4 พฤติกรรมของผู้บริโภคกับการ กินอาหารนอกบ้าน - Amarin Academy

เจ้าของธุรกิจร้านอาหารต้องรู้ 4 พฤติกรรมของผู้บริโภคกับการ กินอาหารนอกบ้าน

เมื่อพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ในฐานะเจ้าของธุรกิจอาหารจึงต้องปรับตัวตาม จากรายงานการวิจัย FoodTrips ของนีลเส็น บริษัทที่ให้ข้อมูลและการประเมินผลชั้นนำของโลก ได้ทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคต่อการ กินอาหารนอกบ้าน พบว่ามีเทรนด์ที่น่าสนใจอยู่ 4 ข้อ คืออะไรบ้าง?

 

4 พฤติกรรมของผู้บริโภคกับการ กินอาหารนอกบ้าน

1.ร้านสะดวกซื้อทางเลือกเบอร์ต้น

การ กินอาหารนอกบ้าน ที่เป็นที่นิยม 3 อันดับแรกของผู้บริโภคชาวไทย คือ ร้านสะดวกซื้อ ร้านขายอาหารแบบแผงลอย (food stall) และอาหารข้างทาง (street food) เรียงตามลำดับ เหตุผลที่ผู้บริโภคเลือกที่จะเข้าร้านสะดวกซื้อหลักๆ แล้วเพื่อบรรเทาความหิวและเนื่องจากมีความรู้สึกว่าเป็นกิจวัตรประจำวัน

สมวลี ลิมป์รัชตามร กรรมการผู้จัดการ บริษัท นีลเส็น ประเทศไทย กล่าวว่า เราจะเห็นได้ว่าร้านค้าปลีกต่างๆ เช่น Lawson 108, MAXVALU, และ TOPS Daily ได้ให้ความสำคัญกับการให้บริการพื้นที่กินอาหารสำหรับลูกค้าที่เข้ามาเพื่อซื้ออาหารกินระหว่างเบรค หรืออย่างเช่น Family Mart ที่มีสาขาที่เป็น one-stop shopping destination ซึ่งมีทั้งขายของสด อาหาร บริการส่งสินค้า และแม้แต่ co-working space นี่อาจเป็นนัยสำคัญในการบ่งบอกถึงความสำคัญของการที่ผู้ค้าปลีกต้องตระหนักถึงพฤติกรรมการบริโภคและวิถีชีวิตของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เพื่อที่จะสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ดีขึ้น

ซึ่งในปัจจุบัน ร้านสะดวกซื้อเหล่านี้ก็มีการพัฒนาเรื่องการบริการและความสะดวกสบายที่เพิ่มขึ้น เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนยุคนี้

 

2.เน้นกินอาหารมื้อหลักมากขึ้น

ด้านของพฤติกรรมการกินอาหารของผู้บริโภคระหว่างวัน บางคนอาจแบ่งมื้ออาหารได้ถึง 7 มื้อ ประกอบด้วยอาหารมื้อเช้า อาหารว่างก่อนมื้อเที่ยง มื้อเที่ยง อาหารว่างช่วงบ่ายหลังมื้อเที่ยง อาหารว่างช่วงบ่ายแก่ๆ มื้อเย็น และอาหารว่างรอบดึก อย่างไรก็ตามรายงาน Food Trips เผยว่าผู้บริโภคมีพฤติกรรมการกินอาหารว่างน้อยลง ในขณะที่เพิ่มการกินอาหารมื้อหลักอย่างมื้อเช้า กลางวัน และเย็นมากขึ้น

3.การเติบโตของร้านกาแฟ (คาเฟ่)

เมื่อพูดถึงพฤติกรรมการกินอาหารนอกบ้าน คงจะเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่พูดถึงการดื่มชา กาแฟ ซึ่งเป็นหนึ่งในเทรนด์การกินอาหารของคนไทยและมีการเติบโตที่น่าสนใจ ทั้งนี้อัตราการเข้าถึงของร้านเหล่านี้อยู่ที่ 60% ทั่วประเทศ และเฉลี่ยแล้วผู้บริโภคชาวไทยจะเข้าร้านชา กาแฟประมาณ 6 ครั้งต่อเดือน ในขณะที่ผู้บริโภคในกรุงเทพนั้นเข้าร้านกาแฟโดยเฉลี่ยถึง 8 ครั้งต่อเดือน

