ไม่มีหรอก ของถูกหรือของแพง มีแต่ “คุ้ม” หรือ “ไม่คุ้ม” - Amarin Academy

ไม่มีหรอก ของถูกหรือของแพง มีแต่ “คุ้ม” หรือ “ไม่คุ้ม”

ไม่มีหรอก ของถูกหรือของแพง มีแต่คุ้มหรือ ไม่คุ้ม

เคยสงสัยไหมว่า ทำไมร้านอาหารหลายร้านที่ตั้งราคาแพงกว่าตลาด กลับมีคนเข้าไปกินไม่ขาดสาย เทียบกับอีกร้านที่ราคาถูกกว่า แต่กลับไม่มีลูกค้าเลย สิ่งนี้ทำให้เห็นว่า ของราคาถูกกว่า ไม่จำเป็นต้องขายได้ดีกว่าของราคาแพงกว่าเสมอไป เพราะลูกค้าไม่ได้มองที่ ของถูกหรือของแพง แต่เขามองว่า “คุ้ม”  หรือ “ไม่คุ้ม” กับสิ่งที่จ่ายไปมากกว่า โดยทฤษฎีความคุ้มค่าของลูกค้าคือ

ความคุ้มค่า = สิ่งที่ได้รับ สิ่งที่คาดหวัง

จากสมการจะเห็นว่า การที่ตั้งราคาอาหารสูงไม่ใช่เรื่องที่ผิด แต่ต้องมั่นใจว่าเราสามารถส่งมอบได้มากกว่าหรือเท่ากับตามที่ลูกค้าคาดหวังด้วย

ความคุ้มค่าในมุมมองของลูกค้าอาจไม่ใช่แค่รสชาติและราคาเพียงอย่างเดียว แต่รวมไปถึง การบริการ ความรวดเร็ว สะดวกสบาย บรรยากาศและการตกแต่งจานด้วย

บางร้านรสชาติอาหารอาจจะไม่ได้เด่นมาก แต่พนักงานบริการดี ยิ้มแย้มแจ่มใส จัดจานสวย ก็จะทำให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปได้

ยกตัวอย่างเช่น

ร้านก๋วยเตี๋ยวต้มยำทะเล A ตั้งอยู่ในตึกแถวตั้งราคาขายชามละ 80 บาท ลูกค้าที่มากินจะคาดหวังทันทีว่า 80 บาทที่เสียไป เขาจะได้อะไรกลับมาบ้าง โดยคาดคะเนจากประสบการณ์ที่ผ่านมา เช่น รสชาติอาจไม่ต้องอร่อยมาก แต่ต้องได้เร็ว เพราะกินเสร็จต้องรีบไปทำงานต่อ แต่ปรากฏว่ารสชาติก็ไม่ดี รอมาครึ่งชั่วโมงแล้วก๋วยเตี๋ยวก็ยังไม่มา ถามเจ๊เจ้าของร้านไปก็ไม่สนใจ ลูกค้าจะรู้สึกว่า “ไม่คุ้ม” กับเงินที่เสียไปทันที

ขณะเดียวกัน อีกเจ้าหนึ่งขายก๋วยเตี๋ยวต้มยำทะเลแบบเดียวกันราคา 120 บาท อยู่ในคอมมูนิตี้มอลล์ แต่ให้กุ้งตัวใหญ่ รสชาติจัดจ้าน ร้านบรรยากาศดี พนักงานยิ้มแย้มแจ่มใส ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่า ต่อให้เขาต้องจ่ายแพงกว่า แต่ก็รู้สึก “คุ้ม” กับทุกบาทที่จ่ายไป

สุดท้ายสิ่งสำคัญอีกสิ่งคือ อย่าโฆษณาเกินจริง เพราะทุกครั้งที่เราโฆษณา นอกจากจะทำลูกค้ารู้จักร้านเราแล้ว ยังทำให้ลูกค้าคาดหวังในร้านตามที่เขาเห็นด้วย

