9 ปัจจัยในการ เลือกทำเลร้านอาหาร - Amarin Academy

9 ปัจจัยในการ เลือกทำเลร้านอาหาร

9 ปัจจัยในการ เลือกทำเลร้านอาหาร

นอกจากคุณภาพอาหาร รสชาติ และการบริการ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ร้านอาหารประสบความสำเร็จแล้ว สิ่งสำคัญอีกประการที่เป็นตัวกำหนดชะตาของธุรกิจว่าจะไปรอดหรือไม่ ก็คือการ เลือกทำเลร้านอาหาร

รู้หรือไหมว่า ไม่ใช่ทุกพื้นที่จะเหมาะเป็นทำเลสำหรับร้านอาหาร ทำเลที่ดีนั้นหายากเย็นยิ่งกว่าที่หลายคนคิดไว้ บางครั้งพื้นที่ติดถนนบริเวณใจกลางเมืองที่จ้อกแจ้กจอแจ อาจจะเป็นจุดที่โดนคนเมินมากที่สุดก็เป็นไปได้ ขณะเดียวกันทำเลที่คุณคิดว่า อย่างไรก็ไม่น่าจะมีคนผ่าน ก็อาจกลับกลายเป็นพื้นที่ที่ทำกำไรให้กับเจ้าของร้านได้อย่างมหาศาล…ลองเก็บ 9 ปัจจัยในการเลือกที่ตั้งร้านเหล่านี้ไว้เป็นตัวเลือก ก่อนตัดสินใจจะเริ่มร้านกันดีกว่า

1.รู้รึยังลูกค้าเราคือใคร

ทำเลบางทำเลคนเยอะแต่อาจไม่เหมาะกับร้านของเราถ้าคนเหล่านั้นไม่ใช่กลุ่มลูกค้าที่เรามองหา ทั้งนี้ทั้งนั้นก่อนที่จะเลือกทำเลใดๆก็ตามเราต้องรู้ก่อนเสมอว่าเราจะขายใคร ในทำเลนั้นมีกลุ่มลูกค้าเราอยู่หรือไม่ พฤติกรรมเป็นยังไง การหาข้อมูลที่ดีที่สุดคือการเข้าไปนั่งในร้านอาหารที่คล้ายๆเราแล้วสังเกตุกลุ่มลูกค้า อีกอย่างคือการหาข้อมูลในบริเวณนั้นๆเช่น มีตึกออฟฟิศเยอะแค่ไหน กลางวันคนเหล่านี้ไปทานที่ไหนกัน คนผ่านหน้าร้านเยอะแค่ไหน

2.ที่จอดรถต้องพอ

คนเราทุกคนล้วนมีความขี้เกียจซ่อนอยู่ในตัว ลูกค้าของคุณก็เช่นกัน ถ้าเลือกได้คงไม่มีใครอยากเหนื่อยกับการเดินไกลๆ เพื่อไปกินอาหาร เราล้วนต้องเลือกความสะดวกสบายก่อนทั้งนั้น เว้นเสียแต่ว่า ร้านของคุณตั้งอยู่ในตัวเมืองที่มีรถสาธารณะวิ่งผ่าน หรือใกล้รถไฟฟ้า หรือเป็นย่านที่ผู้คนเดินกันคับคั่ง แต่ถ้าหากร้านอาหารของคุณอยู่แถบชานเมือง ที่จำเป็นต้องขับรถไปกินเท่านั้น การมีที่จอดรถก็ถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง หรือถ้าร้านของคุณไม่มีพื้นที่เพียงพอสำหรับทำเป็นลานจอดรถ ก็ให้ลองพิจารณาดูก่อนว่า แถวนั้นมีพื้นที่จอดรถที่สามารถไปจอดได้อยู่บ้างหรือเปล่า

3.สังเกตเห็น เป็นใช้ได้

ทำเลที่ดีคือที่ที่คนมักจะสังเกตเห็นได้ง่าย อาจจะเป็นสถานที่ที่คนเดินกันอย่างพลุกพล่าน หรือเป็นบริเวณที่รถสัญจรไปมาบ่อยๆ หรือหากร้านของคุณต้องเข้าซอยไปสักนิด ก็อาจใช้วิธีติดป้ายร้านขนาดใหญ่ไว้ริมถนน เพื่อให้คนผ่านไปมารู้สึกคุ้นตา แม้วันนี้เขาอาจจะยังไม่ตัดสินใจเข้าร้าน แต่อย่างน้อยๆ เขาก็สามารถจดจำชื่อและตำแหน่งร้านของคุณได้ไม่ยาก พูดง่ายๆ ก็เหมือนกับการทำโฆษณาแบบไม่ต้องเสียเงินนั่นแหละ

