เทคนิคเก็บวัตถุดิบ ให้สด ใหม่ พร้อมใช้เสมอ - Amarin Academy

เทคนิคเก็บวัตถุดิบ ให้สด ใหม่ พร้อมใช้เสมอ

เทคนิคเก็บวัตถุดิบ ให้สด ใหม่ พร้อมใช้เสมอ

วัตถุดิบกับร้านอาหารถือเป็นของคู่กัน และเป็นสิ่งที่เจ้าของร้านอาหารแทบทุกคนต้องเคยปวดหัวกับเรื่องวัตถุดิบไม่สดใหม่ หรือซื้อมาไม่นานก็เน่าเสีย ทำให้สูญเสีย ต้นทุนวัตถุดิบ ไปโดยเปล่าประโยชน์ เราจึงขอแนะนำ เทคนิคเก็บวัตถุดิบ ให้สด ใหม่ พร้อมใช้เสมอ

1.เนื้อสัตว์

ก่อนอื่นต้องนำเนื้อมาล้างให้สะอาด ซับให้แห้ง จากนั้นใส่ภาชนะที่มีฝาปิดนำเข้าตู้เย็น หากใส่ในตู้เย็นช่องธรรมดาที่อุณหภูมิประมาณ 0-4 องศาเซลเซียส เนื้อจะอยู่ได้ประมาณ 2 วัน แต่หากอยากยืดอายุให้นานกว่านั้น ต้องใส่ในช่องแช่แข็งที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าลบ 18 องศาเซลเซียส โดยการใส่ช่องแช่แข็งนี้ ควรแบ่งปริมาณเนื้อ ให้พอดีกับการใช้งาน ไม่ควรนำออกมาวางให้ละลายแล้ว กลับไปแช่ใหม่ซ้ำๆ เพราะจะทำให้เนื้อหมูไม่สด ซ้ำยังสูญเสียความหวานไปด้วย เมื่อต้องการใช้ก็หยิบออกมาวางไว้ที่อุณภูมิห้อง ไม่ควรแช่น้ำ เพราะจะทำให้สูญเสียคุณค่าทางอาหารและความอร่อยไป

ส่วนเนื้อที่ต้องหมักหรือปรุงรส เช่น สเต็ก หมูนุ่ม ควรล้างเนื้อให้สะอาด ปรุงรสและหมักให้เรียบร้อย จากนั้นนำเข้าตู้เย็นช่องธรรมดา และหยิบใช้เมื่อต้องการ วิธีนี้นอกจากจะสะดวกในการใช้งานแล้ว ยังทำให้เครื่องปรุงต่างๆ ซึมเข้าเนื้อได้ดียิ่งขึ้น ทำให้รสชาติดีขึ้นด้วย

2.ผักสด

วิธีเก็บผักสดไม่ยากเลย หากเป็นผักใบควรตัดแต่งใบที่เน่าเสียออกให้หมดเสียก่อน โดยไม่ต้องล้างน้ำ จากนั้นใช้พลาสติกแรปคลุมผักให้ทั่ว นำเข้าตู้เย็น โดยพลาสติกแรปจะช่วยคงความชุ่มชื้นของผักเอาไว้ได้ และควรแยกเก็บตามชนิดของผัก เพราะผักบางชนิดหากอยู่ได้กันอาจปล่อยสารบางอย่างทำให้เน่าเสียเร็วขึ้น เมื่อจะหยิบใช้ค่อยนำมาล้าง หรือหากเก็บพริก ควรเด็ดขั้วแล้วห่อกระดาษทิชชู่ไว้ จะช่วยให้เก็บได้นานขึ้น

ส่วนผักประเภทหัว เช่น หัวไชเท้า หัวบีท เผือก ให้ตัดใบออกให้หมดก่อนเก็บ มิฉะนั้นความหวานในหัวจะลดลง และสิ่งสำคัญที่สุดคือ ไม่ควรเก็บผักไว้ใกล้ผลไม้ เพราะผลไม้สุกจะปล่อยก๊าซเอธิลีนออกมา ทำให้ผักที่ว่างอยู่ใกล้ๆ เสียเร็ว

อีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ปรุงอาหารได้สะดวกขึ้นคือ ถ้าผักที่จำเป็นต้องปรุงสุก เช่น แครอท บล็อกโคลี ข้าวโพดอ่อน ควรนำไปลวกให้พอสุกก่อน จากนั้นเก็บใส่กล่องแช่ตู้เย็นไว้และหยิบใช้ตามต้องการ

3.อาหารทะเล

อาหารทะเลเป็นวัตถุดิบที่เน่าเสียง่าย ฉะนั้นจึงไม่ควรสั่งสต็อกมาเยอะจนเกินไป ควรกะปริมาณให้พอเหมาะ และใช้ให้หมดภายใน 2 วัน เมื่อซื้อมาแล้วควรล้างให้สะอาด จากนนั้นนำเข้าตู้เย็นให้เร็วที่สุด โดยหลีกเลี่ยงการนำเข้าช่องแช่แข็ง เพราะจะทำให้สูญเสียรสชาติไป