สมมติถ้ารูปก๋วยเตี๋ยวที่เราใช้โฆษณาใช้กุ้งตัวใหญ่ แต่งจานสวย แต่พอมากินจริง ๆ แล้ว กุ้งกลับตัวเล็ก จัดจานก็ไม่เหมือนในรูป ลูกค้าจะรู้สึกทันทีว่าถูกเอาเปรียบ หรือในรูปร้านเราดูตกแต่งสวย บรรยากาศดี แต่พอมาถึงกลับพบข้าวของวางกระจัดกระจาย ร้านดูเก่า หรือที่เขาเรียกกันว่า “รูปไม่ตรงปก” ฉะนั้นจะโฆษณาอะไร จงมั่นใจด้วยว่า เราทำได้อย่างที่พูด ไม่อย่างนั้น ลูกค้าคงหนีหายหมด และยากมาก ๆ ที่เขาจะกลับมากินซ้ำเป็นครั้งที่ 2

ถ้าเจ้าของร้านเข้าใจจุดนี้ทั้งหมด จะทำให้เราไม่ต้องมานั่งคิด โปรโมชั่น ลดราคา เพื่อดึงหรือแย่งลูกค้ากับเจ้าอื่น ๆ อีกต่อไป โดยเอาเวลาที่เหลือไปคิดว่า จะทำอย่างไรให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่ากับทุกบาททุกสตางค์ที่เขาจ่ายให้เรามากกว่า และจะทำอย่างไรให้เราสามารถตั้งราคาได้สูงขึ้น โดยที่ลูกค้ารู้สึกว่าไม่แพง

เรื่องแนะนำ

เบื้องหลัง การทำร้านกาแฟ กับดักที่คุณอาจจะไม่เคยรู้

ปัจจุบันร้านกาแฟกลายเป็นสินค้าที่ขายไลฟ์สไตล์มากกว่าแค่เครื่องดื่ม ลูกค้าจึงต้องการมากกว่ารสชาติ แต่ต้องการประสบการณ์การดื่มที่ดีด้วย ไม่ว่าคุณจะ ทำร้านกาแฟ ร้านเล็กๆ หรือร้านกาแฟที่ติดตลาดมีลูกค้าขาประจำ ก็อาจพลาดท่าเสียทีกับดักเหล่านี้ได้เหมือนกัน มาดูกันว่า อะไรบ้างที่ทำให้ร้านกาแฟไม่โตได้อย่างที่หวัง เบื้องหลังการ ทำร้านกาแฟ กับดักคุณที่อาจจะไม่เคยรู้ กับดัก…ลูกค้า เมื่อเร็ว ๆ นี้ เกิดกรณีเจ้าของร้านกาแฟไล่ลูกค้า เนื่องจากลูกค้านั่งนาน ทำให้เกิดความเห็นแตกต่างกันจากหลายฝ่าย ทั้งฝ่ายที่โทษลูกค้าว่าเอาเปรียบร้าน และอีกฝ่ายที่โทษร้านว่าใจแคบและโต้ตอบกับลูกค้าเกินกว่าเหตุ คำถามคือ คุณจะทำอย่างไรหากสถานการณ์นี้เกิดขึ้นกับร้านของคุณ คำตอบก็คือ การบริหารจัดการลูกค้า ที่ทำให้หลายร้านติดกับดัก.. ในความเป็นจริงเราไม่สามารถกำหนดว่า ลูกค้าต้องซื้อเครื่องดื่มขั้นต่ำเท่าไหร่ นั่งได้ครั้งละกี่ชั่วโมงเสมอไป โดยเฉพาะร้านกาแฟดี ๆ ย่อมหลีกเลี่ยงกรณีแบบนี้ได้ยาก แต่คุณสามารถทำได้ 3 อย่าง คือ       1. การเรียนรู้พฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงว่าเป็นอย่างไร       2. การออกแบบการบริการที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายและทำให้ขายสินค้าได้มากขึ้น       3 .การจัดการเมื่อเกิดปัญหาด้านบริการ  เพราะฉะนั้นในกรณีที่ลูกค้ากลุ่มหลัก เป็นกลุ่มที่มาใช้ร้านกาแฟเพื่อนั่งทำงานระยะเวลา 2-3 […]

ผู้จัดการมือใหม่

เคล็ดลับการจัดการร้านอาหาร  ผู้จัดการมือใหม่ ต้องรู้!

