เมื่อ ลูกค้าทำของหายในร้าน ยืนยันว่าพนักงานขโมย - Amarin Academy

เมื่อ ลูกค้าทำของหายในร้าน ยืนยันว่าพนักงานขโมย

เมื่อ ลูกค้าทำของหายในร้าน ยืนยันว่าพนักงานขโมย

เจ้าของร้านอาหารหลายราย คงเคยเจอเหตุการณ์ ลูกค้าทำของหายในร้าน กันใช่ไหมครับ หลายๆ คนก็มีวิธีแก้ไขสถานการณ์แตกต่างกันไป วันก่อนผมมีโอกาสไปรับประทานอาหาร ณ ร้านอาหารร้านหนึ่งในห้างสรรพสินค้า ก็บังเอิญอยู่ในเหตุการณ์นี้เช่นกัน ซึ่งการแก้ปัญหาของผู้จัดการร้านอาหารน่าสนใจมาก จึงอยากแชร์ให้เพื่อนๆ ได้ทราบกัน

เรื่องมีอยู่ว่า มีลูกค้าท่านหนึ่ง ลืมโทรศัพท์มือถือไว้บนโต๊ะอาหาร จึงเดินกลับมาสอบถามพนักงาน ปรากฏว่าโทรศัพท์เครื่องนั้นอันตรธานหายไปแล้วครับ

ลูกค้ายืนยันว่าวางไว้บนโต๊ะแน่นอน เพราะเธอหยิบขึ้นมากดสิทธิ์รับโปรโมชั่นเครื่องดื่มฟรี แล้ววางไว้บนโต๊ะ หากบนโต๊ะไม่มีแสดงว่าพนักงานหยิบไปแน่นอน พนักงานเสิร์ฟก็ยืนยันเช่นกันว่าไม่เจอโทรศัพท์บนโต๊ะเลย

เอาละสิครับ…ต่างฝ่ายต่างยืนยันในความเชื่อมั่นของตนเอง ผู้จัดการร้าน จึงต้องทำหน้าที่ เข้ามาไกล่เกลี่ยปัญหา ผมว่าการแก้ไขปัญหาของเขาน่าสนใจมากครับ

เริ่มจาก เขากล่าวขอโทษลูกค้าเป็นอันดับแรก แม้จะยังไม่ได้สืบสาวราวเรื่องใดๆ เลยก็ตาม เพราะลูกค้าเริ่มมีอารมณ์แล้วครับ มือถือหายทั้งเครื่อง ใครจะไปใจเย็นไหว

ถัดมาจึงขอเบอร์โทรศัพท์เครื่องที่หายจากลูกค้า แล้วโทรเข้ามือถือเครื่องที่หายไปทันที เพื่อตรวจสอบว่าตกหล่นไปที่ไหนหรือเปล่า เผื่อมีเสียงเรียกเข้าดังขึ้นมาจะได้หาเจอ ปรากฏว่าโทรติด แต่ไม่มีคนรับสาย แถมเจ้าของมือถือปิดเสียงและเปิดระบบสั่นไว้อีกด้วย

แต่โชคยังเข้าข้างครับ เพราะมีพนักงานคนหนึ่งในยินเสียงสั่นอยู่ใกล้ๆ เคาท์เตอร์วางเมนู ปรากฏว่าโทรศัพท์เครื่องเจ้าปัญหานอนสั่นอยู่ในเมนูครับ

ดูเหมือนเรื่องจะคลี่คลายแล้วใช่ไหม แต่เปล่าเลย เพราะเจ้าของโทรศัพท์กลับยิ่งโกรธ เธอบอกว่าพนักงานเก็บโต๊ะ ต้องจงใจซ่อนโทรศัพท์ของเธอในเมนูแน่นอน แล้วรอเวลาที่ปลอดคน ถึงค่อยมาหยิบไป เพราะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะไม่เห็นว่ามีโทรศัพท์อยู่ในเมนู เธอจึงขอดูกล้องวงจรปิด เพื่อพิสูจน์ว่าใครจงใจขโมยโทรศัพท์ของเธอกันแน่