ร้านอาหาร Outdoor
ร้านอาหารที่ตั้งอยู่โซน Outdoor ก็ข้อได้เปรียบคือมีโอกาสเห็นง่ายกว่า

4.ขนาด…ใครว่าไม่สำคัญ

แม้คุณต้องการทำแค่ร้านเล็กๆ อย่างร้านกาแฟ หรือเบเกอรี่ แต่ก็ใช่ว่าจะไม่ต้องแคร์เรื่องขนาดของร้านเลย คุณต้องไม่ลืมว่า ภายในร้านจะต้องแบ่งสัดส่วนให้เพียงพอต่อการทำครัว วางตู้เย็น ชั้นวางวัตถุดิบ รวมทั้งทำพื้นที่ออฟฟิศเล็กๆ สำหรับทำงานเอกสารของคุณด้วย หรือหากเป็นร้านอาหาร ก็ควรมีพื้นที่ไว้สำหรับนั่งรอคิว หรือพื้นที่บาร์ก่อนเข้าด้านในร้าน ดังนั้นก่อนตัดสินใจเลือกทำเล ลองวางแผนให้ดีว่า พื้นที่เท่านี้พอแล้วจริงๆ หรือ

5. ทำความรู้จักเพื่อนบ้าน

ก่อนจะตัดสินใจเลือกทำเลใดๆ ก็ตาม คุณต้องไม่ลืมเก็บข้อมูลของร้านในละแวกนั้นด้วยว่า เขากำลังทำธุรกิจอะไรกันอยู่ หากว่ามีคนทำธุรกิจเดียวกับคุณอยู่แล้ว 5-6 ร้าน คุณก็ต้องกลับมาพิจารณาให้ดีแล้วว่า จะมีกำลังต่อสู้ร้านเหล่านั้นไหวหรือไม่ นอกจากนี้ต้องดูให้ดีกว่า ร้านค้าส่วนใหญ่แถวนั้นเงียบเหงาหรือคึกคัก หากว่าคึกคัก คุณก็มีแนวโน้มจะประสบความสำเร็จตามได้ง่ายๆ

6.หรูไปก็ไม่ดี

เจ้าของร้านหลายคนตัดสินใจเลือกทำเลร้านในที่ห่างไกลผู้คน เพื่อที่จะได้พื้นที่แบบกว้างขวาง ใหญ่โต สำหรับลงทุนเปิดร้านแบบหรูหรา ดูดีมีสไตล์ แต่รู้หรือไม่ว่า การลงทุนเช่นนี้อาจเสียเปล่าได้ เพราะลูกค้าคงไม่สามารถไปกินอาหารในร้านเช่นนี้ได้บ่อยๆ ส่วนใหญ่จะเลือกไปในโอกาสพิเศษเท่านั้น ดังนั้น ลองถามตัวเองดีๆ ว่า ลงทุนขนาดนี้ คุ้มหรือไม่

7.ระวังค่าเช่าที่งอกได้

หลายคนถึงกับถอดใจเมื่อมารู้ทีหลังว่า นอกจากค่าเช่าร้านที่ต้องจ่ายทุกเดือนแล้ว ยังมีรายจ่ายจิปาถะงอกขึ้นมาพร้อมค่าเช่าอีก โดยเฉพาะค่าส่วนกลาง ในกรณีที่เช่าร้านใต้อพาร์ทเมนต์หรือคอนโด ดังนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจเช่าที่ใดๆ คุณควรสอบถามให้ดีเสียก่อนว่า มีค่าใช้จ่ายอะไรเพิ่มอีกไหม หากต่อรองได้ ก็ทำรีบซะ

  1. อย่าหุนหันพลันแล่น

หลายคนรีบตัดสินใจทันที หลังจากเห็นทำเลถูกใจเพียงแค่ที่เดียว การตัดสินใจด่วนจี๋เช่นนี้ อาจไม่ส่งผลดีต่อธุรกิจของคุณนัก คุณควรต้องพิจารณาทำเลนั้นๆ ในแต่ละช่วงเวลาของวันให้ดีเสียก่อน ค่อยๆ สังเกตว่า ช่วงไหนคนมักจะเดินผ่าน บางสถานที่ที่มีผู้คนพลุกพล่านในช่วงวันทำงาน อาจจะหงอยเหงามากในช่วงวันเสาร์อาทิตย์ก็เป็นไปได้ ดังนั้น ใจเย็นๆ ค่อยๆ ตัดสินใจจะดีกว่า