4.ของแห้ง

เนื่องจากเมืองไทยอากาศร้อนชื้น วัตถุดิบที่เป็นของแห้งจึงเสี่ยงต่อการขึ้นรา ทางที่ดีที่สุดคือการนำเข้าตู้เย็นเพื่อป้องกันการเน่าเสีย เช่น กุ้งแห้งหรือปลาหมึกแห้ง อาจนำไปตากแดดอีกครั้งให้แห้งสนิทเสียก่อน จากนั้นนำใส่ภาชนะหรือถึงที่ปิดสนิท แล้วนำเข้าตู้เย็น หากใส่ช่องแช่แข็งจะช่วงให้เก็บได้นานขึ้น เมื่อจะใช้งานก็วางทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้อง เท่านี้ก็ไม่ต้องกลัวเชื้อราอีกต่อไป

5.ทำสูตรให้ได้มาตรฐาน

เคล็ดลับสุดท้ายที่ช่วยให้รสชาติอาหารคงที่และเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการปรุงคือ การปรุงน้ำซอสสำหรับเมนูต่างๆ เอาไว้ให้พร้อม เช่น ซอสผักกระเพรา ซอสผัดพริกแกง เป็นต้น โดยกำหนดสัดส่วนให้แน่นอน เมื่อต้องการทำเมนูนั้นๆ ก็ไม่ต้องเสียเวลาใส่เครื่องปรุงมากมาย เพียงแค่ตักซอสที่ปรุงไว้ใส่ลงไปตามสัดส่วนที่กำหนด ก็ได้จะรสชาติอาหารที่อร่อยคงที่แล้ว โดยวิธีนี้เป็นที่นิยมใช้ในร้านอาหารใหญ่ๆ แทบทุกร้าน เพื่อให้รสชาติได้มาตรฐาน

รู้อย่างนี้แล้ว เปิดร้านครั้งหน้าคงรู้วิธีจัดการวัตถุดิบให้สดใหม่ น๊านนานกันแล้วไช่ไหมล่ะ

เรื่องแนะนำ

เลือกทำเลร้านอาหาร

9 ปัจจัยในการ เลือกทำเลร้านอาหาร

นอกจากคุณภาพอาหาร รสชาติ และการบริการ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ร้านอาหารประสบความสำเร็จแล้ว สิ่งสำคัญอีกประการก็คือการ เลือกทำเลร้านอาหาร

ค่าใช้จ่ายร้านอาหาร

6 ค่าใช้จ่ายร้านอาหาร ที่คนมักมองข้าม

หลายครั้งการคำนวณต้นทุนการเปิดร้านอาหาร ต้นทุนหลายข้อมักจะไม่ได้ถูกรวมเข้าไปด้วย อาจทำให้ขาดทุนได้ เรามี 6 ค่าใช้จ่ายร้านอาหาร ที่คนมักมองข้าม มาแชร์ให้ฟัง

วิธีรับมือลูกค้า ที่มีปัญหา รับมืออย่างไรให้เจ๋ง พลิกวิกฤตเป็นโอกาสได้

เชื่อไหมว่า….เจ้าของร้านอาหารหลายร้านไม่รู้ว่าจะมี วิธีรับมือลูกค้า ที่มีปัญหาอย่างไร ? หรือบางรายก็คิดว่าการรับมือลูกค้าเป็นเรื่องของศิลปะและประสบการณ์ ถ้าเกิดก็ปรับไปตามหน้างานก็พอ ซึ่งร้านอาหารจำนวนไม่น้อย ไม่มีการกำหนดขั้นตอนการรับมือลูกค้า และไม่เคยฝึกพนักงานให้รับมือ สุดท้าย…มีร้านอาหารที่ต้องเจ๊ง เพราะรับมือกับลูกค้าไม่เป็น Customer Complain Handling เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องถูกกำหนดไว้ในมาตรฐานการบริการ SOP  เพื่อให้ทีมงานสามารถนำไปปฏิบัติได้ สามารถพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้ หรืออย่างน้อยก็ต้องส่งผลเสียกับร้านน้อยที่สุด  มาดูกันว่ามีแนวทางอะไรบ้าง ที่ควรรู้ก่อนนำไปกำหนดรูปแบบของร้านคุณเอง Customer Complain Handling วิธีรับมือลูกค้า ที่ควรรู้! กำหนดความร้ายแรงให้กับกรณี วิธีรับมือลูกค้า เมื่อเกิดปัญหาโดยทั่วไปนั้น มีลำดับขั้นตอนที่ไม่แตกต่างกันนัก ไม่ว่าจะเป็นการขอโทษก่อนเป็นลำดับแรก จากนั้นสอบถามเรื่องที่เกิดขึ้น  และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าโดยทันที แต่สิ่งที่ทำให้การรับมือกับปัญหาต่าง ๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้กว่านั้น คือ การกำหนดระดับความรุนแรงของปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดหน้าร้านเข้าไปด้วย เพราะจะช่วยให้ทีมงานร้านอาหารสามารถจัดการกับปัญหาตรงหน้าได้อย่างเหมาะสม เพราะในแต่ละช่วงเวลาร้านอาจจะยุ่ง มีลูกค้ารายอื่น ๆ ที่ต้องบริการ รวมถึงระดับความไม่พอใจของลูกค้านั้นกระทบกับบรรยากาศของร้าน หรือการบริการกับลูกค้าอื่น ๆ ต่างกัน การกำหนดระดับความรุนแรงจากมากไปน้อย เป็นเหมือนเครื่องมือในการสื่อสารกับทีมงานในส่วนต่าง ๆ ของร้านว่ากำลังใช้แผนการใดในการรับมือ เช่น ต้องเร่งรีบแค่ไหน ต้องการตัวช่วยระดับผู้จัดการหรือไม่ […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.