ในตอนแรกผู้จัดการร้านขอยืนยันว่าพนักงานไม่ได้มีเจตนาขโมยแน่นอน เนื่องจาก ข้อแรกเมนูเล่มใหญ่และค่อนข้างหนา พนักงานจึงอาจไม่ทันได้ตรวจสอบว่ามีโทรศัพท์ติดไปหรือไม่ ข้อสอง เมนูไม่ใช่ที่ซ่อนของที่ปลอดภัยเลย เพราะอาจถูกส่งให้ลูกค้าโต๊ะใดโต๊ะหนึ่งเมื่อไรก็ได้

แต่เจ้าของโทรศัพท์ยืนยันคำเดิมว่าจะขอดูกล้องวงจรปิด ดังนั้นผู้จัดการร้านจึงแจ้งว่า หากต้องการดูกล้องวรจรปิดก็ได้เช่นกัน จากนั้นจึงอธิบายรายละเอียดของการขอดูภาพจากกล้องวงจรปิดภายในห้างฯ ว่าต้องมีเอกสารใดประกอบบ้าง หากเจ้าของโทรศัพท์เตรียมเรียบร้อยแล้ว สามารถนำเอกสารมาส่งที่ร้านได้เลย แล้วทางผู้จัดการจะเป็นผู้ประสานงานให้ทันที…เรื่องราวความวุ่นวายจึงจบลง

เทรนด์พนักงานเสิร์ฟ

สุดท้ายแล้วผมบอกไม่ได้ว่าตกลงพนักงานจงใจซ่อนโทรศัพท์จริงๆ หรือเปล่า เพราะว่าเอกสารที่เจ้าของโทรศัพท์ต้องนำมายื่นเรื่องคือใบแจ้งความ ซึ่งน่าจะต้องใช้เวลานานพอดู ผมเลยไม่ได้รอผล แต่สิ่งที่เราได้เรียนรู้จากบทเรียนนี้คือ วิธีการปฏิบัติงานของผู้จัดการร้าน ที่เรียกได้ว่าเป็น “มืออาชีพ”

เขาสามารถคลี่คลายสถานการณ์ที่ตรึงเครียดได้ภายในเวลาไม่ถึง 10 นาที นอกจากนี้ยังสามารถควบคุมอารมณ์ น้ำเสียงและท่าทางการแสดงออกได้ดี พูดจาด้วยความสุภาพ อธิบายขั้นตอนทุกอย่างชัดเจน และแสดงถึงความบริสุทธิ์ใจได้เหมาะสม ทั้งหมดทั้งมวลผมว่าสิ่งสำคัญที่ผู้จัดการร้านคนนี้มีคือ “สติและประสบการณ์” ที่ช่วยให้เขาผ่านปัญหานี้มาได้

ผมคิดว่าวิธีการแก้ไขสถานการณ์ของเขาน่าจะเป็นกรณีตัวอย่างให้เพื่อนๆ เจ้าของร้านอาหาร นำไปประยุกต์ใช้ได้ดีทีเดียว

สำหรับเพื่อนๆ เจ้าของร้านอาหารคนไหนเคยเจอปัญหาจากการทำร้านอาหาร สามารถแชร์ความรู้กันได้นะครับ เพื่อเป็นวิทยาทานต่อเพื่อนๆ ท่านอื่นต่อไป

บทความน่าสนใจ ลูกค้าล้นร้าน ทำอาหารไม่ทัน ทำอย่างไรดี?