อย่างไรก็ตามเมื่อเรามองลึกลงไปถึงกลุ่มผู้บริโภคที่ดื่มกาแฟที่แยกเป็นแต่ละประเภท จะเห็นได้ว่าสัดส่วนของกลุ่มที่ดื่มกาแฟเพราะว่าแบรนด์ของกาแฟนั้นสามารถสะท้อนและส่งเสริมภาพลักษณ์ของตัวเอง มีจำนวนที่โตขึ้น  เพราะฉะนั้น นอกเหนือจากคุณภาพและการบริการที่ดีแล้ว การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งและมีจุดยืนที่ชัดเจนก็เป็นสิ่งที่เจ้าของธุรกิจกาแฟควรคำนึงถึงเพื่อดึงดูดลูกค้าในอนาคต

4.อาหารพร้อมทาน

ประเภทอาหารพร้อมทาน หรือ Ready to Eat เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ผู้บริโภคชาวไทยให้ความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ และอัตราการเติบโตในต่างจังหวัดมีมากกว่าในกรุงเทพ สาเหตุหลักที่ผู้บริโภคไม่ต้องการทำอาหารเองนั้นเป็นเพราะต้องใช้เวลาในการเตรียมวัตถุดิบต่างๆ และไม่ชอบในส่วนของการทำความสะอาดหลังทำอาหาร

 

จากสภาพเศรษฐกิจที่ส่งผลถึงพฤติกรรมของผู้บริโภค ทำให้เราได้เห็นถึงรูปแบบการกินอาหารนอกบ้านที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละปี แสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มนั้นมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ ดังนั้นการรู้เท่าทันตลาดจะทำให้เราสามารถนำเอาความรู้นั้นมาปรับกลยุทธ์ในการบริหารธุรกิจได้อย่างทันท่วงที

 

ข้อมูลจาก: นีลเส็น

 

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ

ไวรัสโคโรน่า (COVID-19) กระทบหนัก! ร้านอาหารปรับตัวอย่างไรในวิกฤตนี้

เจ้าของร้านรู้หรือยัง? กฎกระทรวงสาธารณสุข ที่ร้านอาหารต้องทำตาม

แชร์ 10 เทคนิค ใช้ Instagram ให้ปัง เพื่อคนทำธุรกิจอาหาร

 

เรื่องแนะนำ

จิตวิทยา การตลาด

จิตวิทยา การตลาด ทำอย่างไรให้ยอดขายเพิ่ม!

รู้ไหมว่า จริงๆ แล้วมีหลัก จิตวิทยา การตลาด ที่สามารถนำมาใช้เป็นเหมือนมนต์สะกด ช่วยเพิ่มยอดขายให้ร้านอาหารได้เช่นกัน วันนี้ผมมี 5 มนต์สะกดมาเล่าให้ฟัง