  1. วางแผนก่อนเซ็นสัญญา

ก่อนที่คุณจะเซ็นสัญญาเช่าพื้นที่ คุณต้องวางแผนให้ดีเสียก่อนว่า หากร้านอาหารของคุณไม่ได้ทำกำไรอย่างที่คิด คุณจะมีแผนสำรองในการจ่ายค่าเช่าให้ได้ครบตามสัญญาอย่างไร แม้จะฟังดูไม่เป็นมงคลเท่าไหร่ แต่ก็เป็นเรื่องประมาทไม่ได้เลย ทางที่ดีควรเริ่มต้นจากการเซ็นสัญญาแค่ปีหรือสองปีก่อน หากธุรกิจไปได้สวย ก็ค่อยเปลี่ยนมาเซ็นกันแบบยาวๆ

9 ข้อที่ยกมานี้ น่าจะเพียงพอสำหรับการตัดสินใจเลือกทำเลร้าน…เชื่อเถอะว่า แค่เริ่มต้นดี ก็มีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว

We do not work in isolation, seriöse ghostwriter agenturen but rather build networks with institutions and partners within and outside of the wwu.

เรื่องแนะนำ

ต้นทุนอาหารควบคุมได้ กำไรเห็น ๆ

  การกำหนดต้นทุนอาหารส่วนใหญ่จะกำหนดไม่เกิน 35-40 เปอร์เซนต์ของต้นทุนทั้งหมด โดยสูตรการคำนวณที่นิยมใช้กันคือต้นทุน เท่ากับ ยอดขาย (ราคาขาย ) คูณด้วยเปอร์เซนต์ของต้นทุน เพราะฉะนั้นถ้าเรากำหนดต้นทุนและยอดขายโดยประมาณไว้แล้ว เราก็จะได้จำนวนต้นทุนเพื่อควบคุมไว้ให้ไม่เกิน ยกตัวอย่าง ยอดขาย 90,000 คูณด้วย 35 เปอร์เซนต์ เท่ากับต้นทุนต้องไม่เกิน 31,500  บาท เป็นต้น ระบบการควบคุมต้นทุนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  ควรทำควบคู่กับระบบการจัดทำ Recipe  เพื่อกำหนดราคาขาย  และการกำหนด SOP เพื่อจัดการเมนูอาหาร   การจัดทำ  recipe เพื่อลงรายละเอียดของวัตถุดิบ   การจัดทำ recipe นั้นจะช่วยให้เรากำหนดราคาขายที่เหมาะสม ประเมินงบประมาณจัดซื้อวัตถุดิบ และยังช่วยลดการสูญเสียวัตถุดิบ ยกตัวอย่าง ดังนั้น ข้าวไข่ข้นกุ้งเมนูนี้ จึงมีต้นทุนอยู่ที่ 14.4 % หากขายที่ราคา 90  บาท นอกจากนี้ การคำนวณวัตถุดิบควรลงละเอียดในเรื่องของ yield  (การหาค่าเฉลี่ยวัตถุดิบ) ลงไปด้วยเพื่อการกำหนดต้นทุนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในส่วนของการจัดทำ Recipe […]