เคล็ดลับการจัดการร้านอาหาร ผู้จัดการมือใหม่ ต้องรู้! การจัดการร้านอาหารเป็นเรื่องที่ซับซ้อน ผู้ประกอบบางรายเลือกที่จะดูแลทุกอย่างด้วยตัวเอง หรือบางรายก็จ้างผู้จัดการร้านเพื่อแบ่งเบาภาระต่างๆ แม้ว่าเงินเดือนของผู้จัดการร้านจะค่อนข้างสูง แต่ก็มาพร้อมกับหน้าที่ความรับผิดชอบและความคาดหวังที่สูงตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็น การควบคุมต้นทุน ยอดขายและกำไรของร้านอาหารให้เป็นไปตามเป้าหมาย วางแผนสั่งวัตถุดิบเข้าร้านให้เหมาะสมกับยอดขาย คอยดูแลมาตรฐานการทำงานของพนักงาน จัดตำแหน่งงานและตารางเวลาให้เหมาะสม ดูแลความเรียบร้อยภายในร้าน แก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจ จัดประชุมวางแผนงาน แผนการตลาด และประสานงานกับฝ่ายต่างๆ    สรุปข้อมูลการขาย รายงานปัญหาต่างๆ แก่ผู้บริหาร  รวมถึงหน้าที่อื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าของร้าน จะเห็นได้ว่าบทบาทหน้าที่ของ ผู้จัดการร้าน นั้นสำคัญมาก หากคุณเป็นผู้ประกอบการร้านอาหาร หรือผู้จัดการร้านอาหาร เคล็ดลับเหล่านี้อาจจะช่วยพัฒนาทักษะการบริหารจัดการร้านของคุณได้ คือ   มีความหนักแน่น  ปัญหาในร้านอาหารมีได้ทุกวันโดยไม่ซ้ำอย่าง สิ่งที่ผู้จัดการสามารถทำได้ในสถานการณ์เฉพาะหน้าคือ การใช้ความหนักแน่นในการคิดหาวิธีแก้ปัญหา โดยต้องคำนึงถึงในเรื่องต่างๆดังนี้ จะพูดคุยสื่อสารอย่างไร ทำอย่างไรจึงจะรักษากฎของร้านไว้ ผลลัพธ์ที่คาดหวังคืออะไร ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านลูกค้าหรือพนักงาน คุณจะต้องคิดแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างรอบคอบ สื่อสารอย่างมีเหตุผลและเหมาะสม เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในฐานะผู้จัดการ และได้รับการยอมรับจากทีมงาน ทำให้พนักงานทำงานที่มีความกดดันสูงในร้านอาหารได้โดยไม่ลาออกง่ายๆ  การจัดการเชิงรุก ในธุรกิจร้านอาหารที่มีการแข่งขันสูง และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การคิดล่วงหน้าและจัดการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ย่อมดีกว่าการตามแก้ปัญหาในภายหลัง ดังนั้น การวางแผนงานในร้านจะต้องไม่มองแค่ในปัจจุบัน […]

ถอดบทเรียน MK

ถอดบทเรียน MK อดีตร้านห้องแถว ยอดขาย 16,000 ล้าน

ในปี 2560 MK มีรายได้รวมกว่า 16,000 บาท! เพราะอะไร ร้านอาหารง่ายๆ ถึงครองใจคนไทยมาได้นานขนาดนี้ แถมยังทำรายได้แตะหลักหมื่นล้าน! เราจะมา ถอดบทเรียน MK ให้ฟัง