5 เรื่องรู้ก่อน….เปิดร้านอาหาร รู้แล้วร้านคุณจะไม่เจ๊ง

5 เรื่องรู้ก่อน….เปิดร้านอาหาร รู้แล้วร้านคุณจะไม่เจ๊ง! เชื่อหรือไม่…กว่าครึ่งของร้านอาหารที่เปิดใหม่ในทุกปี ประสบกับปัญหาจนต้องปิดตัวลง ถ้าคุณมีเงินทุนมากพออาจจะได้ประสบการณ์และเริ่มต้นใหม่ได้อย่างรวดเร็ว แต่หลายคนที่ใช้เงินเก็บมาทั้งชีวิตเพื่อลงทุนเปิดร้านอาหาร ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะลุกขึ้นได้อีกครั้ง ถ้าหากความฝันของคุณคือการเปิดร้านอาหาร มีร้านกาแฟเล็ก ๆ เป็นของตัวเอง นี่คือ 5 ข้อ ที่คุณต้องเข้าใจมันอย่างถ่องแท้ ก่อนเริ่มต้นทำความฝันของคุณให้เป็นจริง   รู้จักตลาด….. รู้ว่าจะขายอะไร และขายอย่างไร 9 %* คือตัวเลขของร้านอาหารที่เพิ่มขึ้นในปีล่าสุด มีร้านค้ากว่าหมื่นรายกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพ และจังหวัดอื่น ๆ คุณจะเป็น 1 ใน 9 % ที่คงอยู่หรือปิดตัวลงไปในแต่ละปี จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลทางการตลาดที่จะทำให้คุณมองเห็นภาพรวม สามารถกำหนดจุดยืน และทิศทางการตลาดให้เหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบัน แนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภค ทำให้เห็นโอกาสทางธุรกิจ เช่น การให้ความใส่ใจเรื่องสุขภาพการกินอาหารมากขึ้น สังคมที่มีผู้สูงอายุมากขึ้นแต่มีร้านอาหารที่ตอบโจทย์น้อย  อิทธิพลของอาหารจากต่างประเทศ พฤติกรรมการสั่งอาหารผ่านผู้ให้บริการเดลิเวอรี่ ที่ส่งผลกระทบต่อยอดขายร้านอาหารในปัจจุบัน *ข้อมูลอ้างอิงจากศูนย์วิจัย กสิกรไทย ณ มีนาคม 2562   รู้ทำเล….รู้ว่าจะขายที่ไหน ทำเลเป็นปัจจัยสำคัญ หากตัดสินใจเลือกทำเลแล้ว คุณจะไม่สามารถเปลี่ยนทำเลไปไหนได้เลยนอกเสียจากว่าเปลี่ยนร้านให้เข้ากับทำเลนั้น ๆ […]

5 Step ตั้งราคาขาย เรียกลูกค้าเข้าร้าน

การทำร้านอาหาร มีหลายขั้นตอนในการทำ ที่สำคัญกับร้านไม่ว่าจะเป็นระบบการจัดการที่ดี การเลือกพนักงาน ระบบหลังบ้าน ซึ่งอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน และไม่ควรมองข้ามเลยก็คือการ ตั้งราคาขาย แล้วเจ้าของร้านควรมีวิธีตั้งราคาอย่างไร เพื่อเรียกลูกค้า มาดู 5 Step การตั้งราคาขายกัน   5 Step ตั้งราคาขาย เรียกลูกค้าเข้าร้าน 1.คำนวณง่าย จ่ายเร็ว การตั้งราคาเป็นตัวเลขง่าย ๆ ช่วยให้ลูกค้าไม่ลังเลที่จะซื้อ รวมถึงตัวเลขกลม ๆ ไม่มีเศษสตางค์ ที่ง่ายต่อการทอนเงิน เพื่อลดเวลาในการคิดประมวลผลให้สั้นที่สุด ยังรวมถึงการปัดเศษให้กับสินค้าที่ต้องการให้ซื้อมากกว่า 1   เช่น 3  จาน 100   นั้นง่ายกว่า ขายจานละ 3.33   ซึ่งช่วยทำให้การเพิ่มการขายหน้าร้านทำได้ขึ้นอีกด้วย   2. ตัวเลขที่ดึงความสนใจได้ทันที การลงท้ายด้วยเลข  9 เป็นหลักจิตวิทยาในการจูงใจขั้นต้น ยังสามารถจูงใจลูกค้าให้รู้สึกว่าจ่ายน้อยลง จากการลดตัวเลขราคาหลักด้านหน้าลง 1 หลัก เช่น 200 บาท ลดเหลือ 199 บาท  […]

การตลาดร้านอาหาร

ถอดบทเรียน การตลาดร้านอาหาร จากเทศกาลกินเจ

แม้ว่าเทศกาลกินเจในปีนี้จะจบลง แต่ช่วงระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน ทำให้เงินสะพัดหลักพันล้านบาท เราถอดบทเรียน การตลาดร้านอาหาร ที่น่าสนใจ ได้ดังนี้

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.