เรื่องแนะนำ

เทคนิคเก็บวัตถุดิบ

เทคนิคเก็บวัตถุดิบ ให้สด ใหม่ พร้อมใช้เสมอ

ปัญหาเรื่องวัตถุดิบเป็นสิ่งที่เจ้าของร้านอาหารแทบทุกคนต้องเคยปวดหัว วันนี้เราจึงขอแนะนำ เทคนิคเก็บวัตถุดิบ ให้สด ใหม่ พร้อมใช้เสมอ

ของถูกหรือของแพง

ไม่มีหรอก ของถูกหรือของแพง มีแต่ “คุ้ม” หรือ “ไม่คุ้ม”

สงสัยไหม ทำไมร้านอาหารราคาแพงบางร้าน ลูกค้าเยอะ ขณะที่ร้านราคาถูก กลับไม่มีลูกค้าเลย สิ่งนีทำให้เห็นว่า ลูกค้าไม่ได้ดูที่ ของถูกหรือของแพง เพียงอย่างเดียว

ร้านอาหารฟื้นตัว

พร้อมคว้าทุกโอกาส!! 4 ปัจจัยช่วยให้ ร้านอาหารฟื้นตัว เร็วหลังวิกฤต

        ร้านอาหารฟื้นตัว จากวิกฤตได้หรือไม่? เนื่องจาก “อาหาร” เป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ที่ขาดไม่ได้ ธุรกิจอาหารจึงเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ไม่มีวันตาย เพียงแต่ว่าธุรกิจนี้มีการแข่งขันที่รุนแรงจากผู้ประกอบการจำนวนมากในตลาด ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจขาลง ทำให้ผู้ประกอบการต้องรู้จักปรับตัวพัฒนาอยู่เสมอ ในช่วงวิกฤตโควิด-19 นี้ ก็ทำให้ร้านอาหารหลายๆร้านสามารถคิดหาหนทางใหม่ในการดำเนินธุรกิจ แบบที่ไม่เคยคิดว่าจะทำได้ หรือไม่เคยลองทำมาก่อนในภาวะปกติ เรียกได้ว่าเป็นความท้าทายที่ผลักดันให้หลายคนได้ลองเปิดประตูบานใหม่         ในด่านต่อไปที่ผู้ประกอบการร้านอาหารต้องคิดวางแผนคือ หากสถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้น และการแพร่ระบาดของไวรัสอยู่ในการควบคุมแล้ว ธุรกิจร้านอาหารจะต้องทำอย่างไรเพื่อให้ไปต่อได้เร็ว และสามารถคว้าโอกาสได้ก่อน ลองมาดูปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ ร้านอาหารฟื้นตัว ได้เร็วหลังผ่านวิกฤตกันครับ   ปัจจัยสำคัญช่วยให้ “ร้านอาหารฟื้นตัว” เร็วหลังวิกฤต   1. สร้างฐานลูกค้าประจำให้กลับมาซื้อซ้ำ         การขายแบบเดลิเวอรีหรือทางออนไลน์มากขึ้น ย่อมทำให้ทางร้านเก็บข้อมูลของลูกค้า และข้อมูลการขายเมนูอาหารต่างๆ ได้ง่ายขึ้นมาก กลุ่มเป้าหมายของร้านก็จะชัดเจนมากขึ้น ทางร้านก็ต้องสร้างช่องทางการติดต่อ และช่องทางการสั่งอาหารให้ครบถ้วน มีแผนการตลาดที่ช่วยรักษาลูกค้ากลุ่มนี้ให้กลับมาซื้ออาหารซ้ำอีก อำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าที่ใช้บริการ หากได้รับคำติชมก็สามารถแสดงความรับผิดชอบ และปรับปรุงแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว […]

ธุรกิจร้านอาหารขนาดเล็ก

แนวคิดสำคัญช่วยให้ ธุรกิจร้านอาหารขนาดเล็ก เติบโต

บางคนใฝ่ฝันอยากมีร้านอาหารเป็นของตัวเอง มองเห็นภาพหน้าร้านสวยๆ ที่มีลูกค้านั่งอยู่เนืองแน่น แต่ความเป็นจริงแล้วภาพความสำเร็จที่เห็นอาจต้องแลกมากับชั่วโมงการทำงานอย่างหนัก ความมีระเบียบวินัย การให้ความใส่ใจอย่างเต็มที่

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.