บริหาร ปัญหาคน ให้ลงตัว เรื่องที่เจ้าของร้านต้องจัดการให้ได้

การที่คุณจะประสบความสำเร็จในธุรกิจอาหาร ร้านคุณจะต้องมีอาหารอร่อย บริการที่ถูกใจ  บรรยากาศที่ดี ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่ต้องใช้ คนในการขับเคลื่อนทั้งสิ้น การเตรียมพร้อมเรื่อง ‘คน’ ได้ดีจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ร้านอาหารต้องจัดการให้ได้ เพราะมีร้านจำนวนไม่น้อยที่ต้องปิดตัวลงเพราะ ปัญหาคน หรือพนักงานในร้านนั่นเอง ดังนั้น เจ้าของร้านควรรู้ก่อนเปิดร้านว่า ปัญหาเรื่องคนที่ต้องเจอมีอะไรบ้าง และมีวิธีการวางแผน หรือแก้อย่างไร   ปัญหาคน อะไรบ้างที่ร้านอาหารต้องเจอ 1. หาพนักงานยาก จะทำอย่างไรเมื่อร้านกำลังจะเปิด แต่ไม่มีคนทำงานให้ การสรรหาพนักงานจึงควรกำหนดเป็นแผนงานก่อนเปิดร้านอาหาร ถ้าเราแบ่งทีมงานด้านอาหารเป็น 2 ทีมหลัก คือทีมครัว และทีมหน้าร้าน ทีมครัวที่ควรจะหาได้เป็นอันดับแรกคือเชฟ เพราะจำเป็นต่อการกำหนดรูปแบบของอาหาร สูตรอาหารของร้าน โครงสร้างต้นทุนและวัตถุดิบ  ร้านควรกำหนดการหาพนักงานให้ได้ 90 % ก่อน 2-3 เดือนก่อนร้านเปิด เช่น ผู้จัดการร้าน  ผู้ช่วย พนักงานรับ Order  ที่เหลือสามารถหาได้ก่อนเปิดร้าน 1 เดือน  เช่น พนักล้างจาน  Food Runner   2.Turn Over สูง  ปัญหาคนเข้าออกเป็นปัญหาที่ร้านอาหารแทบทุกร้านต้องเจอ […]

ลูกค้าอยากบอกเจ้าของ

8 ข้อสำคัญที่ลูกค้า อยากบอกเจ้าของร้านอาหาร

รู้ไหม นอกจากรสชาติอาหารและการบริการ ลูกค้ายังมีความคาดหวังอื่นๆ ซ่อนอยู่ด้วย เราจึงขอรวบรวม 8 ข้อสำคัญที่ ลูกค้าอยากบอกเจ้าของ ร้านอาหารมาให้คุณ

เทคโนโลยีดิจิตอล ตัวช่วยร้านอาหารยุคใหม่

  ระบบจัดการร้าน POS ระบบบริหารจัดการร้าน  POS ที่เจ้าของร้านอาหารหลายร้านนำมาใช้เพื่อบันทึกยอดขายหน้าร้าน   ซึ่งในปัจจุบันได้พัฒนาให้รองรับการบริหารจัดการร้าน และสนับสนุนในด้านการตลาดด้วยฟังค์ชั่นที่ทำได้มากกว่าการแค่บันทึกยอดขาย หรือการจัดการที่นั่ง นั่นก็คือ การมีระบบหลังบ้านที่ช่วยบันทึกและประมวลผล ซึ่งสามารถดูได้แบบเรียลไทม์ ยกตัวอย่าง เช่น เมนูขายดี ช่วงเวลาขายดี จำนวนการซื้อต่อหัว จำนวนบิล การจัดการโปรโมชั่น และการเชื่อมต่อเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าที่มากขึ้นได้ เช่น เดลิเวอร์รี่ การสั่งเมนูล่วงหน้า ที่เป็นประโยชน์ต่อร้านในการบริหารจัดการเมนู และการตลาด แต่ทราบไหมว่าการใช้ POS ปัจจุบันร้านอาหารหลายร้านยังใช้คุณสมบัติพิเศษของ POS ได้ไม่เต็มที่ เช่น  ความสามารถในด้านการประมวล ข้อมูลด้านต้นทุนต่อเมนู  ที่ POS สามารถบันทึก คำนวณผลกำไร การสูญเสีย รวมถึงสามารถใช้การบริหารวัตถุดิบ เพื่อจัดการสั่งซื้อได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาวัตถุดิบขาด ต้องเสียต้นทุนแฝงในการไปซื้อในกรณีเร่งด่วนได้ ซึ่งหากร้านของคุณมีการจัดทำข้อมูลด้านต้นทุน หรือการทำ Recipe ที่ดีอยู่แล้ว ก็ไม่ควรพลาดโอกาสที่จะใช้คุณสมบัติสำคัญนี้ด้วย ระบบ  POS นับว่าเป็นระบบที่สามารถรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นพื้นฐานต่อการบริหารให้ได้กำไรสูงสุดต่อร้านอาหารในปัจจุบัน เพราะฉะนั้นถ้าคุณเป็นร้านที่ใช้ระบบ POS อยู่แล้วควรให้ความสำคัญกับการใช้ฟีเจอร์ต่าง ๆ ให้เป็นประโยชน์สูงสุด […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.