ผู้ประกอบการ

ใจเขา ใจเรา…สิ่งที่ ผู้ประกอบการ ต้องคิดถึงในช่วงที่เจอ วิกฤติท้าทาย

นี่ไม่ใช่ยุคเศรษฐกิจเฟื่องฟู หรือยุคที่อยากจับจ่ายของฟุ่มเฟือยอะไรก็ได้โดยไม่คำนึงถึงเงินในกระเป๋า ทุกคนต่างตกอยู่ในสภาวะตึงเครียด ผู้ประกอบการ ธุรกิจต่างๆ อยู่ในจุดที่ต้องกอดเงินที่มีอยู่ไว้ให้แน่น และเริ่มวางแผนการเงินระยะยาว เพราะวิกฤติไวรัสโควิด-19 ระบาด วิกฤติครั้งใหญ่ที่ส่งผลกระทบทั่วประเทศและทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศไทย ประเทศที่พึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวเป็นหลัก ส่งผลให้ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม หรือร้านอาหาร ต่างได้รับผลกระทบ ล้มเรียงต่อกันเป็นโดมิโน ไม่เพียงแต่เจ้าของกิจการหรือผู้ลงทุนที่บาดเจ็บ แต่พนักงานระดับล่างของระบบที่รับเงินเดือนไม่เกิน 10,000 – 15,000 บาทต่อเดือน อาจเสี่ยงต่อการถูกยกเลิกจ้าง และหยุดชั่วคราว ก็เจ็บปวดไม่แพ้กัน   ธุรกิจร้านอาหาร พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส หากลองมองในมุมของ ผู้ประกอบการ ร้านอาหารในช่วงนี้ แต่ละเจ้าต่างพลิกวิกฤติแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ด้วยการเริ่มนำกลยุทธิ์ทางการตลาดออนไลน์เข้ามาเป็นช่องทางหลัก โปรโมทสินค้าผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย มีการปรับแผนการดำเนินงาน เน้นการซื้ออาหาร เครื่องดื่มกลับบ้านมากขึ้น เปลี่ยนพนักงานเสิร์ฟให้กลายเป็นพนักงานส่งของ หรือเปลี่ยนตารางการทำงานให้เข้างานเป็นกะ สลับการเข้าออฟฟิศ เป็นต้น ทั้งหมดนี้อาจเป็นเพียงบางวิธีการที่ ผู้ประกอบการ พยายามรักษาเงินทุนและรักษาพนักงานให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยไม่อาจคาดเดาได้เลยว่าผู้ประกอบการจะประคับประคองปัญหาเหล่านี้ไปได้นานแค่ไหน ที่สำคัญเรื่องที่น่าคิดต่อจากนี้คือ หลังวิกฤติครั้งนี้ผู้ประกอบการร้านอาหารทั้งรายเล็กและรายใหญ่จะมีวิธีบริหารและจัดการกับหน้าร้านของตัวเองอย่างไร ให้สามารถนั่งรับประทานอาหารภายในร้านได้ โดยต้องคำนึงถึงมาตรการป้องกันที่เข้มงวด อย่าง Social Distancing เพื่อความปลอดภัยของลูกค้า   […]

Follow Me

Contact

เว็บไซต์ : amarinacademy.com
บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน)
Tel : 02-422-9999 ต่อ 4662 หรือ 4669, 092-254-0742
Email : amarin.academy@gmail.com

ติดต่อแจ้งปัญหาหรือร้องเรียน
02-422-9999 ต่อ 4180
(จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 18.00 น)
bdcx@amarin.co.th

สนใจลงโฆษณากับเว็บไซต์ Amarin Academy
Tel. 081-664-0666, 091-729-8060
E-mail : sineenart_ya@amarin.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.