอาศัยการบริหารจัดการที่ดีเยี่ยม วันนี้จะมาเผยเคล็ดลับความสำเร็จให้ทราบกัน

สร้างแบรนด์

How to ให้ลูกค้าเต็มใจจ่ายแม้ราคาสูง! ตอบโจทย์ด้วย การสร้างแบรนด์

เคยสงสัยไหมว่า ร้านอาหารที่ขายเมนูเหมือนๆกัน ใช้วัตถุดิบคุณภาพเดียวกัน รสชาติก็ยังอร่อยเหมือนกันอีก แต่ทำไมบางร้านที่ขายอาหารในราคาสูง กลับมีลูกค้าที่พอใจมาใช้บริการแทนที่จะไปร้านที่ราคาถูกกว่า สิ่งที่สามารถยกระดับร้านอาหารขึ้นมาและเพิ่มมูลค่าได้ นั้นคือ “การสร้างแบรนด์” How to ให้ลูกค้าเต็มใจจ่ายแม้ราคาสูง! ตอบโจทย์ด้วย การสร้างแบรนด์ มีประโยคหนึ่งที่มีคนกล่าวไว้ “ของแพงไม่มีอยู่จริง มีแต่ของที่คุ้ม กับไม่คุ้ม” แน่นอนว่าราคามีผลต่อการตัดสินใจซื้อ แต่มากกว่านั้นคือลูกค้ายอมจ่ายเพิ่มขึ้นสำหรับสิ่งที่ให้ความพึงพอใจได้มากกว่า เรียกได้ว่าถ้าโดนใจแล้ว ราคาเท่าไหร่ก็คุ้มค่า เหมือนการซื้อกาแฟจากร้านแบรนด์ดัง ลูกค้าจะรู้สึกถูกยกระดับขึ้นทันที เมื่อได้ถือไปที่ต่างๆ หรือแม้แต่ถ่ายรูปอวดเพื่อน นั่นคือความสำคัญของแบรนด์ต่อธุรกิจอาหาร   การสร้างแบรนด์ คืออะไร ? Branding หรือกระบวนการสร้างแบรนด์ เป็นการออกแบบภาพลักษณ์และความเป็นตัวตนของร้านอาหาร ผ่านการออกแบบโลโก้ สื่อโฆษณา คอนเทนต์ในสื่อออนไลน์ต่างๆ แม้แต่คอมเมนต์ในที่โต้ตอบกับลูกค้าในโซเชียลมีเดีย ก็ถือเป็นการสร้างแบรนด์ทั้งสิ้น  โดยการสร้างแบรนด์นี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสื่อสารให้แก่ลูกค้าว่า ร้านอาหารของเราขายอะไร มีจุดเด่นเอกลักษณ์อะไรบ้าง สร้างความแตกต่างให้ร้านโดดเด่นออกมาจากร้านอื่น ๆ เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค และนำไปสู่ความสนใจใช้บริการร้านอาหาร อาหารอร่อยอยู่แล้ว ทำไมสร้างแบรนด์อีก ? สมัยนี้ ความอร่อยอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ เพราะร้านอาหารที่อร่อยนั้นหาได้ง่าย ความอร่อยกลายเป็นพื้นฐานที่ร้านอาหารควรมี แต่สิ่งที่จะทำให้ลูกค้าตัดสินใจเลือกร้านคุณนั้นก็คือ “ความรู้สึก” […]

เปลี่ยนเรื่องยากของธุรกิจร้านอาหารให้เป็นเรื่องง่ายที่ OfficeMate

การทำธุรกิจร้านอาหารมักมีโจทย์มาให้แก้ทุกวัน หนึ่งในโจทย์ที่เจ้าของธุรกิจร้านอาหารต้องเจอก็คือเรื่องของ “เวลา” เพราะธุรกิจร้านอาหารประกอบด้วยฟังก์ชั่นงานต่างๆมากมาย เริ่มตั้งแต่ งานตกแต่งร้าน งานครัว งานทำความสะอาด งานบัญชี งานไอที รวมไปถึงงานบริหาร ยิ่งมีงานเหล่านี้มากขึ้น คำถามคือ จะจัดการงานทั้งหมดอย่างไรในเวลาที่มีอยู่เท่าเดิม? แถมยังต้องมาเสียเวลาไปกับการเดินทางไปที่ต่างๆ เพื่อเลือกซื้ออุปกรณ์และของใช้เข้าร้านอีก จะดีกว่าไหมหากเราสามารถลดต้นทุนแฝงส่วนนี้ลงได้? และมีเวลาเหลือไปทำงานอย่างอื่นให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น ใช้เวลาอย่างคุ้มค่า เลือกซื้อสินค้าสำหรับร้านอาหารที่ OfficeMate OfficeMate เป็นผู้ช่วยชั้นเยี่ยมสำหรับเจ้าของธุรกิจร้านอาหารที่มีสินค้าที่ตอบโจทย์ธุรกิจอย่างครบครัน เรียกได้ว่าครอบคลุมแทบทุกส่วนงาน ตั้งแต่อุปกรณ์สำหรับขั้นตอนการตกแต่งร้าน และอุปกรณ์ที่ใช้ระหว่างดำเนินกิจการ รวมถึงของใช้เบ็ดเตล็ดอื่นๆ ทำให้การเลือกซื้อสินค้าที่ออฟฟิศเมท ช่วยประหยัดเวลาของเหล่าผู้ประกอบการร้านอาหาร และเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จในธุรกิจในเวลาเดียวกัน ลดต้นทุนเวลา มาที่เดียวจบ เพราะทุกสิ่งมีครบที่ OfficeMate             อย่างที่บอกไปว่าการเลือกซื้ออุปกรณ์และของใช้สำหรับธุรกิจร้านอาหารที่ OfficeMate ครอบคลุมงานแทบทุกส่วน มาดูกลุ่มสินค้าหลักๆ ที่สามารถเลือกซื้อได้ที่ OfficeMate กันค่ะ   สร้างมุมสวยด้วยเฟอร์นิเจอร์หลากหลายสไตล์ มุมสวยๆ เฟอร์นิเจอร์เก๋ๆ คือ องค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ของร้านอาหารยุค 4.0 เพราะลูกค้านิยมถ่ายรูปลง Social Media ดังนั้นร้านอาหารที่เลือกเฟอร์นิเจอร์ในการตกแต่งร้านได้สวยและมีเอกลักษณ์ ย่อมสามารถเข้าไปอยู่ในใจลูกค้าทั้งขาประจำและขาจรได้ง่ายขึ้น แถมเป็นการโฆษณาร้านอาหารของเราทางอ้อมอีกด้วย แต่การเดินหาเฟอร์นิเจอร์มาตกแต่งร้านก็ใช้เวลาไม่ใช่น้อยเลย […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.